เล่าเรื่อง สถาบันการเงินชุมชนตำบล # 4


ในแง่ความยั่งยืนของสถาบัน?(ต่อ)

3. การบริหารจัดการ

                การจัดสรรกำไรสุทธิ ยกตัวอย่างของควนกรด

รายละเอียด

ร้อยละ

ปันผลสมาชิก

50

กองทุนสวัสดิการสมาชิก

20

เงินสำรอง

15

ค่าตอบแทนกรรมการรายปี

5

เฉลี่ยคืนตามสัดส่วนการทำธุรกิจ

5

เงินสะสมเพื่อรับซื้อคืนหุ้น

5

รวม

100

 

4. เงินกู้

                ควนกรด

                1. เงื่อนไขการกู้เงินกำหนดให้ผู้กู้ต้องเป็นสมาชิกถือหุ้นของสถาบัน วงเงินกู้มีดังนี้

                ถือหุ้นอย่างน้อย 1,000 บาท              กู้ได้ไม่เกิน            10,000 บาท          ผู้ค้ำประกัน 1 คน

                ถือหุ้น                    2,000 บาท             กู้ได้ไม่เกิน            20,000 บาท          ผู้ค้ำประกัน 2 คน

                ถือหุ้น                    3,000 บาท             กู้ได้ไม่เกิน            30,000 บาท          ผู้ค้ำประกัน 3 คน

                2. เงื่อนไขการชำระคืนเงินกู้ มีการพิจารณาเงื่อนไขการชำระคืนเป็นราย โดยสมาชิกเสนอและคณะกรรมการพิจารณาตามความเหมาะสมถึงระยะเวลา จำนวนเงินต่อครั้ง

 

                บ่อนนท์

1. เงื่อนไขการพิจารณาเงินกู้  ที่ผ่านมาให้กู้เพื่อการประกอบอาชีพ เช่น เลี้ยงไก่ เลี้ยงกบ ค้าขาย ก่อนการอนุมัติเงินกู้ต้องลงไปติดตามสถานที่ในการประกอบอาชีพนั้น ๆ เพื่อยืนยันความจริง

                2. ที่ผ่านมามีการอนุมัติวงเงินกู้รายละ 20,000 บาท เงื่อนไขการชำระคืนตั้งแต่ 6 เดือนถึง 1 ปี ขึ้นกับการตกลงระหว่างสมาชิกกับคณะกรรมการ

 

ผู้มีสิทธิในการใช้อำนาจธรรมาภิบาลในตำบลคือใคร? เข้ามามีบทบาทกับสถาบันฯหรือไม่? อย่างไร? หน่วยงานอื่นๆ ที่มีบทบาทคือใคร สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

                ควนกรด

                1. อบต. สนับสนุนงบประมาณสร้างอาคาร รับผิดชอบค่าน้ำ-ไฟฟ้ารายเดือน

                2. ธกส. สนับสนุนเงินกู้แก่สถาบันฯ ช่วยพูดคุยกับลูกหนี้ของสถาบันการเงินฯเพื่อกระตุ้นเรื่องการชำระหนี้แก่ลูกหนี้ที่ค้างชำระ

                3. พอช. สนับสนุนงบประมาณแก่กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลควนกรด เมื่อปี 2549 โดย ต.ควนกรดได้รับเลือกเป็นพื้นที่นำร่องการจัดสวัสดิการตำบล ได้รับงบประมาณจำนวน 100,000 บาท

                4. สสส. ให้การสนับสนุนงบประมาณ 100,000 บาท จัดทำโครงการ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนตำบลควนกรดระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่ กรกฎาคม 2551 กันยายน 2552

 

                บ่อนนท์

                1.อบต.สนับสนุนศูนย์กระบวนการเรียนรู้(ที่ทำการปัจจุบัน) งบประมาณ 858,000 บาท

2.ธ.ออมสิน ให้เงินกู้ 1 ล้านบาท

 

เป้าหมายของสถาบัน

                ควนกรด

                1. เป็นสถาบันการเงินที่ช่วยแก้ไขปัญหาหนี้ซ้ำซ้อนของ สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน

                2. ขยายจำนวนสมาชิกเพื่อการระดมทุนที่เพิ่มขึ้น

 

บ่อนนท์

พัฒนาให้เกิดสถาบันการเงินชุมชนตำบล ทุกตำบลในอำเภอท่าศาลา

หมายเลขบันทึก: 238287เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2009 09:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 13:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท