กรณีศึกษาความสำเร็จในการดำเนินงานเมืองน่าอยู่ในต่างประเทศ


การจัดการความรู้ โดยศึกษาเรียนรู้mappingหาพื้นที่หรือบุคคลที่ประสบความสำเร็จจะช่วยให้เราได้แนวทางในการทำงานที่ดีไม่หลงเป้าหมายและได้พัฒนาตัวเอง

การจัดการความรู้ โดยศึกษาเรียนรู้mappingหาพื้นที่หรือบุคคลที่ประสบความสำเร็จจะช่วยให้เราได้แนวทางในการทำงานที่ดีไม่หลงเป้าหมายและได้พัฒนาตัวเอง  ดังนั้นจึงอยากจะเผยแพร่กรณีศึกษาในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ

มาให้ผู้สนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจะได้แนวคิดมาปรับปรุงในประเทศของเราต่อไป

          กรณีศึกษาจากต่างประเทศ

                เมืองคูริติบา มีประชากร 2.1 ล้านคน เป็นเมืองที่สะอาดน่าอยู่และมีเศรษฐกิจดี มีต้นไม้ทั่วทุกหนแห่ง เพราะเจ้าหน้าที่แจกต้นไม้ให้ประชาชนปลูกและดูแล 1.5 ล้านต้น การตัดต้นไม้ต้องขออนุญาต ถ้าตัด 1 ต้น ต้องปลูกทดแทน 2 ต้น เคยมีปัญหาน้ำท่วมยาวนานในช่วยปีทศวรรษ 1960 จึงมีการจำกัดการก่อสร้างบริเวณนั้น สร้างทะเลสาบเพื่อกักน้ำ ออกกฎหมายปกป้องทางระบายน้ำ เปลี่ยนริมฝั่งแม่น้ำให้เป็นสวนสาธารณะ หยุดปัญหาน้ำท่วมและเพิ่มจำนวนพื้นที่สีเขียวต่อประชากร

                อากาศที่นี่สะอาด  เพราะพึ่งพารถยนต์น้อย มีทางจักรยาน 145 กิโลเมตรและกำลังสร้างเพิ่มขึ้น ถนนบางสายใจกลางเมืองห้ามรถผ่าน โดยที่ร้านต่างๆ ก็ร่วมมือ โรงงานร้างถูกเปลี่ยนเป็นโรงเล่นกีฬา และสถานที่พักผ่อน การละเล่นต่าง ๆ

                ความสำเร็จของเมือคูริติบา เกิดจากการวางแผนด้านการขนส่งและการใช้ที่ดินอย่างผสมผสาน ระบบรถโดยสารได้รับการวางระบบอย่างสมบูรณ์ดีกว่ารถไฟใต้ดิน หรือรถรางซึ่งแพงและไม่ยืดหยุ่นและอาจจะถือว่าดีที่สุดในโลก

                แนวคิดการวางระบบคือตกแต่งให้เมืองพัฒนาอยู่ในแนวทางหลัก 5 สายซึ่งแผ่รัศมีออกจากใจกลางเมือง เหมือนซี่ล้อรถจักรยาน เส้นทางหลักนี้จะมี บัสเลนโดยเฉพาะ ระบบรถโดยสารใช้รถบัส ซึ่งสะอาดและไม่ก่อให้เกิดมลภาวะขนคนวันละ 1.5 ล้านคน ตั๋วราคาถูกและไม่ต้อเสียเงินอีกเมื่อจะต่อรถสายอื่น อาคารที่อยู่อาศัยใกล้เส้นทางรถบัสสำคัญต้องเป็นตึกสูงเท่านั้นและต้องเหลือชั้นล่าง 2 ชั้น ทำเป็นร้านค้าเพื่อลดความจำเป็นในการเดินทาง เมืองนี้จึงมีมลภาวะทางอากาศต่ำมาก

นโยบายที่ควรมี

1.      ส่งเสริมการจัดหาอาการที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง สด ใหม่ สำหรับทุกคน

2.      ให้ผู้บริโภคมีส่วนในการติดตาม กำกับ ตรวจสอบ การออกกฎระเบียบด้านอาหาร

3.      ส่งเสริมการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่รักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4.      ปกป้องผู้ผลิตอาหารในระดับท้องถิ่น จากกลุ่มการค้าอาหารในระดับโลก

5.      ให้ความรู้ประชาชนในการเลือกบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เสริมทักษะการเตรียมอาหาร

6.      ใช้นโยบายภาษีเพื่อส่งเสริมการผลิตเนื้อไม่มีไขมัน

7.      สนับสนุนการทำไร่สวนผสมเพื่อผลิตอาหารที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ

8.      ให้ข้อมูลแก่เกษตรกร เรื่องการปลูกพืช ปลอดสารพิษอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง

9.      เข้มงวดกวดขันกับผู้ประกอบการผลิตสารกำจัดศัตรูพืช ให้มีคำเตือนและวิธีการใช้ที่ชัดเจน

10.  ศึกษาวิจัยให้มีการพัฒนาการใช้ปุ๋ยชีวภาพ และใช้สารที่สกัดจากธรรมชาติในการกำจัดศัตรูพืช

11.  พัฒนานโยบายเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ โดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์

หมายเลขบันทึก: 243150เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2009 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 13:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ดีจัง เป็นความรู้อีกแบบหนึ่ง
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท