รังสีเทคนิค ตรวจลำไส้ใหญ่ 2552


ตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัย

บันทึกนี้ขอกล่าวทบทวนเทคนิคการตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัยระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง หรือทางการแพทย์เรียกว่า lower gastro-intestinal system

ในการตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนล่างนี้แบ่งการตรวจออกเป็น 2 ชนิดคือ

1. ตรวจพิเศษลำไส้เล็ก หรือ small bowel series or long gastrointestinal system ซึ่งการตรวจนี้ต่อเนื่องกับการตรวจกระเพาะอาหารแต่ต้องทำการถ่ายภาพต่อเนื่อง 30/45/60 นาทีอาจถึง สองชั่วโมงถ่ายฟิล์มในท่านอนคว่ำหรือนอนหงาย หลังการดื่มแป้งเพิ่มอีกจนกระทั่งแป้งแบเรี่ยมเข้าไปจนถึงส่วนสุดท้ายของลำไส้เล็ก....จึงจะไม่ขอกล่าวถึงการตรวจชนิดนี้

2.การตรวจพิเศษลำไส้ใหญ่ หรือ ศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า Barium Enema โดยการตรวจนี้จะต้องทำการสวนแป้งแบเรี่ยมซัลเฟตเข้าไปทางทวารหนักจนถึงส่วนต้นของลำไส้เล็กภายใต้การตรวจของรังสีแพทย์

ในบันทึกนี้จึงขอกล่าวถึงการตรวจลำไส้ใหญ่ เนื่องจากการตรวจลำไส้เล็กสามารถตรวจต่อเนื่องจากการตรวจกระเพาะอาหารตามที่ได้กล่าวในบันทึกที่ผ่านมาแล้ว

การเตรียมตัวในการตรวจลำไส้ใหญ่จะมีความยุ่งยากกว่าเนื่องจากต้องทำให้ลำไส้สะอาดก่อนทำการตรวจ ดังนั้นการรับประทานอาหารอ่อนก่อนวันนัดตรวจอย่างน้อย 1-2 วันเป็นสิ่งที่ช่วยได้ดีเพื่อให้ลำไส้มีกากอาหารน้อยที่สุดและต้องทานยาระบายท้องอีกในคืนก่อนตรวจ จากใบแนะนำการตรวจ

ในวันที่ตรวจถ้าลำไส้ยังไม่สะอาดพออาจจะต้องสวนลำไส้ก่อนตรวจด้วยน้ำอุ่นก่อนที่จะทำการตรวจเพื่อสวนแป้งแบเรี่ยมซัลเฟตเข้าไปทางทวารหนัก ขณะทำการตรวจต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยรังสีแพทย์เนื่องจากการสวนแป้งเข้าไปในลำไส้ต้องมีความระมัดระวังเพื่อให้เหมาะสม

รังสีแพทย์จะทำการตรวจภายใต้การเอกซเรย์ที่ออกแบบต่อเนื่องซึ่งเรียกว่า under fluoroscopy และจะถ่ายภาพส่วนที่สำคัญไปด้วยขณะตรวจ โดยรังสีแพทย์จะค่อยๆสวนใส่แป้งเข้าไปในลำไส้ทีละน้อยๆพร้อมกับบอกให้หายใจลึกๆยาวๆเพราะจะทำให้รู้สึกปวดท้องอยากจะเข้าห้องส้วม

หลังจากนั้นต้องเป็นหน้าที่ของรังสีเทคนิคที่จะต้องทำการถ่ายภาพเต็มฟิล์มของลำไส้ในท่าต่างๆตามมาตรฐานการตรวจด้วยความรวดเร็วและถูกต้อง ดังผู้เขียนจะขอทบทวนตามภาพที่นำเสนอดังต่อไปนี้

ภาพและเอกสารที่นำมาประกอบการทบทวนครั้งนี้ ได้มาจาก Radiographic Positioning and Related Anatomy;Six Edition และ Radiology and Iaging;seventh Edition volum1 สามารถค้นหาได้ที่ห้องสมุด คณะแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภาพบน......ท่าที่ต้องนอนขณะทำการสวนเรียกว่า sims position

ภาพบนเป็นถุงบรรจุแป้งแบเรี่ยมซัลเฟตแขวนใว้เหนือเตียง ประมาณ 3 ฟุต

ภาพบน 2 ท่าคือการถ่าย over head เรียกว่าท่า postero-anterior หรือ PA

และ antero-posterior หรือ AP (ถ่ายท่าใดท่าหนึ่งเท่านั้น)

ภาพบน right anterior oblique or RAO ถ่ายเพื่อดูลำไส้ส่วนที่โค้งและซ้อนทับกันจึงต้องมีการเอียงลำตัวขึ้น การนอนคว่ำเอียงด้านขวาลงเพื่อดู hepatic flexure or right colic flexure ในภาพล่างเป็นภาพที่ได้โดยผู้ป่วยมีลำไส้ยาวจึงต้องถ่ายสองภาพเพื่อให้เห็นลำไส้ครบทั้งส่วนบนและล่าง

ภาพล่าง ท่า right and left posterior oblique or RPO and LPO อาจต้องถ่ายนอนหงายเพื่อดูส่วนโค้งของลำไส้ทั้งสองข้างในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถนอนคว่ำได้(เนื่องจากลำไส้อยู่ด้านหน้าควรนอนคว่ำถ่ายเพื่อให้ลำไส้ชิดกับแผ่นฟิล์ม)

ภาพล่าง ภาพซ้าย LPO จะเห็น right colic flexure (or hepatic flexure)and RPO ภาพขวาจะเห็น left colic flexure(or spleenic flexure) เป็นภาพที่ได้จากการถ่าย over head ในท่านอนหงาย

ภาพล่าง เป็นการถ่ายเพื่อดูลมในท่านอนคว่ำโดยใช้ฟิล์มวางในแนวตั้ง และดูแป้งที่เคลือบในลำไส้ใหญ่ในท่านอนตะแคงโดยใส่ฟิล์มอยู่ด้านล่างใต้เตียง เรียกว่า lateral sigmoid position

บน ทั้งสองภาพที่ได้ในท่า lateral sigmoid

ภาพบน การถ่าย over head เพื่อดูลม(air) ที่เคลือบในลำไส้โดยการวางฟิล์มแนวตั้ง และภาพล่างที่ได้.........ต้องทำการถ่ายทั้งด้านซ้ายและด้านขวาเรียกว่าท่า lateral decubitus (ถ่ายทั้ง left and right)

หลังจากตรวจดูภาพทั้งหมดครบถุกต้องแล้วให้ผู้ป่วยไปอุจจาระแล้วกลับมาถ่ายฟิล์มอีก 1 ท่าเรียกว่า post evacuation (ภาพบน)ส่วนใหญ่ถ่ายเป็นภาพ KUB เป็นการสิ้นสุดการตรวจลำไส้ใหญ่..........ขอให้รังสีเทคนิคทุกท่านใช้ความสามารถในการตรวจด้วยความรอบครอบและระมัดระวังเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ

หมายเลขบันทึก: 242816เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2009 21:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2016 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณมากนะคะที่ให้ความรู้ แต่ที่นี่ไม่มีรังสีแพทย์ ทำเองก็ถ่ายประมาณนี้แต่ไม่ครบหรอกค่ะ พี่ประพอมีตำราที่เห็นภาพความผิดปกติ ว่าจะเห็นในฟิล์มท่าต่างๆอย่างไรบ้างมั๊ยคะ แนะนำหน่อยค่ะ ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

ถึงน้องสุธีรัตน์ค่ะ....การตรวจพิเศษที่ไม่มีรังสีแพทย์ยิ่งต้องใช้ความระมัดระวังมากเป็นพิเศษอย่างน้อยแพทย์ที่ส่งตรวจน่าจะตามมาดูด้วยนะคะ..สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นเราไม่สามารถบอกได้หรอกค่ะยิ่งเกี่ยวกับชีวิตถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆ..แล้วจะพยายามดูและหาให้นะคะยินดีช่วยเหลือค่ะ

ขอบคุณที่ให้สิ่งดีๆ ต่อเพื่อน พี่ น้องร่วมวิชาชีพค่ะ

มีภาพความผิดปกติที่ดูได้จากการตรวจBEไหมคะ

อยากไปขอฝึกประสบการณ์ ขอข้อแนะนำเพิ่มเติมในการตรวจพิเศษห้อง Flu จะได้ไหมคะ

ยินดีค่ะ ทำหนังสือส่งตัวมาได้เลยนะคะ

ถึง หัวหน้าภาควิชารังสีวิทยา และแจ้งความประสงค์การขอดุงานมาได้เลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท