ผลงานทางวิชาการของบุคลากรทางการศึกษา


ผลงานทางวิชาการ

เมื่อวานนี้เจอเพื่อนครูคนหนึ่ง .....เธอปรารภถึงการทำผลงานทางวิชาการ.....เหมือนกับอีกหลายๆ คน ที่ปรารภถึงเรื่องนี้ทั้งส่วนตัว และบนเว็บบอร์ด นี่ก็เป็นอีกรายหนึ่ง  เขาปรารภอย่างนี้ครับ

"..........การให้เงินเดือนครูขยายเพดานไปจะได้มีคนทำผลงานลดลง ไปช่วยกันสอนหนังสือ เอาใจใส่เด็ก ๆ มากขึ้น ทุกวันนี้ สงสารโรงเรียน สงสารเด็ก ๆ สงสารครูที่ดี ๆ เตรียมการสอนจนไม่มีเวลาไปทำผลงาน การตรวจผลงานก็ไม่มีมาตรฐาน คนดีที่สุดของโรงเรียน ทำเอง ผลออกมาตก คนที่สอนก็ไม่สอน สอนนักเรียนยังไม่อยากเรียน งานพิเศษก็ไม่ทำ ก้มหน้าทำแต่ผลงาน จ้างก็เยอะ และก็ประสบผลสำเร็จ ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษเต็มโรงเรียน แต่ผลการสอบระดับชาติไม่ถึงร้อยละ 30 ซักวิชา นี่แหละคืออนาคตของชาติไม่รู้ใครจำได้บ้างว่า มีครั้งหนึ่งรัฐบาลประชาธิปัตย์ไม่ขึ้นเงินเดือนครู สงสัยจะต้องเจออีกรอบ ครูมีวินัย ไม่ต่อสู้ ไม่เรียกร้อง ก้มหน้ารับเคราะห์กรรมต่อไป โดยเฉพาะครูมัธยม อยากมีบ้านของตนเองก็ไม่ต่อสู้ให้ถึงที่สุด ไม่ช่วยกันให้เต็มที่ หลายคนอยากออกมาช่วยแต่ไม่เคยได้รู้ความเคลื่อนไหวใด ๆ ผู้แทนแต่ละจังหวัดก็ไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการสื่อสาร สบมท.เองก็ไม่ส่งข่าวให้พี่น้องทราบทำไง กลุ้มใจจัง"

ผมเองก็มีความเป็นกังวลในเรื่องนี้   เพราะมีกรณีตัวอย่างให้เห็น   แม้จะไม่มาก แต่ก็เห็น ได้ยินได้ฟัง ด้วยตนเอง

ครั้งหนึ่ง  เมื่อชวนคุยถึงการพัฒนางานการเรียนการสอน กับ ท่านหนึ่ง  เธอตอบว่า  หนูได้อาจารย์3 แล้วค่ะ

ครั้งหนึ่ง  เจอคนเก่งคอมคนหนึ่ง   หันไปเห็นงานบนเจอคอม  เขาบอกว่า มีคนมาจ้างให้ทำครับ

เมื่อวานนี้ เธอบอกว่า   ปล่อยให้เขาทำไปเถอะค่ะ    ขออยู่กับเด็กๆ   มีความสึขมากที่ได้เห็นพัฒนาการของเขา  ปีนี้นำเด็กมากินนอนที่บ้านติวเข้ามหาวิทยาลัย9คน  ได้ยิน7 ก็ปลื้มแล้วค่ะ

 

เมื่อสักครู่นี้ก็พูดถึงเรื่องนี้กับเพื่อนที่มาเยี่ยม         เดี๋ยวนี้ทำนนวัตกรรมส่ง ง่ายมาก  ได้ไว ไม่เหมือนรุ่นก่อน ต้องทำแผนการสอน ทำกันนานเป็นปี สองปี   แต่ก็ดีอยู่อย่างที่นำมาใช้ได้จริงๆ

 

ผมเปิดประเด็นนี่มาเพื่อชวนคุยกับท่านที่มองทั้งมุมลบ มุมบวก ของการทำผลงานทางวิชาการของบุคลากรทางการศึกษาในปัจจุบัน  เพื่อช่วยกันสร้างแนวคิดแนวทาง

ที่จะทำอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนางานวิชาการ ที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาจริงๆ  ให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์  และส่งประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสำคัญ

 


 


หมายเลขบันทึก: 237152เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2009 14:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เรามีครูเก่งไม่กี่คนที่ทำผลงานผ่าน(ไม่รู้เก่งแบบไหน บางคนเก่งชนิดที่รู้แล้วจะหนาว) แต่ส่วนใหญ่ทำผลงานไม่ผ่าน ก็แสดงว่าครู สพฐ ส่วนใหญ่ไม่เก่ง (แต่ไม่แน่ถ้าวัดกึ๋นกัน พวกนี้อาจเก่งกว่าคนตรวจก็ได้) แล้วจะทำอย่างไรกันดี ประเทศไทยเลยมีครูที่เป็นไม่เก่งสอนเด็กเต็มไปหมด (เจริญแน่ประเทศไทย) แล้วอย่างนี้จะเอาอะไรมาวัดกันละ (คนดูละครเรื่องเดียวกัน บางคนบอกชอบ บางคนบอกไม่ชอบ อยากถามจริง ๆ มาตรฐานอยู่ตรงไหนหรืออยู่ที่ความพอใจ) เกณฑ์การวัดมาตรฐานบ้านเรา ต้องบอกได้คำเดียวว่า สุดยอด !

อยากให้เขาประเมินที่เด็กจังนะคะ..

ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์จริงๆ

ทำเหมือนสมศ.เลย..

ไปคลุกคลีกับเด็กกับชาวบ้านกับเพื่อนครู

จะได้รู้ข้อเท็จจริงของครูที่ขอรับการประเมิน

งานเอกสารให้เหลือน้อยลง

ครูจะได้ไปเน้นผลที่เกิดกับเด็กที่เห็นจริงๆ

รับรองเด็กมีคุณภาพแน่นอน

การศึกษาไทยคงจะไม่มีคำว่าอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้

เพราะครูต้องลุยการสอนสอนและสอนเพื่อวิทยฐานะที่ตนเองต้องการ

ขอบคุณนะคะที่ให้โอกาสระบายบ้าง

ปี่ที่ผ่านทราบว่าผลงานางวิชาการผ่านน้อย เท่าที่ติดตาม  ผ่านประมาณ 1 ใน 4 ของจำนวนที่ส่ง  จากการสดับตรับฟัง ไม่ผ่านเพราะ

1. เนื้อหาผิดพลาด  (แม้ไม่มาก ก็ไม่ผ่าน อาจเป็นเพราะกรรมการคิดว่า   ผิดนิดๆ หน่อยๆ นั้นเป็นผิดมากมายต่อความผิดที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียน  ผลานทางวิชาการจึงต้องผิดด้านเนื้อหาไม่ได้   กรรมการไม่ปราณี
)

2. การใช้หลักวิชาการวิจัย  ผิดพลาด แสดงออกถึง ไม่รู้จริง  ไม่เข้าใจจริง  (กรรมการคงอาจสรุปว่าไปจ้างใครมาทำให้หรือเปล่า...กรรมการจึงไม่ปราณีอีก)

3. นวัตกรรมที่เสนอ  อาจใหม่สำหรับผู้เสนอ  แต่กรรมการคิดว่าโบราณมาก เชื่อไม่ได้ว่าจะแน่จริง  แม้ผลการวิเคราะห์วิจัย จะบอกว่าเยี่ยมแต่ 3 คนพิจารณาแล้ว  เชื่อไม่ได้  ก็ไม่ปราณีอีก

ผมคิดว่าผลงานวืชาการที่น่าจะผ่าน  ก็ได้ก็ต้องป้องกันปัญหาข้างต้น

 

ที่สำคัญที่สุด ต้องทำกับมือ ทำจริงๆ  เห็นกับตาจริงๆ  ว่าเด็กเราพัฒนาขึ้นเพราะฝีมือเรา   เพราะเรามีวธีใหม่มาใช้

วิธีของเราที่มาจากการคิดที่ลึกซึ้ง มีหลักวิชารองรับพิสูจน์ได้ทางกระบวนการทางสถิติ และหลักการทางวิชาการ และความสามารถของนักเรียน ชนิดกล้าท้าพิสูจน์กับนักเรียนจริงๆ

ถ้าแน่ถึงขนาดนี้แล้วไม่ผ่าน ก็ไม่ไม่ผ่านอย่างสมศักดิ์ศรี

ไม่ผ่านก็ส่งใหม่ ถือเสียว่าหน้าทีเราคือส่ง หน้าที่ผู้ตรวจคือให้ผ่าน หรือไม่ผ่าน สักวันต้องผ่าน แน่นอน เว้นเสียแต่ว่าออ่นใจเสียก่อน

สิ่งที่อยากเตือน อย่าไปจ้างใครเขาทำให้เด็ดขาด  เพราะเป็นบาปกรรมจริงๆ  ขอให้เฝ้าสังเกตคนที่จ้างคนอื่นเถอะแล้วจะรู้ว่าบาปเป็นอย่างไร

 

 

 

ตราบใดที่มีผลตอบแทนจากการประเมิน ตราบนั้นก็จะมีคนพยายามสร้าง .....เพื่อให้ผ่านการประเมิน ใครผิด ครูจริงหรือ????

แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย

สงสารครูประถมศึกษาที่สอน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้ง ๆ ที่ชอบวิทยาศาสตร์ แต่พอเห็นเพื่อน ๆ ส่งงาน ไม่ผ่าน ก็หันไปสนใจ การงานฯ วิชาหลัก ๆ ที่พยายาม ยกระดับผลสัมฤทฺธิ์ เลยขาดความสนใจ เพราะแรงจูงใจลดลงเนื่องจากผลผลิตข้างต้น

(ส่ง 100 คน ผ่าน 5-10 คน) ทั้งในเขตพื้นที่ตัวเองและเขตข้างเคียง ค่ะ

เป็นไปได้ไหมคะ ว่า พอเงินเดือนถึงขั้นเลื่อน ก็ให้เลื่อนระดับเลย เพื่อแรงจูงใจให้สอนเด็กเต็มที่ กระดาษก็ไม่ต้องเปลือง สงสารต้นไม้ค่ะ เงินเดือนครูไทยก็ต่ำอยู่แล้ว ค่าครองชีพเริ่มสูงขึ้น ภาระทางครอบครัวของครูก็มีเท่า ๆ กับข้าราชการอื่น แต่ภาระการสอนที่หนักอึ้งน่าสงสารยิ่งกว่า เพราะสอนคนให้รู้หนังสือนี่ เป็นงานบุญนะคะ ผู้ใหญ่ในกระทรวงลองคิด พิจารณากันดีไหมคะ??? ท่าน ศน.ชัด บุญญา ลองเสนอแนวคิดก็ดีนะคะ เพราะท่านเขียนบทความดีมาก ๆ ผลงานเยอะจริง ๆ ขอคารวะค่ะ ขอบพระคุณแทนครูไทยนะคะ ขออานิสงส์ส่งความสุขให้ท่าน สุขกาย สุขใจตลอดไปค่ะ

นับถือยิ่ง

แสงสุรีย์

ผลงานทางงวิชาการ โดยเจตนารมณ์ ก็คือต้องการให้ครูพัฒนาการเรียนการสอน

การที่ครูจะพัฒนาการเรียนการสอนได้มีหลากหลายวิธี นับตั้งแต่การนำคนเก่งเข้ามาเป็นครู ครูที่มีอยู่ก็ต้องดูแลช่วยเหลือจากหน่วยเหนือในระดับโรงเรียน เขตพื้นที่ สพฐ.

ให้สามารถพัฒนาการเรียนการสอนได้มากขึ้น ได้คมชัดลึกยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

ผมคิดว่าทุกวันนี้ครูเราขยันกันอยู่แล้ว คนที่ต้องได้รับการพัฒนาควรจะได้แก่ ระดับสูงสุดลงมา

ที่คิดอย่างนี้ ก็เพราะการทำให้ครูพัฒนาทางวิชาการ กับ การให้เงินเดือนเพิ่ม นำมาปนกัน ค่าวิทยฐานะ 5600 เงินค่าตอบแทน 5600 ยังคิดว่าเงินค่าตอบแทนนี้ ควรจะให้เป็นเงินเดือนเพิ่มแก่ครูด้วยวิธีการอื่น ที่ไม่ใช่นำมาปนกันกับค่าวิทยฐานะ และวิทยฐานะ

ควรจะน้อยกว่า เพราะต้องการให้เกียรติมากกว่า วิธีการให้เกียรติกับการให้เงินเพิ่มเมื่อนำมารวมกันคิด จึงยุ่ง สร้างความไม่เป็นธรรม ครู คศ. 2 กับ คศ.3 4 สอนแตกต่างกันไหม อาจจะ ย้ำอาจจะ แตกต่างกัน แต่เขาต้องกินต้องใช้เหมือนกันไหม เหมือนกัน

การพัฒนาครูในช่วงหลังปฏิรูป ก็มีประเภทขี่ม้าเลียบค่ายมากมาย องค์ความรู้ใหม่ ๆ วิธีการสอน วิธีการเรียนใหม่ ๆ ถึงครูมากน้อยแค่ไหน ผมไม่แน่ใจ

ผลงานทางวิชาการตกกันมาก สะท้อนให้เห็นคุณภาพของระดับบริหารการศึกษาของประเทศเป็นอย่างดี ว่า ต้องการได้รับการแก้ไขปรับปรุงแก้ระบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งนักบริหารการศึกษาทุกระดับโดยเร่งด่วน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท