สถิติเบื้องต้น


สถิติ

สถิติที่ใช้ในการวิจัย

 

1. สถิติบรรยาย

          สถิติบรรยาย เป็นสถิติที่ใช้พรรณนา หรืออธิบายลักษณะของข้อมูล โดยไม่สนใจที่จะสรุปอ้างอิงไปยังประชากรอื่น   ซึ่งค่าที่คำนวณได้จากกลุ่มตัวอย่าง เรียกว่า ค่าสถิติ และค่าที่คำนวณได้จากประชากร เรียกว่า ค่าพารามิเตอร์  ก่อนที่จะใช้สถิติเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยจะต้องทราบมาตรการวัดหรือระดับการวัดของข้อมูลก่อน ซึ่งมีระดับการวัดของข้อมูลก่อนซึ่งระดับการวัดมี 4 ระดับ คือ นามบัญญัติ  เรียงลำดับ อันตรภาค และอัตราส่วน  

          สถิติบรรยาย ประกอบด้วย

          1.1   การแจกแจงความถี่    ซึ่งเกิดจากการนำข้อมูลมาจัดกลุ่ม โดยดูซ้ำกันของข้อมูล

          1.2   ร้อยละ  ซึ่งเป็นค่าของอัตราส่วนที่มีฐาน หรือส่วนเป็น  100

         1.3   การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง   ที่เป็นตัวแทนของข้อมูลแต่ละชุด ประกอบด้วย       ฐานนิยมซึ่งเป็นข้อมูลที่ซ้ำกันมากที่สุด  มัธยฐาน ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีตำแหน่ง อยู่กึ่งกลางของข้อมูล        ที่เรียงลำดับแล้ว และ ค่าเฉลี่ย  ซึ่งเป็นผลรวมของคะแนนทุกตัวหารด้วยจำนวนข้อมูลทั้งหมด

          1.4    การวัดการกระจาย

                   1.4.1 พิสัย    คือ  ผลต่างของคะแนนสูงสุดกับคะแนนต่ำสุดในข้อมูลชุดหนึ่งๆ

                   1.4.2 ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์   คือ  ค่าครึ่งหนึ่งของความแตกต่างของควอไทล์ที่ 3 กับ ควอไทล์ที่ 1   

                   1.4.3  ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย   คือ  ค่าเฉลี่ยของผลรวมของค่าสมบูรณ์ของผลต่างของข้อมูลแต่ละตัวกับค่าเฉลี่ยของข้อมูลชุดนั้น

                   1.4.4 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นค่าสถิติที่บ่งบอกถึงการกระจายของคะแนนจากค่าเฉลี่ย    คำนวณได้จาก รากที่สองของค่าเฉลี่ยของผลรวมระหว่างผลต่างกำลังสองของค่าตัวเลขแต่ละตัวในข้อมูลชุดหนึ่งๆ กับค่าเฉลี่ยของข้อมูลชุดนั้น

          1.5    การวัดความสัมพันธ์  เป็นการบรรยายให้ทราบถึงขนาดและทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว  ซึ่งได้นำเสนอ 2 วิธี สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน   และสหสัมพันธ์แบบเสปียร์แมน

 

2. สถิติอ้างอิง

          เป็นสถิติที่ใช้ในการทดสอบวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อสรุปอ้างอิงไปยังประชากร   ซึ่งในการทดสอบสมมติฐานผู้วิจัยต้องมีความรู้เกี่ยวกับการแจกแจงสุ่มของค่าเฉลี่ย  ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน  ความหมายของการทดสอบสมมติฐาน  ระดับนัยสำคัญ  ระดับความเป็นอิสระ   การทดสอบสมมติฐานแบบทางเดียว และสองทาง  และขั้นตอนการทดสอบสมติฐาน

          การทดสอบค่าเฉลี่ย

          สำหรับการทดสอบเกี่ยวกับค่าเฉลี่ย สรุปได้ดังนี้

          1. การทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว     ใช้สถิติทดสอบที่ ( t-test)   แบบกลุ่มเดียว

          2. การทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม

2.2        การทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม สัมพันธ์กัน  (dependent  t-test)

2.3        การทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มเป็นอิสระต่อกัน (independent 

        t-test)

2.3.1           ค่าความแปรปรวนของ 2 กลุ่ม เท่ากัน

2.3.2           ค่าความแปรปรวนของ 2 กลุ่ม ไม่เท่ากัน

3. การทดสอบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่ม  ใช้วิธีการวิเคราะห์

ความแปรปรวน ( ANOVA)   หรือ F- test    โดยเป็นการทดสอบหลายกลุ่มไปพร้อมกัน เมื่อผล   การทดสอบ มีนัยสำคัญจึงทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ภายหลังต่อไป  

          การทดสอบสัดส่วน

1.       การทดสอบสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว    เป็นการทดสอบ ที่มุ่งทราบว่า

สัดส่วนของ ลักษณะที่สนใจจะศึกษาเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่     ใช้สถิติทดสอบซี  (Z –test)   แบบกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม

2.       การทดสอบสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่าง  2 กลุ่ม  เป็นการทดสอบ ที่มุ่งทราบว่าสัดส่วน

ของ ลักษณะที่สนใจจะศึกษาของ  2 กลุ่ม  ใช้สถิติทดสอบซี  (Z –test)   แบบกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม

         

หลักการเลือกใช้สถิติให้เหมาะสม ต้องคำนึงถึง

1.       จุดมุ่งหมายหรือสมมติฐานการวิจัย

2.       ระดับของข้อมูล

3.       จำนวนตัวแปรอิสระ

4.       ข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติ

 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #สถิติพื้นฐาน
หมายเลขบันทึก: 236673เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2009 12:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีจังเลยครับอาจารย์ เข้าใจว่า copy มาจาก word เลยติดตารางมาด้วย ลองแก้ไขดูนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท