เล่าเรื่อง สถาบันการเงินชุมชนตำบล # 1


ในภาพของ สถาบันการเงินตำบล หากจะมองในความหมายของการเป็นสถาบันที่ ดูแล (ใส่ใจ แบ่งปัน เป็นที่พึ่ง ยุติธรรม)ทุกคนในตำบล ควรมีอะไรที่(ผู้ศึกษา)ต้องรู้จึงจะทำให้เห็นภาพในความหมายที่ว่า วันนี้กลุ่มแบบนี้ทำงานอย่างไร และผลเป็นอย่างไรบ้าง จะลองเล่าให้ฟังเท่าที่ทราบข้อมูลมาชุดหนึ่งจากการลงพื้นที่ทำความรู้จักกลุ่มเป็นครั้งแรกใน 2 ตำบลของจังหวัดนครศรีธรรมราช คือ สถาบันการเงินชุมชนตำบลควนกรด และ สถาบันการเงินชุมชนบ้านบ่อนนท์(ต.ท่าศาลา)  อ่านรายละเอียดตำบลได้ที่ blog ของแหม่ม นะคะ

                สิ่งที่คิดและเห็นว่าในความหมายที่ต้องดูแล เอาใจใส่ แบ่งปัน และเป็นที่พึ่งของทุกคนในตำบล ทำให้นึกไปถึงความต่างที่สถาบันการเงินตำบลควรมีที่ต่างออกไปจาก ธนาคารรัฐ หรือธนาคารเอกชนทั่วๆไป และประการต่อมาคือใครในตำบลควรมีบทบาท และที่มีบทบาทอยู่ในการร่วมรับผิดชอบดูแลสถาบันและประชาชนทุกคนในตำบล

                จึงลองตั้งคำถามและตอบเท่าที่มีข้อมูลในตอนนี้ดังนี้

กลุ่มก่อเกิดมาจากแนวคิดอะไร?

                ควนกรด

                ในปี พ.ศ.2543 มีการจัดทำแผนชุมชนตำบลควนกรด คณะแกนนำชุมชนไปศึกษางานธนาคารหมู่บ้าน อ.กุดชุม จ.ยโสธร จึงมีการจัดตั้งธนาคารชุมชนทั้ง 12 หมู่บ้านในตำบลควนกรดแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2544  กรรมการของทุกธนาคารประชุมร่วมกันทุกเดือนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานระหว่างกัน ในที่สุดกลายเป็นการเชื่อมโยงเป็น เครือข่ายธนาคารหมู่บ้านรักษ์ชุมชนคนควนกรด ในปีพ.ศ.2544 ทำให้การบริหารงานของแต่ละธนาคารเข้มข้นมากขึ้นจนมีสมาชิกเพิ่มขึ้น มีเงินออมมากขึ้น มีกำไรปันผลคืนสมาชิกและจัดสวัสดิการช่วยเหลือชุมชนตามความเหมาะสมของธนาคาร จนเกิดการยอมรับจากประชาชนและกลุ่มต่างๆ ในตำบล จึงมีความคิดจัดตั้งเป็นสถาบันการเงินชุมชนตำบลควนกรด มีการทำประชาพิจารณ์ทุกหมู่บ้านโดยเจ้าหน้าที่จาก ธกส.เป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ ร่วมประชุม ในที่สุดผลการประชาพิจารณ์มีผู้เห็นด้วยถึงร้อยละ 99.59 จึงจัดตั้งเป็น สถาบันการเงินชุมชนตำบลควนกรด ในวันที่ 9 กันยายน 2548 มีผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้น นายวิชม  ทองสงค์ เป็นประธานในพิธี

 

บ่อนนท์

ในปีพ.ศ.2544 มีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านบ้านบ่อนนท์ตามนโยบายรัฐบาล โดยคุณวิรวิศร์(วชิรา) สามารถ ดำรงตำแหน่งประธานตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งปัจจุบัน ปีพ.ศ.2546 เกิดเป็นศูนย์กระบวนการเรียนรู้กองทุนหมู่บ้านอำเภอท่าศาลา ปีพ.ศ.2547 กองทุนหมู่บ้านบ้านบ่อนนท์ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดกองทุนหมู่บ้านระดับอำเภอ และเป็นที่ทำการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านอำเภอท่าศาลา ในปีนี้เองกองทุนหมู่บ้านบ้านบ่อนนท์นำกำไรจำนวน 120,000 บาท รวมกับเงินสัจจะและหุ้นสมาชิก จำนวน 70,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 190,000 ซื้อที่ดินเป็นของกองทุนหมู่บ้านฯ จากนั้นในปีพ.ศ.2548 อบต.ท่าศาลา สนับสนุนงบประมาณ จำนวน 858,000 บาท สร้างอาคารศูนย์กระบวนการเรียนรู้บนที่ดินแปลงนี้ เปิดให้มีการใช้ประโยชน์จากกลุ่มต่างๆ มีกลุ่มที่เข้ามาใช้ประโยชน์อย่างสม่ำเสมอคือ กองทุนหมู่บ้านบ้านบ่อนนท์ สถาบันการเงินชุมชนบ้านบ่อนนท์ ศูนย์กระบวนการเรียนรู้กองทุนหมู่บ้านอำเภอท่าศาลา เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านอำเภอท่าศาลา เครือข่ายสตรีตำบลท่าศาลา กลุ่มเลี้ยงเป็ดไข่บ้านบ่อนนท์ และเป็นที่ประชุมของกลุ่ม/องค์กร/หน่วยงานต่างๆ

สถาบันการเงินชุมชนบ่อนนท์จึงดูแลกองทุนหมู่บ้านในเครือข่ายอำเภอท่าศาลา ในขณะนี้มีกองทุนหมู่บ้านที่ยกระดับมาเป็นสถาบันการ จำนวน 3 แห่งคือ สถาบันการเงินชุมชนบ้านบ่อนนท์ สถาบันการเงินชุมชนตำบลโมคลาน สถาบันการเงินบ้านทุ่งหว้า

 

สถาบันดูแลสมาชิกทั่วถึงแค่ไหน? อัตราส่วนคนจน คนรวย?

 

ประชากร

สมาชิกถือหุ้น

สมาชิกฝาก

รวมสมาชิก

ร้อยละของสมาชิกต่อประชากร

 

 

จน

รวย

จน

รวย

 

 

ควนกรด

9,147

444

ไม่มีข้อมูลสมาชิก จน รวย

108

ไม่มีข้อมูลสมาชิก จน รวย

552

6.03

บ่อนนท์

28,700

-

-

2,600

9.06

               

                ยังไม่มีข้อมูลสมาชิก ยังไม่รู้ว่ากลุ่มแบ่งคำว่า จน รวย อย่างไร ใช้เกณฑ์อะไร ทำให้ยังไม่เห็นถึงสัดส่วนการเข้าถึง คนจน ยังไม่สามารถพูดได้ว่ามีการ ดูแล เกิดขึ้นจริงหรือไม่

 

ตอบสนองความต้องการสมาชิกหรือยัง? แท้จริงแล้วสมาชิกต้องการบริการอะไรอีกบ้าง?

ข้อมูลจากคำถามนี้ตอนนี้มีเพียงข้อมูลที่บอกว่ากลุ่ม

                ควนกรด

                1. ธนาคารเปิดทำการทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.00 น. ให้บริการฝาก-ถอน สำหรับทุกวันจันทร์มีเจ้าหน้าที่จาก ธกส.เข้ามาทำการในกิจของธนาคารที่ต้องติดต่อกับลูกค้าในตำบลควนกรด รวมทั้งให้คำปรึกษากับสถาบันฯในเรื่องการบริหารต่างๆ

2. กองทุนสวัสดิการตำบล ก่อตั้งเมื่อปี 2549 ได้รับเงินสนับสนุนจาก พอช.จำนวน 100,000 บาท และได้จดทะเบียนเป็น กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลควนกรด ในปีพ.ศ.2551 ให้สิทธิประโยชน์แก่สมาชิกเรื่อง เกิด จ่ายให้เด็ก 200 บาท การเยี่ยมไข้สมาชิก ฌาปนกิจ กิจกรรมสาธารณะประโยชน์ในชุมชน(ตามที่มีการขอสนับสนุน) เช่น ทุนการศึกษา

3. กองทุนสวัสดิการผู้นำ เป็นกองทุนสวัสดิการผู้นำจังหวัดนครศรีธรรมราช ในปี 2551 มีสมาชิกประมาณ 400 คน ซึ่งเป็นผู้นำจากตำบลควนกรดมากถึงประมาณ 200 คน และคณะกรรมการของสถาบันการเงินชุมชนตำบลควนกรดดำรงตำแหน่งเป็นประธานกองทุนสวัสดิการผู้นำฯในขณะนี้ กิจกรรมกองทุนกำหนดให้สมาชิกจ่ายเงินคนละ 400 บาท/ปี มีการให้สิทธิประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลคืนละ 200 บาท ไม่เกิน 10 คืน/ปี  

 

                ในทำนองเดียวกันกับ บ่อนนท์ คือ

3.1 ธนาคารเปิดทำการทุกวันจันทร์-เสาร์ เวลา 09.30-15.30 น. ให้บริการฝาก-ถอน และการกู้เงิน สามารถเขียนคำขอกู้ยื่นได้ทุกวันทำการ โดยคณะกรรมการพิจารณาทุกวันที่ 4 และนัดทำสัญญาเงินกู้ทุกวันที่ 6 ของเดือน กองทุนสวัสดิการ(ฌาปนกิจ) จ่ายให้สมาชิกกรณีเสียชีวิตจำนวนเงินตั้งแต่ 1,000 - 4,000 บาท ขึ้นกับอายุสมาชิก จำนวนปีที่ฝาก และจำนวนเงินฝาก   

                3.2 สถาบันทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนากองทุนหมู่บ้านในอำเภอท่าศาลา อบรมบัญชี แนะนำการบริหารจัดการ

 

หมายเลขบันทึก: 238281เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2009 08:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 11:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ

น้องรัช สวัสดีค่ะ... long time no chat..

ตามมาอ่านเอาเรื่องค่ะ..

เป็นกลุ่มในพื้นที่(ต.ท่าศาลา)ที่น้องรัชกับคุณภีมเลือกให้ทีมวิจัย (ตั้งชือว่า "ทีมคึกคัก") ด้วยใช่ไหมคะ

วันหลังเล่าเรื่องกลุ่มที่สิชลให้ฟังด้วยนะคะ จะรออ่านค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท