โครงการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นโรงเรียนเมืองร้อยเอ็ด


ผลงานคุณแม่ครับ เอามาเผยแพร่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

โครงการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นโรงเรียนเมืองร้อยเอ็ด

 

 

ชื่อโครงการ                         สืบสานวัฒนธรรมการฝานดอกโน

ประเภทโครงการ                โครงการใหม่

ผู้รับผิดชอบโครงการ         นางแสงจันทร์      ภาคมฤค

                                                ตำแหน่ง  ครูชำนาญการพิเศษ

กลุ่มสาระ                              การงานอาชีพและเทคโนโลยี

สถานศึกษา                          โรงเรียนเมืองร้อยเอ็ด                                        

ระยะเวลา                             พฤศจิกายน   ๒๕๕๐ - มีนาคม  ๒๕๕๑

 

หลักการและเหตุผล

วัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นสิ่งสำคัญที่ควรรักษาและมีการพัฒนาฟื้นฟูอย่างจริงจัง  มาตรา    แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  ๒๕๔๒  ได้มีข้อความตอนหนึ่งไว้ว่า

ในกระบวนการเรียนรู้ต้องปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาไทย

จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดที่อยู่ภาคอีสานตอนกลางมีประเพณีเทศน์มหาชาติ(บุญผะเหวด) เป็นประเพณีที่สำคัญในจังหวัดร้อยเอ็ด  เพราะถือกันว่าเป็นประเพณีบุญที่ยิ่งใหญ่จนเรียกว่าเป็นบุญมหาชาติ  ในบุญผะเหวดนั้นล้วนประกอบไปด้วยความงามของภูมิปัญญาต่าง ๆ รวมกันหนึ่ง

ในภูมิปัญญาที่อยู่ในงานบุญที่สำคัญคือ การฝานดอกโน(การแกะสลักดอกโน)  ซึ่งนับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

ดอกโน เป็นดอกไม้ที่สลัก(ฝาน)จากไม้โสนหรือไม้มอน  เป็นดอกไม้ที่ใช้เป็นเครื่องบูชาในงานประเพณีเทศน์มหาชาติ(บุญผะเหวด) ซึ่งเป็นดอกไม้ที่ชาวอีสานถือว่าถ้าจัดบุญผะเหวดจะขาดไม่ได้และจะใช้ในงานเดียวเท่านั้น  ดอกโนจึงเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของงานบุญผะเหวดของชาวจังหวัดร้อยเอ็ด

หากแต่การฝานดอกโนนั้นในปัจจุบันจำกัดวงแคบอยู่เพียงคนเฒ่าแก่เท่านั้น  หาได้มีการฝึกหัดเพื่อทำการสืบทอดอย่างจริงจัง  ซึ่งนับวันผู้ที่มีความสามารถในการฝานดอกโนนั้นก็ลดน้อยลง

ด้วยมูลเหตุข้างต้นข้าพเจ้าจึงมีความสนใจที่จะสร้างหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อเป็นการอนุรักษ์การฝานดอกโนโดยจะนำเอาการฝานดอกโนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนรู้กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี  จะมีการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนรู้จัก  เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของดอกโนและมีการฝึกปฏิบัติการฝานดอกโนจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่เชิญมาเป็นวิทยากรท้องถิ่น  นอกจากนี้ยังจะมีการพัฒนาดอกโนที่เดิมใช้เป็นเครื่องบูชามาเป็นเข็มกลัดติดเสื้อเพื่อจำหน่าย

ให้ผู้ที่สนใจซื้อเพื่อกลัดไปร่วมงานบุญผะเหวด

วัตถุประสงค์ของโครงการ

                . เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรมท้องถิ่นแก่นักเรียน

                ๒. เพื่อสืบสานการฝานดอกโน

                ๓. พัฒนาชิ้นงานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ใช้งานได้มากกว่าเดิม

                ๔. สร้างประสบการณ์การผลิต  จำหน่ายผลิตภัณฑ์

                ๕. เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง สืบสานวัฒนธรรมการฝานดอกโน

บูรณากลุ่มสาระการเรียนรู้     

                ๑. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  คือ  การวัดความยาวของไม้ที่จะฝานดอกโน  การคาดคะเน  การจำหน่าย

                ๒. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  คือ การใช้ภาษาถ่ายทอดสู่ผู้เรียน  ศึกษาคำว่าดอกโน

การเขียน  บันทึกการฝึกปฏิบัติ  

                ๓. กลุ่มสาระสังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  คือ การศึกษาเรื่องประเพณีบุญผะเหวด  หน้าที่ของพุทธศาสนิกชน

                ๔. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  คือ การทาสีดอกโน  การออกแบบการฝานดอกโน 

                ๕. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  คือ การประดิษฐ์หัตถกรรมท้องถิ่นการฝานดอกโน                                                                                                                                                                                                 

ขอบเขตของโครงการ

                โครงการสืบสานวัฒนธรรมการฝานดอกโน  จะทำกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนช่วงชั้นที่ ๒  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔/๖  โรงเรียนเมืองร้อยเอ็ด  อำเภอเมือง  จังหวัดร้อยเอ็ด 

เป้าหมาย

           .  เป้าหมายเชิงปริมาณ

                        นักเรียนในช่วงชั้นที่  ๒ ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๔/๖  จำนวน  ๔๕  คน               โรงเรียนเมืองร้อยเอ็ด 

       .  เป้าหมายเชิงคุณภาพ

                        นักเรียนสามารถฝานดอกโนแล้วนำไปประดิษฐ์เป็นเข็มกลัดและทำการจำหน่าย ได้

วิธีดำเนินงาน

      .  สาระสำคัญของกิจกรรม

                .  เห็นความสำคัญของดอกโน

                .  สามารถฝานดอกโนได้

                .  สามารถนำดอกโนที่ฝานมาประดิษฐ์เป็นเข็มกลัดได้

    .  กิจกรรม/ระยะเวลา

 

 

 

 

พ.ศ. ๒๕๕๐

พ.ศ. ๒๕๕๑

พฤศจิกายน

ธันวาคม

 

มกราคมกุมภาพันธ์

๑.วางแผนจัดทำโครงการ

 

 

.เสนอโครงการ

 

 

๓วางแผนงาน

 

 

.ดำเนินการตามโครงการ

 

 

.ประเมินผลการดำเนินงาน

 

 

 

* หมายเหตุ ในการดำเนินงานนั้นจะทำการจัดกิจกรรมเรียนรู้จำนวน   ชั่วโมง

 

งบประมาณ  

                ๑. กระดาษถ่ายเอกสาร                 รีม

            ๒. เทปกาว                  ๓        ม้วน

 

ผู้รับผิดชอบ

                นางแสงจันทร์    ภาคมฤค

                ตำแหน่ง  ครูชำนาญการพิเศษ   โรงเรียนเมืองร้อยเอ็ด

 

 

การติดตาม และประเมินผล

 

ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ

วิธีการวัด และประเมิน

เครื่องมือที่ใช้

.  นักเรียนสามรถฝานดอกโนได้

.  นักเรียนสามารถนำเอาดอกโนมาประดิษฐ์เป็นเข็มกลัดได้

.  นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อ

การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของตน

. การสังเกต

. การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง

. ประเมินผลงาน

๔. แบบทดสอบ

.  แบบทดสอบ

. แบบสังเกต

๓. แบบประเมิน

 

 

 

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

                .  นักเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของดอกโน

                ๒. นักเรียนมีความสามารถฝานดอกโนได้อย่างน้อยร้อยละ  ๘๐

                . นักเรียนมีความสามารถนำดอกโนมาประดิษฐ์เป็นเข็มกลัดได้อย่างน้อยร้อยละ  ๘๐

                . นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเอง

                ๕. นักเรียนสามารถจำหน่ายผลงานของตนเองได้

 

ชิ้นงานและเอกสารที่ส่งมอบโรงเรียน

                ๑.  ชิ้นงานเข็มกลัดดอกโนผลงานนักเรียนจำนวน ๕๐ อัน

                ๒.  รายงานผลการปฏิบัติโครงการจำนวน   เล่ม

                ๓. แผ่นบันทึกข้อมูล (CD) เอกสารรายงานผลการปฏิบัติโครงการจำนวน   แผ่น

               

 

 

 

                                                  ลงชื่อ..........................................

                                                       ( นางแสงจันทร์     ภาคมฤค )

                                                                ผู้ขออนุมัติโครงการ

 

 

                                                ลงชื่อ............................................ ฝ่ายวิชาการสายชั้น ป.๔

                                                     (.............................................)

                                                                 ผู้เห็นชอบโครงการ

หมายเลขบันทึก: 238225เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2009 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท