โลกียปัญญากับโลกตรปัญญา


ในบันทึกที่ผ่านมา  คุณ"นายขำ" ได้ถามผมถึงมโนทัศน์สองมโนทัศน์  คือ "ปัญญาทางโลก" กับ"โลกุตระ" วันนี้ผมอยากจะบันทึกถึงเรื่องนี้ เพราะเกี่ยวข้องกับเรื่องของสามโลกของมนุษย์ด้วย  แต่จะปรับปรุงคำเป็นว่า "โลกียปัญญา"กับ"โลกุตระปัญญา"

โลกียปัญญา หมายถึงความคิดที่รับใช้ความต้องการทางกายและทางอารมณ์ เช่นนักวิทยาศาสตร์คิดสร้างเครื่องมือปล้นธนาคารเพื่อเอาเงินมาแลกผลประโยชน์ที่ตนเองยังไม่ได้ครอบครอง ซึ่งอาจจะเป็นปราสาทหรูๆ รถยนต์ราคาแพงที่สุดในโลก สาวงามระดับจักรวาล จนกระทั่งซื้อตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นต้น ปัญญาที่ใช้เพื่อการเหล่านี้  ล้วนแต่จัดเป็นปัญญาที่รับใช้ความต้องการทางกายและหรืออารมณ์ทั้งสิ้น หรือคือโลกียปัญญา 

อีกความหมายหนึ่ง เป็นความคิดที่เกิดจากการกระตุ้นของสิ่งเร้าในโลกจริงผ่านระบบประสาทสัมผัสทางกาย

โลกุตรปัญญา  หมายถึงความคิดที่เกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยประสาทรับสัมผัสรับสัมผัสจากสิ่งเร้าในโลกจริงรอบกาย เกิดขึ้นเหนือวิสัยจากการับสัมผัส ปราศจากการรับใช้ความต้องการทางกายและหรืออารมณ์ เช่น การคิดหาความหมายของทศนิยม  หาความหมายของความเป็นศูนย์ ความหมายของความว่างเปล่า ความหมายของอสงขัย  ความหมายของความเป็นหน่วยเดี่ยว  ความหมายของความเป็นนิรันดร  ความหมายของความหลุดพ้น  คิคหาความหมายของสภาวะดับสูญ  หรือสภาวะของนิพพาน เป็นต้น การคิดเหล่านี้อยู่เลยวิสัยของการรับสัมผัสในระดับโลกียะ หรือระดับโลก  หรือระดับวัตถุที่ต้องอาศัยประสาทรับสัมผัส

เมื่อพิจารณาร่วมกับโค้งปรกติที่ได้เคยตอบคำถามพระคุณเจ้าที่ยท้ายบันทึกที่ผ่านมา  ผมพยากรณ์ว่า กลุ่ม 84% มีความน่าจะเป็นสูงที่จะอยู่ในฝ่ายโลกียวิสัย หรือโลกของกายและหรืออารมณ์  อีกราว 16% จะมีความน่าจะเป็นลดลงที่จะอยู่ในโลกของกายและหรืออารมณ์หรือโลกียวิสัย

ถ้าเราเอา  0.84 x 63 ล้านคน ก็จะได้ราว  53 ล้านคน ! ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงจากกลุ่ม โลกียะปัญญานี้ก็จะไปเลือกผู้แทน  ผู้แทนของพวก 53 ล้านคน ก็จะไปเป็นรัฐมนตรี  ไปเป็นนายก ไปจูงประเทศให้เจริญก้าวหน้า !!

ถ้าเราเอา 0.16 x 63 ล้านคน = ราว 10 ล้านคน พวกนี้เสียงน้อย  ไม่มีทางได้เป็นผู้แทน (อาจจะมีบ้างเพราะมีเงือ่นไขอื่นอำนวย) ไม่มีทางได้จูงประเทศในระบบเลือกตั้ง

นี่คือก้นบึ้งของปัญหาของสังคมมนุษย์  ทั่วโลกแหละครับ

คราวนี้ท่านคงจะได้เกิดความเข้าใจมากขึ้นว่า  เหตุใดข่าวทีวี  หรือหนังสือพิมพ์ในแต่ละวันจึงเต็มไปด้วยเรื่องของปัญหาที่เกิดจาก "บทบาท"ของโลกทางกายและหรืออารมณ์ที่มีปัญญาเป็นผู้รับใช้ มากว่าที่จะเกิดจาก "บทบาท"ของโลกทางปัญญาที่แท้จริง

ทฤษฎีสามโลกของมนุษย์  ทำให้มองเห็นอะไรๆได้หลายอย่างนะครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 238943เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2009 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อาจารย์ครับ...รุ่นน้องที่ทำงานผมเขาอธิบายให้ผมฟังว่า...2500 ปีหลังพุทธกาล...ผู้ที่เข้าถึงธรรมจะอยู่นอกวัดมากกว่าในวัด...ปัจจุบันมีพระอยู่กว่า 300,000 องค์  นอกวัดน่าจะอยู่ที่ 600,000 คน ตีเอาซะว่าผู้ที่มีโลกุตรปัญญา อยู่ที่ประมาณ 1,000,000 ซึ่งเขาก็ไม่หวังจะไปยุ่งเกี่ยวกับ ลาภ ยศ สรรเสริญ...เลยไม่ไปแข่งขันช่วงชิงเป็นตัวแทน แลไม่เป็นข่าวตามสื่อด้วยครับ...555

 

ด้วยความเคารพ

ถ้าส่วนใหญ่(๘๐%เศษ)เป็นกลุ่มนอกจากที่คุณว่า แล้วโลกเราก็เป็นโลกแห่งโลกียวิสัย

และถ้าโค้งปรกติยังคงเป็นเช่นนั้นอยูจนชั่วนิรันดรแล้ว โลกแห่งโลกียวิสัยก็จะยังคงเป็นเช่นนี้อยู่จนชั่วนิรันดรเช่นกัน

จักรวาลก็คงเป็นเช่นนี้

แกเล็กซี่ใดๆก็คงเป็นเช่นนี้

อนิจจังวัฏสังขารา

อนิจจา

นี่แหละครับ คุณ"นายขำ"ครับ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

พุทธองค์ท่านก็ทรงหยั่งเห็นเช่นนั้น...จึงทรงทำนายถึงวาระสิ้นพุทธกาลไว้ล่วงหน้าแล้ว...

แม้ท่านจะทรงมีพระเมตตาต่อเหล่าเวไนยสัตว์ทั้งหลาย...โดยชี้ทางเอก สติปัฏฐาน4 มุ่งสู่นิพพานไว้แล้ว... ก็ยังเห็นว่า โลกุตรปัญญา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากในเหล่าปุถุชน...

 

ตถตา...เป็นเช่นนั้นเองครับ...

เนื่องจากเหตุผลในการสนทนาของเราเกี่ยวกับเรื่องนี้ ตั้งอยู่บนฐานของความรู้เกี่ยวกับโค้งปรกติ

และพวก ๘๔%โดยประมาณเป็นพวกที่มีความเสี่ยงสูงที่จะอยู่ในโลกีวิสัย จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเดินหลงทางในขณะที่หนีทุกข์ไปสู่สุขในชีวิตประจำวัน

ในเมื่อโค้งปรกติมีความเป็นนิรันดรดังที่กล่าวข้างบน

ดังนั้น ความเสี่ยงดังกล่าวของพวกนั้นจึงมีความเป็นนิรันดรด้วย

และดังนั้น ความต้องการชี้นำทางศาสนาของพวกนั้น จึงมีความเป็นิรันดรเช่นกัน

ดังนั้น ศาสนาจึงมีความเป็นไปได้ที่จะคงอยู่ชั่วนิรันดร

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

หนูอยากรู้ว่า โลกียปัญญากับโลกุตรปัญญา เนี่ย ถ้าทั้งสองอย่างนี้มีอยู่ในปุถุชนทั่วไปแล้ว มันจะเป็นยังไง ดีหรือไม่ดี ถ้ามีทั้ง2อย่าง บางทีหนูยังไม่ค่อยเข้าใจในคำว่า "โลกียปัญญา" กับ "โลกุตรปัญญา" อธิบายแบบสั้นๆ แต่ได้ใจความให้หน่อยได้มั้ยคะ

พอดีว่าหนูเป็นคนที่เข้าใจอะไรยากนิดหน่อยค่ะ ยังไงก็อย่าว่าหนูเลยนะ ตอบต้วยนะคะ

โอ๋

เห็นอาจารย์ไม่ตอบน้องนาน...ขออนุญาตให้ความเห็นนะครับ...

คำว่าปัญญา...ที่จริงเกิดขึ้นและใช้มาจากศาสนาพุทธ(ศาสนาแห่งการรู้) ปัญญาจึงหมายความถึงความสามารถในการรู้แจ้ง...

ต่อมาเมื่อคนเกิดมา(ด้วยอวิชชา...ความไม่รู้) ก็ไม่เข้าใจความหมายเดิมของคำว่าปัญญา...

โดยมาเข้าใจว่า ความฉลาดทางโลก(ความคิดที่เหนือกว่า)คือปัญญา

ปัญญาทางโลก(โลกียปัญญา) จึงคล้ายกับว่าอยู่คนละฟากกับโลกุตรปัญญา(ปัญญาเหนือโลก)

ปัญญาทางโลก= ความฉลาดที่จะแสวงหา ยึดมั่นถือมั่นเอามาเป็นของตน

โลกุตรปัญญา = ความฉลาดที่จะละทิ้งตัวตนเพื่อมุ่งสู่หนทางพ้นทุกข์อย่างแท้จริง

สวัสดี คุณโอ๋

(๑) ขอบคุณคุณ นายขำ ครับที่ช่วยตอบให้แล้วส่วนหนึ่ง และขอให้คุณโอ๋อ่านบทความข้างบนซ้ำอีกครั้งนะครับ คำตอบมันอยู่ที่นั่นแล้ว

(๒) ที่ถามว่า ถ้าคนธรรมดาจะมีปัญญาทั้งสองอย่างแล้วจะเป็นไรไป และดีหรือไม่ แรกเกิด ทุกคนมีโลกุตรปัญญา(ปัญญาบริสุทธิ์) + อารมณ์(อ่อนๆ) และจัดเข้าเป็นฝ่ายโลกุตรปัญญา ต่อมาฝ่ายอารมณ์อาจจะพัฒนามากขึ้นๆเนื่องจากตัวแปรภายนอก เช่น ได้รับความรักจากพ่อแม่ไม่เท่ากันทำให้เกิดความริษยากันในระหว่างพี่น้อง กลายเป็นคนก้าวร้าว เหี้ยมโหดในต่อมา เมื่อถึงระดับหนึ่ง ปัญญาที่มีจะรับใช้อารมณ์(โลกียปัญญา) โดยวางแผนทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนี้ ปัญญานั้นก็กลายเป็นโลกียปัญญาไปทันที ถ้ายิ่งความฉลาดนั้นปราชญ์เปรื่องเท่าไร แผนการร้ายนั้นก็แยบยลมากขึ้น สามารถวางแผนเผาผลาญสิ่งที่สวยๆงามๆได้ อย่างใจเย็น เป็นต้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท