ยกร่าง WI : การฝากครรภ์


การฝากครรภ์

ยกร่าง WI เรื่อง การฝากครรภ์ 

ผู้จัดทำ นางนงนุช  เอี้ยงลักขะ

ประเด็นคุณภาพที่ต้องปฏิบัติ มี 14 ประเด็นดังนี้

1)      การสอบถามประวัติ

2)      การขึ้นทะเบียนหญิงตั้งครรภ์

3)      การตรวจร่างกาย

4)      การให้การปรึกษาก่อนตรวจเลือดและการเก็บสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

5)      การคาดคะเนอายุครรภ์

6)      การประเมินภาวะเสี่ยง 20 ข้อ

7)      การให้ยาเสริมธาตุเหล็ก

8)      การให้วัคซีนป้องกันบาดทะยัก

9)      การให้เกลือเสริมไอโอดีน

10)  การส่งต่อหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง

11)  การสอนวิธีนับลูกดิ้น

12)  การจัดกิจกรรมหลักสูตรโรงเรียนพ่อ-แม่

13)  การตรวจคัดกรอง GDM

14)  การนัดตรวจครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพ

 

 ถ้าสมาชิกเห็นควรเพิ่มเรื่องอะไร  ช่วยให้ความเห็นด้วยคะ

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #การฝากครรภ์
หมายเลขบันทึก: 239830เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2009 13:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 08:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พัชรินทร์ รพ.อากาศอำนวย

อยากให้ทำเป็น Format ของการทำ WI เข้ามาเลย

ของเราเป็นแบบนี้นะคะ

ชื่อเรื่อง การฝากครรภ์

หลักการสำคัญ

1. เป็นการยืนยันว่ามารดาตั้งครรภ์จริงและบอกอายุครรภ์ที่ถูกต้องหรือใกล้เคียงที่สุด

2. ตรวจวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นแก่หญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์

3. จำแนกหญิงตั้งครรภ์ออกเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง(High Risk) และที่มีความเสี่ยงต่ำ(Low Risk)

4. ให้คำแนะนำ ความรู้ หรือวิธีการอื่นๆ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองได้ และสามารถมาพบบุคลากรทางสาธารณสุขได้เร็วขึ้นหากมีความผิดปกติ

วิธีการปฏิบัติ

1. ซักประวัติ/คัดกรองประเภทผู้รับบริการโดยใช้เกณฑ์เสี่ยงทุกครั้งที่มาฝากครรภ์

2. ตรวจฟัน/ให้การรักษา/ทันตสุขศึกษาและออกสมุดฝากครรภ์

3. ให้คำปรึกษาก่อนการเจาะเลือดและให้สุขศึกษาตามไตรมาสโดยมีสามีหรือญาติเข้าร่วมรับฟังด้วย

4. ตรวจปัสสาวะหา Albumin , Sugar ทุกครั้งที่ฝากครรภ์

5. ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต

6. ตรวจร่างกาย ตรวจครรภ์ ตรวจเต้านม

7. เจาะเลือดส่งตรวจ HIV VDRL HBsAg CBC Blood Group (Lab I) และ HIV VDRL Hct (LabII)

8. ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก จ่ายยาวิตามินเสริมธาตุเหล็กและเกลือเสริมไอโอดีน

9. ส่งพบแพทย์ตามโครงการเมื่อผลเลือด lab/พบแพทย์เมื่อพบภาวะเสี่ยง

จุดสำคัญ 3 จุด

1. จุดตาย ข้อห้ามเด็ดขาดและพลาดไม่ได้

- มีการประเมินหญิงตั้งครรภ์โดยใช้เกณฑ์เสี่ยงทุกครั้ง เมื่อพบหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงให้รีบให้การพยาบาลแล้วส่งพบแพทย์ทันที

2. จุดควรระวังและมีการพลาดบ่อย

- มีการรับฝากครรภ์ในหญิงที่มีการตั้งครรภ์จริง ๆ

- ผลการตรวจ Blood Group ในครรภ์ก่อนและปัจจุบันต้องตรงกัน

3. จุดเทคนิคและจุดสร้างคุณภาพ

- มีการทดสอบการตั้งครรภ์ในหญิงที่มีผลการทดสอบการตั้งครรภ์เป็น Positive

- กรณีที่ผล Blood Group ไม่ตรงกันให้ยืนยันผลเลือดที่ห้อง Lab

มีWIเฉพาะโรคหรือไม่คะ อยากได้GDM / PIHเป็นต้นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท