3. สิ่งที่ได้รับจากการเล่าเรื่อง


ดูแลดุจญาติมิตร พร้อมดวงจิตบริการ

สิ่งที่ได้รับจากเรื่องเล่า ฯ

Nurse Ang ( สรุปอย่างนักวิชาการว่า )

สิ่งที่ได้จากเรื่องเล่า  ( รวมทุกเรื่อง )

          1 . เจ้าหน้าที่ ดูแลผู้ป่วยเป็นองค์รวมมากขึ้น มีการมองและการแก้ปัญหา ของผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ ทั้งด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ

          2. มีการทดลองใช้วิธีการทำงานใหม่ ๆ เมื่อ ได้วิธีการใหม่แล้วมาเปรียบเทียบกับวิธีเดิมว่า วิธีไหนดีกว่ากันแล้วเลือก

          3. มีการเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง และเรื่องต่าง ๆ ในอดีต สิ่งไหนที่ยังไม่ดี ก็นำมาปรับปรุงแก้ไข ซึ่งก็ช่วยลดปัญหาได้มาก

          4. การเรียนรู้จากวิธีการที่ดีที่สุดของผู้อื่น นำมาเปรียบเทียบ กับของเดิมว่า อย่างไรดีกว่ากัน วิธีไหน เร็วกว่า ประหยัดกว่า ดีกว่า

          5. ผู้ป่วยพึงพอใจ ต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่มีความสุขในการทำงาน

          6. ผู้ป่วยหายเร็วขึ้น

สิ่งที่ทำให้เกิดการพัฒนาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ ครอบครัว ออร์โธฯ ชาย 2

1.       การสร้างบรรยากาศในการแสดงความสามารถ โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ใช้ความคิดใหม่ๆ ความสามารถใหม่ ๆ ในการทำงาน และในการแก้ไขปัญหาการทำงาน

2.       การยอมรับความคิดใหม่  ๆ ที่เกิดขึ้น มีการคำนึงถึงคุณค่าของบุคลากร มีความกระตือรือร้น ในการทำงาน และต้องการมีส่วนร่วม ในการพัฒนาหน่วยงาน

3.       การทำงานเป็นทีม

 

 Modtanoy

         ทุกครั้งที่มีเรื่องเล่า ก็แสดงว่ามีเรื่องราว …… และทุกครั้ง ก็จะเจอกับคนไข้บางคน ……คนนั้น คนนี้ คนโน้น ….. ทุกครั้งที่เจอ ทำให้เรารู้สึกว่า อย่างแรก ประหลาดใจ อะไรเนี่ย แบบนี้ก็มีด้วย ! และหลายครั้ง ทำให้รู้สึกท้อ ( มีนะ ) หลายครั้งทำให้รู้สึก ขอบคุณ เพราะว่าเขาทำให้ เรารู้จัก ชีวิต รู้จักโลก รู้จักการเรียนรู้ จากชีวิตคนอื่น มาเป็นแรงผลักดัน ทำให้มีกำลังใจในการทำงาน ยิ่งได้เห็นรอยยิ้มของคนไข้ ของญาติหรือผู้เกี่ยวข้อง ยิ่งทำให้ หัวใจมันพองโตมากขึ้น (อิ อิ ) ยิ่งรัก และภาคภูมิใจในวิชาชีพมากขึ้น เช่นกัน จริง จริง นะ ทั้งที่เหนื่อยและแสนเหนื่อย แต่ก็ยังอยากที่จะมาทำงาน เพื่อที่ยังอยากจะมารับทราบว่า ปัญหาของเขาเหล่านั้น ชีวิตของเขาเหล่านั้น ได้รับการแก้ไข ได้รับการบรรเทาไปแล้วหรือยัง เป็นความภาคภูมิใจอันสูงสุด ที่ได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเหลือนี้

         สรุปออกมาไม่ได้ …….จะจบยังไม่ได้เลย

         เพราะมัน ไม่มีตอนจบ แต่รู้แน่ว่าดีมากมาย

( Nong ) Chai

           เมื่อกลับมานั่งอ่าน ก็จะนึกถึง เรื่องราวของผู้ป่วย ที่ต้องมาใช้ชีวิต ใน วอร์ดของเรา  มีทั้งรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และมีทั้งน้ำตาและยังมีเรื่องราวของญาติผู้ป่วยที่ทำให้เรา ต้องปวดหัว แต่มันทำให้เรามีความสุข ในการทำงาน พวกเราก็ยินดีที่จะทำ เพราะผู้ป่วยบางคนก็สู้ชีวิต เช่น หมี่แหระ ที่เป็นคนสู้ชีวิตที่น่านับถือ

         จุดหมายของผู้ป่วยและ เรา มีจุดเดียวกันคือ ทำให้ผู้ป่วยหายเป็นปกติ และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับครอบครัว และการดำเนินชีวิต

 

Raknok ( แม่นก )

         ข้อคิดจากเรื่องเล่า ในฐานะผู้ให้บริการ หลายครั้งที่รู้สึก เหนื่อยหน่าย แต่เมื่อเห็นใบหน้า ที่อมทุกข์ของผู้ป่วย ก็อยาก ปัดเป่า ความทุกข์นั้น ให้หายไป แต่พวกเราไม่ใช่ นางฟ้า ที่ทำทุกอย่างได้ดังใจ ทำได้ก็เพียงปลอบโยนด้วยคำพูด และดูแลพวกเขาให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ หากวันไหนได้เห็นรอยยิ้ม และพวกเขาหาย กลับบ้านได้ พวกเรา ก็จะรู้สึก หายเหนื่อย ได้ในทันที โดยไม่ต้องหวังอะไรตอบแทน ได้แต่อธิษฐานให้พวกเขาหายเร็ว ๆ และมีความสุข

 

 Nong Ap(ple)

           ได้เรียนรู้พฤติกรรม การใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อนำมาปรับใช้ทักษะในการดูแลทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจของผู้ป่วย

         เกิดการใช้ความคิดเห็นที่เกิดจาก เจ้าหน้าที่ ทุกคนในวอร์ด ร่วมกันคิด แก้ไขปัญหา ให้เกิดการทำงานเป็นทีม

         ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยได้ดีขึ้น

         ทราบถึงพฤติกรรม การใช้ชีวิตประจำวัน สาเหตุของการบาดเจ็บ และนำมาปรับใช้ เป็นการป้องกัน หลีกเลี่ยง มิให้เกิดกับตัวเอง 

 

Anny

จากเรื่อง ปัจจัยที่ 6 ทำให้ได้ข้อคิดว่า คนเราจะต้องมีความพอดี และพอเพียง และต้องรู้จักกาลเทศะ ว่าเราอยู่ในสถานการณ์เช่นไร และควรให้ความสำคัญกับสิ่งใดก่อนในชีวิตของเรา สรุปก็คือ คนเราควรจะทำตัวให้รู้ตัวพร้อม และมีความพอดี และพอเพียงในสิ่งที่ตนมี

         จากเรื่อง ทางที่ต้องเลือก เป็นเรื่องที่ทำให้รู้ว่า กำลังใจ และจิตใจเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ผู้ป่วยคนนี้เลือกที่ จะมีชีวิตอยู่ ยอมตัดอวัยวะส่วนที่บั่นทอนชีวิตออกไป ถึงแม้จะเป็นภาพลักษณ์ของคนเราก็ตาม แต่ยังมีอีก 2 มือ ที่ยังสามารถ ทำอะไรได้อีกตั้งหลายอย่าง และอีก 1 หัวสมอง คนเราก็จะมีชีวิตอยู่ได้ ถึงแม้จะปราศจากขาทั้ง 2 ข้าง ทำให้เรารู้ว่าปัญหาของเรา เรื่องของเรา เป็นเรื่องที่เล็กน้อย ไปเลย และเป็นตัวอย่าง ให้เราได้มองโลกในแง่ดี ๆ บ้าง

         จากเรื่อง อาการทางจิต VS อาการทางสมอง ทำให้ ได้แนวคิดในการดูแลผู้ป่วยหลายทาง และได้ประสบการณ์ ในการ เข้าผู้ป่วยที่โรคทางจิต หรือทางสมอง จะมีข้อแตกต่าง ในการดูแล และสามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยคนอื่น ๆ ที่มาในรูปแบบนี้ได้

         จากเรื่อง สัญญาของคุณอำนวย ทำให้เกิดข้อคิดว่า การที่คนเรายึดติดในการเป็นคนเคยมีอำนาจ ในการสั่งการ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อัตตา มาก ยึดติดในตัวเอง พอป่วยขึ้นมาก็ท้อ ไม่ยอมช่วยเหลือตัวเอง เรียกใช้คนอื่นเสมอ เพราะเคยทำมาตลอด ทำให้ตัวเองทรุด ไม่มีแรง จะช่วยเหลือตัวเองขึ้นมาจริง ๆ เป็นผลจาก การไม่ใช้ อวัยวะที่มีอยู่   พอคนเรา ไม่ใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ส่วนนั้นก็จะฝ่อหรือลีบไป เป็นข้อคิดให้คนเราต้องสู้ และ ไม่ควรท้อถอยกับสิ่งที่เป็นอยู่ และเราต้องถือคติ

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนด้วย

 

 Nurse OAk

ทางที่ต้องเลือก : เจ้าหน้าที่ของวอร์ด

-         เข้าใจ , ใส่ใจ , เข้าถึงอย่างถ่องแท้ในการดูแลผู้ป่วย รวมถึงครอบครัวผู้ป่วย

-         ดูแลดุจญาติมิตรจริง ๆ

-         ภูมิใจที่คนไข้เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ออร์โธฯ ชาย 2

ปัจจัยที่ 6

พยาบาลได้เข้าใจว่า ปัจจัยที่ 6 หรือสิ่งสำคัญ คนไข้ แต่ละคน มีความแตกต่างกัน  pain management ไม่จำเป็น ต้องพูดคุย ปลอบโยน ให้กำลังใจ หรือ เปิดโอกาส ให้ระบายความรู้สึกตามแผนพยาบาลที่วางไว้ก็ได้ แค่ยื่นโทรศัพท์ให้ คนไข้ก็หายปวดไปครึ่งหนึ่งแล้ว ดังนั้น แผนการพยาบาล อีกประการหนึ่ง คือ เปิดโอกาสให้พูดคุยโทรศัพท์ เพื่อให้ระบายความรู้สึกแทน  นี่แหละ ถ้าเข้าใจและดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม แล้ว เราจะไม่เครียด แต่อย่างใด ในการให้การพยาบาลคนไข้

นอกจากนั้น ผู้ป่วยรายนี้ พยาบาลทุกคน บอกว่า หากสงสัย อะไร ในการดูแล ให้โทร ฯ มาคุยกับพยาบาลได้  ( ทั้ง ๆ ที่นอน ร.พ. ) พยาบาลก็เป็นกับเขาด้วย

สรุป สิ่งที่ได้ คือ วิธีการ จัดการความเจ็บปวด อีกวิธี , เข้าใจและดูแลแบบองค์รวม

Nurse Jor

สัญญาของคุณอำนวย

                ทำให้เราทราบถึง ความต้องการ ด้านร่างกาย และ จิตใจ ของคนไข้ได้มากขึ้น  ทำให้รู้ว่าทำไมคนไข้คนนี้ ถึงมีลักษณะนิสัย เป็นแบบนั้น แล้วได้รู้ว่า แท้จริงแล้ว ผู้ป่วยทุกคน อยากหาย (ป่วย) ,รักตัวเอง ทำให้เราปรับการพยาบาล และดูแลคนไข้ ได้เข้าใจถึงจิตใจเขามากขึ้น

 

P’ Aor

                จากเรื่องต่างๆ ทำให้ได้ ข้อคิดในการดูแลสุขภาพตัวเอง ทำงานได้ แต่ต้อง รักษาสุขภาพด้วย  ทั้งสุขภาพจิต และ สุขภาพทางกาย ถ้าเราสุขภาพไม่ดี เราคงไปดูแลคนไข้ไม่ได้ ถ้าเราอารมณ์ไม่ดี เราคงให้บริการที่ดีไม่ได้

          เรื่องของผู้ป่วยทำให้เราได้ย้อนมาดูตัวเอง ขอบคุณที่เขาเป็นตัวอย่างที่ดีให้เราเพื่อให้เราใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท

          และสุดท้าย เรื่องเล่า ทำให้เราค้นพบว่างานเรามีคุณค่า มีความหมาย เราได้ทำเรื่องดี ๆ ตั้งมากมาย บางเรื่องมันอาจจะเศร้า หดหู่ ท้อแท้บางครั้ง แต่ เมื่อเราพบ ว่าในคราบน้ำตาของคนไข้ เขาก็ยังมีรอยยิ้มให้เราอยู่นะ เขากำลังให้กำลังใจเราอยู่  ทั้ง ๆ ที่เขาก็ทุกข์มากอยู่แล้ว ……แล้วเราจะไม่สู้บ้างเหรอ

ในฐานะหัวหน้า

 

         การได้อ่าน เรื่องเล่าทั้งหลาย ( ทุกเรื่อง ) แล้วรู้สึกภาคภูมิใจ ในทีมงานเป็นอย่างมาก ที่มีจิตบริการ ที่บ่งบอก / แสดงให้เห็นว่า มีความเข้าใจ + เข้าถึง ผู้รับบริการแต่ละคนอย่างแท้จริง ไม่ได้มองความต้องการของผู้ป่วย แบบเหมาโหล แล้วให้บริการแบบเหมาโหล แต่มีความเข้าใจว่า ผู้ป่วยแต่ละคน แตกต่างกัน แม้ว่าเป้าหมายของการรักษา อาจไม่แตกต่างกัน คือ ผู้ป่วยหาย สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวัน ได้ใกล้เคียงสภาพเดิม หน่วยงาน จึงมีความสนุกในการทำงาน แม้บางวัน บางเวลา จะเหนื่อยแสนเหนื่อย แต่พวกเรา ก็หัวเราะได้ ยิ้มได้ วิตกทุกข์ร้อน แทนผู้ป่วย เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น และดีใจ เมื่อผู้ป่วยดีขึ้น ได้กลับบ้านด้วยความสุข

         ในฐานะหัวหน้า อยากบอกทีมงานว่า ขอบคุณทุกคนมาก ที่ทำให้มีพลังในการทำงาน โดยไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย ขอบคุณที่ได้ใช้หลักการทำงาน ตามคำขวัญของโรงพยาบาล     ดูแลดุจญาติมิตร พร้อมดวงจิตบริการ   ให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง

 

 

 ขอให้มีความสุขกับการอ่าน  ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันด้วยนะคะ

หมายเลขบันทึก: 240061เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2009 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท