ศิลปินพื้นบ้านกับการเติมเต็มให้ห้องสมุดประชาชนมีชีวิต...มีชีวา


การทำงานแนวการจัดการความรู้ การวิจัย ฯลฯ ซึ่งเป็นภาคของการผลิตความรู้จริงย่อมเป็นต้นทางของความรู้ ต้นทางของการทำให้มีสิ่งดีๆ ต้นทางของความสำเร็จหรือไม่สำเร็จที่ใช้ในการเรียนรู้ได้

สืบเนื่องจากบทความที่แล้ว ผมพูดถึงห้องสมุดมีชีวิตเอาไว้เล็กน้อย

วันนี้คุยกับพี่กาญจนา ไชยสุวรรณ หัวหน้างานห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราชถึงเรื่องนี้ พี่เขาเห็นดีเห็นงามด้วย ที่จะต้องทำให้ห้องสมุดมีชีวิต เป็นห้องสมุดเชิงรุก มุ่งเอาความรู้ในคน ในชุมชน ในองค์กร ที่มีอยู่หลากหลายทั่วไป เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือโมบายไปจัดกระบวนการเรียน เพื่อถอดบทเรียนในวิถีชีวิต วิถีชุมชน นำเรื่องเล่า นำบทเรียนเหล่านี้มาทำหนังสือทำมือ ซีดี ใบความรู้ เผยแพร่ออนไลน์ และนำมาให้บริการในห้องสมุดประชาชน อันเป็นวิธีการของการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างหนึ่ง

ห้องสมุดในหัวใจของผู้คน หัวใจที่มีแต่จะให้และแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ให้กันและกัน

การทำงานแนวการจัดการความรู้ การวิจัย ฯลฯ ซึ่งเป็นภาคของการผลิตความรู้จริงย่อมเป็นต้นทางของความรู้ ต้นทางของการทำให้มีสิ่งดีๆ ต้นทางของความสำเร็จหรือไม่สำเร็จที่ใช้ในการเรียนรู้ได้ ซึ่งในระยะเวลาที่ผ่านมาชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชได้ทำงานแนวนี้กันอย่างกว้างขวาง ร่วมกับแกนนำชุมชนต่างๆ เครือข่ายต่างๆ กลุ่มต่างๆ มากมาย

สิ่งดีๆเหล่านี้นอกจากจะชื่นชมกันเองในชุมชนแล้ว ก็ควรที่จะได้ให้ที่อื่นอย่างห้องสมุดประชาชนต่างๆ แหล่งเรียนรู้ต่างๆได้นำไปชื่นชมด้วย

ศิลปินพื้นบ้านเป็นสื่ออย่างดีอย่างหนึ่งที่จะทำให้ผู้คนได้เรียนรู้และทำให้ผู้คนได้เข้าใจมิติของการเรียนรู้ตามอัธยาศัยได้มากขึ้น นามธรรมเกินไปก็เข้าใจยาก ต้องรูปธรรมให้เห็นๆนั่นแหละจึงจะเข้าใจคำว่าการศึกษาตามอัธยาศัยได้

เริ่มต้นเรานำศิลปินในโครงการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายศิลปินพื้นบ้าน อย่างมโรห์ ลิเกฮูลู เพลงบอก ต่อไปก็เป็นเพลงร้องเรือ (กล่อมเด็ก)ของผู้สูงอายุกลุ่มต่างๆ มาถ่ายทอดต่อไป และอื่นๆที่จะได้ค้นพบต่อไป มาเติมความมีชีวิตให้ห้องสมุดประชาชนสัปดาห์ละครั้งเป็นอย่างน้อย

ห้องสมุดประชาชนที่เป็นตัวอาคารก็จะได้มีชีวิตชีวามากขึ้น

 

หมายเลขบันทึก: 243280เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2009 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 00:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ ท่าน ครูนง ประเด็น ศิลปะพื้นถิ่น ศิลปินพื้นบ้าน อาจารย์หนังบุญธรรม คุยให้ฟังที่บ้าน พี่เล็ก ลำสินธ์ ว่าทางนคร มีโครงการ จัดรวบรวม ศิลปะเหล่านี้ไว้ในที่ทางเดียวกัน ไม่ทราบว่า ครูพอทราบเรื่องนี้บ้างไหม พวกผมสนใจให้ข้อมูลครับ

พี่บัง ที่รักนับถือ

ใช่ครับพี่บังผมกับ อ.บุญธรรม อยู่ในโครงการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายศิลปินพื้นบ้านด้วยกัน ค้นหา ฝึก พัฒนาและรวบรวมอย่างที่ว่านั่นแหละ

วันจันทร์ที่ 23 ก.พ. เชิญมาเสวนากับทีมงานวิจัยเรื่องนี้กันนะครับ สกว.นำโดย ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย จะยกทีมคุณเอื้อลงมาเสวนาด้วยครับ

เบอร์โทร.อ.บุญธรรม เทอดเกียรติชาติ คือ 0816762431

ขอบคุณครับพี่บัง

สวัสดีค่ะครูนง

ครูนงสบายดีนะคะ

มีหลายประเด็นอยากหารือกับครูนงค่ะ

แล้วจะโทรคุยด้วยค่ะ

อ.ตุ้ม ครับ

เบอร์โทร.ผม ที่อาจารย์มีแล้วยังครับ ที่ภีมก็มีเบอร์ผมครับ

ผมเองก็อยากคุยด้วยกับอาจารย์หลายเรื่องครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท