อ่านเจอในหนังสือพิมพ์เลยหยิบมาฝากค่ะ
ข้อควรรู้ ความผิดพระภิกษุในพระธรรมวินัย
เมื่อพระภิกษุทำผิดศีลหรือพระธรรมวินัยจะเรียกว่า “อาบัติ” มีความผิดดังนี้ โทษหนักสุด “ปาราชิก” มี 4 ข้อ เมื่อภิกษุต้องอาบัติ ในปาราชิกในข้อใดข้อหนึ่งแม้จะไมแม้จะไม่กล่าวสาลิกขาก็ตามถือว่าขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที ได้แก่
1. เสพเมถุน (สังวาสกับคนหรือสัตว์)
2. ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป้นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดีหรือเรียกง่าย ๆ ว่าขโมย
3. พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน) หรือแสวงหาศาสตราอันนำไปสู่ความตายแก่ร่างมนุษย์
4. กล่าวอวดอุตริมนุสสัมม์ ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวอง
โทษรองมาคือ โทษรองมาคือ “สังฆาทิเสส” มี 13 ข้อ ถือเป็นความผิด หากทำสิ่งต่อไปนี้
1. ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน
2. เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลุบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรี
3. พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี
4. การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกามหรือถ้อยคำหรือพาดพิงเมถุน
5. ทำตัวเป็นสื่อรักบอกความต้องของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ
6. สร้างกุฎิด้วยการขอ
7. สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น
8. แกล้งใส่ความว่าปาราชิดโดยไม่มีมูล
9. แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิโดยไม่มีมีมูล
10. ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน
11. เป็นพวกของผู้ที่ทำให้สงฆ์แตกกัน
12. เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง
13. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์
(แม้อาบัติสังฆาทิเลสจะไม่ร้ายแรงถึงขั้นปาราชิก ภิกษุก็ต้องไปเข้าพิธี “ปริวาสกรรม” หรือ “ล้างบาป” ให้สิ่งแปดเปื้อนทั้งหลายหมดไปจากร่างกายและจิตใจ)
“อนิยกัณฑ์” มี 2 ข้อ คือ
1. การนั่งในที่ลับตา มีอาสนะกำบังอยู่กับสตรีเพศ และมีผู้มาเห็นเป็นผู้เชื่อถือได้ผู้ขึ้นด้วยธรรม 3 ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวว่าภิกษุนั้นได้แก่ ปาราชิกก็ดี สังฆาทิเลสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
2. ในสถานที่ที่ไม่เป็นที่ลับตาเสียทีเดียว แต่เป็นที่ที่จะพูดจาค่อนแคะสตรีได้สองต่อสองกับภิกษุผู้เดียวและมีผุ้มาเห็นเป็นผุ้เชื่อถือได้พุดขึ้นด้วยธรรม 2 ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ สังฆาทิเลสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
...แล้วพบกันใหม่จ้า...
สร้างกุฎิด้วยการขอ
สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น
ทุกวันนี้ เรื่องข้างต้น กลายเป็นเรื่องพบเห็นมากมายในสังคมพุทธ วัดหลายแห่งมีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งหมายถึง ไม่เป็นเพียงสถานที่แห่งการศึกษาธรรมะ ปรัชญา และการอยู่ร่วมของชุมชนเท่านั้น แต่พลิกบทบาทไปสู่การเป็นสถานที่ท่องเที่ยวไปแล้วก็มีเหมือนกัน
แต่ก็ยังดีนะครับ
ที่ว่าการท่องเที่ยวนั้น ก็ยังรวมความถึงการศึกษาเรียนรู้ในเชิงศิลปวัฒนธรรมของชุมชนและสังคมไปด้วยเหมือนกัน
ขอบคุณ..ค่ะที่คุณ..แผ่นดิน ที่แวะมาร่วมแสดงความคิดเห็น...แต่ก็ยังดีใจอยู่นิดหนึ่งว่าในสังคมก็ยังมีคนดีหลงเหลืออยู่บ้างบางส่วนก็ยังดี(จากข่าวในทางที่ดีที่ให้เห็นบ่อยๆ)