รายงานสด อบรมสื่อดิจิตอล ณ สำนักวิทยบริการ มมส.


รายงานสด อบรมสื่อดิจิตอล ณ สำนักวิทยบริการ มมส.

http://www.ona4.com/intermedia/

9.05  น.  อ.เฉลิมศักดิ์  ชุปวา รองผอ.สำนักวิทยบริการ กล่าวเปิด

20090129110249 

9.20  น.  คุณอารยะ  เสนาคุณ  บรรยายแนะนำ

     -  FAQ  ปัญหาที่มักถาม

     - ที่มาของโปรแกรม  1.ปัญหาการบริการสื่อ?  2.โปรแกรมที่ซื้อมาไม่สนอง  3.เดินสู่นโยบายที่สวยหรู

     - การเริ่มดำเนินการ  1.ระดมความคิด  2.ทำฝันให้เป็นจริง

     - ก้าวต่อมา = หาเจ้าภาพ,  ใครช่วยคิด,  ซอฟแวร์,  ฮาร์ดแวร์,  โปรแกรมเมอร์

     - บทพิสูจน์ คือ ผู้ใช้ตอบรับอย่างดีและลดภาระการบริการ แต่มีปัญหาเรื่อง เครือข่าย ลิขสิทธิ์ เครื่องลูกข่าย เครื่องแม่ข่าย

     - ความพึงพอใจผู้ใช้ – ระดับมาก

     - ปัญหาที่ต้องจัดการ – ความกว้างของถนนเครือข่าย

     - บทเผยแพร่ – ลปรร./ต่อยอด/ใช้ทรัยกรร่วมกัน/อยู่อย่างพอเพียง

     - บทส่งท้าย – ผู้บริหารเห็นด้วยกับโปรแกรมนี้ และเห็นชอบให้ใช้ใน มมส. พร้อมทั้งให้ความรู้แก่หน่วยงานภายใน

     - คำถามสำหรับผู้เข้าร่วม (BAR) 1.ท่านจะได้อะไรบ้าง 2.วันพรุ่งนี้ท่านต้องทำอะไรบ้าง

20090129104808

 

9.40  น.  คุณนิเวส  ศรีธัญรัตน์ (ผู้พัฒนาโปรแกรม)

     - แนะนำหน้าต่าง โดยเฉพาะการดูภาพ ของโปรแกรมเบื้องต้น 

20090129110519


ทบทวนตัวเอง

ผมว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาจากงานวิทยานิพนธ์ ของบุคลากร สำนักวิทยบริการ ขณะไปเรียน และจบมาเอามาต่อยอดลองใช้ภายในสำนักฯ และขยายผลสู่หน่วยงานภายใน มมส. เป็นการเพิ่มมูลค่ามากมาย

และผมคิดว่าถ้าหน่วยงานภายใน มมส. นำไปใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะการเก็บรวบรวมข้อมูลตัวบ่งชี้ ของการประกันคุณภาพ

แต่สิ่งที่ผู้พัฒนาอาจต้องพัฒนาต่อคือ

  1. ระบบนี้เป็นแบบสื่อสารข่าว กิจกรรม แบบทางเดียว ผู้อ่านไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือ โต้ตอบกับเนื้อหา หรือ ผู้บันทึก ดังนั้นควรพัฒนาต่อ เพื่อการต่อยอด ขยายผลความรู้ที่บันทึกลง
  2. ยังไม่มีสถิติจำนวนผู้อ่าน

ข้อเด่น

  1. สามารถอัพโหลดไฟล์ภาพ เสียง วิดีโอ ได้จำนวนมาก แต่ขอนี้ควรระวังเรื่องลิขสิทธิ์
  2. ข้อมูลข่าวสารกิจกรรม รวมอยู่กันเป็นหมวดหมู่ เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย

ขอบคุณบุคลากรสำนักวิทยบริการ ที่นำอะไรดีๆมาเผยแพร่ และให้ใช้ใน มมส. ครับ อ.เฉลิมศักดิ์ พี่ตรู่ พี่โจ

หมายเลขบันทึก: 238339เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2009 12:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

เรียน ท่านกัมปนาท JJ ฟังท่านไร้กรอบ พูด ถึง GenM ครับ

...ก่อนอื่นผมขอชื่นชมการทำงานของทีมงานจากสำนักวิทยบริการ สำหรับเรื่องนี้ครับ นับเป็นก้าวแรกและเป็นก้าวที่สำคัญของการพัฒนาคลังระบบสื่อดิจิตอล (Digital Repository) ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ครับ

...เรื่องโครงสร้างหลักของระบบ คิดว่าใช้ได้พอสมควรครับ ..แต่สิ่งที่ควรพัฒนาเพิ่มเติมนั้นผมคิดว่า หากใช้เทคโนโลยีที่ทำให้ผู้ใช้งาน (End User) ได้ประโยชน์มากกว่านี้ อาจต้องดู Trend ของเทคโนโลยี เช่น web 2.0 ซึ่งเอื้อต่อการนำไปใช้ประโยชน์ การแบ่งปันทรัพยากรสื่อดิจิตอลร่วมกัน ฯลฯ

...เรื่องมันยาวครับ

ขอบคุณน้อง "กัมปนาท" ที่กรุณานำมาเล่าต่อทาง Blog อีกทีนึงครับ

...ก่อนอื่นผมขอชื่นชมการทำงานของทีมงานจากสำนักวิทยบริการ สำหรับเรื่องนี้ครับ นับเป็นก้าวแรกและเป็นก้าวที่สำคัญของการพัฒนาคลังระบบสื่อดิจิตอล (Digital Repository) ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ครับ

...เรื่องโครงสร้างหลักของระบบ คิดว่าใช้ได้พอสมควรครับ ..แต่สิ่งที่ควรพัฒนาเพิ่มเติมนั้นผมคิดว่า หากใช้เทคโนโลยีที่ทำให้ผู้ใช้งาน (End User) ได้ประโยชน์มากกว่านี้ อาจต้องดู Trend ของเทคโนโลยี เช่น web 2.0 ซึ่งเอื้อต่อการนำไปใช้ประโยชน์ การแบ่งปันทรัพยากรสื่อดิจิตอลร่วมกัน ฯลฯ

...เรื่องมันยาวครับ

ขอบคุณน้อง "กัมปนาท" ที่กรุณานำมาเล่าต่อทาง Blog อีกทีนึงครับ

เป็นโปรแกรมนี้ดีครับ สนับสนุนการทำงานร่วมกัน

เป็นโปรแกรมนี้ดีครับ สนับสนุนการทำงานร่วมกัน

คักหลาย แจ๊ค ดุหมั่นคือเจ้า

มหาวิทยาลัยไปโลด อีหลี

เพราะแรงขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย

อยู่กับพวกเฮาคนรุ่นนี้

ผู้ได มาเป็น นายกสภา อธิการบดี

ก็บ่น่าสนใจ เป็นเทวดา อยู่ไส กะบ่ป่อง

คั่นบ่ฮู้ว่า จิตอาสา คือหยัง

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นจั่งใด

สรุป เอาคนใน เข้าใจ คนใน ดีกว่า

อย่าให้ นก กระสา มาจับกิน หอย กินปู

คือพวกเฮาเลย น้อน้องหล่า

เรียน ท่านอาจารย์จิตเจริญ

ขอบคุณที่ต่อสายโทรศัพท์ได้คุยกับท่านอาจารย์วรภัทร์ ผู้ยิ่งใหญ่ ครับ

ท่านบอกว่าจะฝากหนังสือ GenM ให้ผมไว้กับอาจารย์นะครับ

สวัสดีครับพี่วิชิต สายน้ำแห่งความคิด

จะส่งข่าวต่อไป ให้ทีมสำนักวิทยบริการครับ พี่ตรู่ พี่โจ้ และทีมพัฒนา

สวัสดีครับ4. ว่าที่ร้อยตรี ธนดล ภูสีฤทธิ์

ตอนกลางวันเจอกันแต่ไม่ได้คุยกัน

ขอบคุณที่แวะเข้ามาเสริมความเห็นด้วยครับ

โปรแกรมนี้ ภาษาชาวบ้านอีสาน เรียกว่า กิน หรือ จาว

กิน หมายถึง นำไปใช้ประโยชน์โดยไม่ต้องลงทุน

จาว หมายถึง เฉยๆ ไม่นำไปใช้

เรียน ท่านอาจารย์วรรณศักดิ์พิจิตร

ขอบพระคุณครับที่แวะเข้ามาเยี่ยมยามกัน

ไผ เป็น ไผ ไผ จะมาบริหาร ก็คงทำหน้าที่เจ้าของในส่วนเล็กๆน้อยๆอย่างนี้ต่อไปครับ

ขอบคุณอีกครั้งครับ

  • ขอแสดงความยินดีกับ สำนักวิทยบริการครับ และเห็นด้วยกับความคิดเห็นทั้งของ ท่านแจ๊ค และ ท่านสายน้ำ
  • โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาจากงานวิทยานิพนธ์ ของบุคลากร สำนักวิทยบริการ ขณะไปเรียน และจบมาเอามาต่อยอดลองใช้ภายในสำนักฯ และขยายผลสู่หน่วยงานภายใน มมส. เป็นการเพิ่มมูลค่ามากมาย
  • เรื่องโครงสร้างหลักของระบบ คิดว่าใช้ได้พอสมควรครับ ..แต่สิ่งที่ควรพัฒนาเพิ่มเติมนั้นผมคิดว่า หากใช้เทคโนโลยีที่ทำให้ผู้ใช้งาน (End User) ได้ประโยชน์มากกว่านี้ อาจต้องดู Trend ของเทคโนโลยี เช่น web 2.0 ซึ่งเอื้อต่อการนำไปใช้ประโยชน์ การแบ่งปันทรัพยากรสื่อดิจิตอลร่วมกัน ฯลฯ
  • ลองพิจารณา เว็บไซต์ให้บริการสร้างเว็บศูนย์รวม เปิดตัว! Portal.in.th ข้างบนดูนะครับ

เรียน ท่านอาจารย์อรรณพ

ขอบพระคุณครับ ที่ช่วยแนะนำอีกช่องทาง คือ Portal.in.th 

  • Portal.in.th ก็เป็นอีกคำตอบที่น่าสนใจ ผมทดลองใช้บ้างแล้ว หากนำมาปรับใช้ก็นับว่าเป็นอีกระบบทีดีเช่นเดียวกับบริการอื่นๆ ของ UsableLab ครับ
  • ประเด็นสำคัญอีกอย่าง ...เหนือสิ่งอื่นใด คือ จะใช้อะไรก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญอะไร "จะใช้แมวสีอะไรก็ได้ ขอให้จับหนูได้ก็พอ"  ...อยู่ที่ว่าประชาคมจะช่วยกันจับหรือไม่ อย่างไร เท่านั้นเอง ครับ.

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท