รังสีเทคนิค ตรวจกระเพาะอาหาร 2552


ตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัย

บันทึกนี้ขอกล่าวถึงการทบทวนในวิชาชีพของรังสีเทคนิคในการทำงานเกี่ยวกับการให้บริการตรวจพิเศษในระบบต่างๆของร่างกายที่ต้องใช้เครื่องเอกซเรย์ในการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคต่างๆที่เกิดขึ้น

การตรวจในระบบแรกจะขอทบทวนถึงการตรวจพิเศษในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า digestive system ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายๆการตรวจตั้งแต่หลอดอาหารไปจนถึงลำไส้ใหญ่

ระบบแรกที่จะกล่าวถึงคือตั้งแต่หลอดอาหารถึงลำไส้เล็กส่วนต้น เรียก การตรวจในระบบนี้ว่า Upper Gastro-Intestinal System(Upper GI)ในส่วนของหลอดอาหารเรียกการตรวจนี้ว่า Esophagram แต่จะขอพูดโดยรวมเนื่องจากว่าเป็นส่วนที่อยู่ติดกันและเป็นระบบที่ต้องตรวจดูต่อเนื่อง..........

อันดับแรกหลังจากแพทย์ให้ใบส่งตรวจต้องมานัดวันตรวจที่แผนกรังสีวินิจฉัย...........จะได้ใบแนะนำการปฎิบัติตัวคือ การงดน้ำและงดอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนรับการตรวจ............

ในวันตรวจต้องทานแป้งแบเรี่ยมซัลเฟต(สารทึบรังสี)......โดยรังสีแพทย์จะเป็นผู้แนะนำให้ทานในขณะตรวจพร้อมกับการถ่ายรูปไปด้วยเพื่อดูความผิดปกติ โดยแป้งแบเรี่ยมเป็นสารทึบรังสีจะเคลือบบนผิวของหลอดอาหารและกระเพาะอาหารได้ดีโดยแสงเอกซเรย์ไม่ทะลุผ่านได้จึงสามารถมองเห็นสิ่งที่ผิดปกติเกิดขึ้นในกระเพาะอาหารได้..........ภายใต้การตรวจทางรังสีด้วยเครื่องเอกซเรย์ที่เรียกว่า ฟลูออโรสโคปี้(fluoroscopy)ซึ่งเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มองเห็นได้ทันทีขณะทำการตรวจและรังสีแพทย์จะทำการถ่ายภาพเฉพาะส่วนทีสำคัญ เรียกการถ่ายว่า spot under fluoroscopy

หลังจากที่รังสีแพทย์ได้ทำการตรวจเสร็จแล้วเป็นหน้าที่ของรังสีเทคนิคที่ต้องทำการถ่ายภาพเต็มฟิล์มทั้งหลอดอาหาร หรือ กระเพาะอาหาร เรียกการถ่ายนี้ว่าว่า over head คือการถ่ายภาพลงบนฟิล์มขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมส่วนที่ทำการตรวจทั้งหมดนั่นเอง..........

เอกสารที่นำมาประกอบการทบทวนในครั้งนี้ คือ Radiographic Positioning and Related Anatomy;Six Edition และ Radiology and Imaging ;seventh Edition volum1 ซึ่งสามารถค้นได้ที่ห้องสมุดคณะแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ท่าในการถ่าย over head สำหรบการตรวจหลอดอาหาร(จากภาพ)

1.Right Anterior Oblique position:RAO

2.Swimer's or Right Lateral position

3.Antero-posterior or Postero-anterior position:AP or PA

การถ่ายท่านี้จะเหมือนการถ่ายกระเพาะอาหารต่างกันที่ center point เท่านั้นเอง

ท่าในการถ่าย over head สำหรบการตรวจกระเพาะอาหาร(จากภาพ)

1.Right Anterior Oblique position:RAO

2.Right Lateral position

3.Postero-anterior position or Antero-posterior :PA or AP

ก่อนทำการถ่าย over head ทุกครั้งต้องทานแป้งแบเรี่ยมเพิ่มก่อนทุกครั้ง

สัดส่วนในการตรวจผสมแป้งแบเรี่ยมกับน้ำคือ

thick แบเรี่ยม= 3-4/1.....thin แบเรี่ยม=1/1

ในรายละเอียดการจัดท่าต่างๆผู้เขียนคงไม่ขอพูดถึงเพราะเป็นการทบทวนความรู้ที่รังสีเทคนิคทุกท่านได้ศึกษามาแล้ว


หมายเลขบันทึก: 242380เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2009 16:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2016 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณมากๆคร๊าบ ถ้ามีภาพความผิดปกติต่างๆมาให้ดูด้วยก้ดีนะคะ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมค่ะ...แล้วจาพยายามหาสิ่งที่ผิดปกติมานำเสนอให้ค่ะ

ที่รพ.เพิ่งได้ FLU DR ฏ็ขอขอบคุณสำหรับการทบทวนความรู้ที่นำมาแบ่งปันนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท