navee
นางสาว ระวิวรรณ ทองแก้วจันทร์

น้ำมันหอมระเหย


สุวคนธบำบัด (Aromatherapy)

สุวคนธบำบัด (Aromatherapy) คือแขนงหนึ่งของการรักษาสุขภาพทางเลือก ที่กลายมาเป็นที่นิยมในหมู่คนรักสุขภาพ และผู้รักการทำสปาจำนวนไม่น้อย หลายคนเชื่อว่ากลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยที่สกัดออกมาจากมวลหมู่ไม้ จะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดและทำให้จิตใจสงบขึ้นได้

น้ำมันหอมระเหยที่ใช้กันอยู่ทั่วไปก็มีหลายกลิ่นให้เลือก โดยให้ผลต่างๆ กันดังนี้

  • มะลิ (Jasmine): ช่วยผ่อนคลายความดึงเครียดกล้ามเนื้อ  บรรเทาอาการอ่อนล้า
  • คาโมไมล์ (Chamomile): ให้ความสดชื่น ผ่อนคลาย แก้ปวดหัว แก้ซึมเศร้า
  • เมิรห์ (Myrrh): ช่วยปรับอารมณ์ ลดเสมหะ น้ำมูก
  • มาร์จอแรม/สวีท มาร์จอแรม (Marjoram/Sweet Marjoram): ให้ความรู้สึกอบอุ่น ผ่อนคลาย แก้ฟกช้ำ ตะคริว
  • ขิง (Ginger): ผ่อนคลาย อบอุ่น แก้เครียด ปวดเมื่อย หวัด
  • เจอราเนียม (Geranium): ผ่อนคลาย ปรับสมดุล แก้เครียด ผิวหนังติดเชื้อ
  • ลาเวนเดอร์ (Lavender): สดชื่น ผ่อนคลาย หลับสบาย แก้ปวดเมื่อย เครียด
  • โรสแมรี (Rosemary): ให้คุณสมบัติคล้ายกับลาเวนเดอร์ คือช่วยในการผ่อนคลาย
  • สาระแหน่ (Peppermint): เย็นสดชื่น แก้อาการเมารถ ปวดหัว หวัด
  • มะกรูด (ฺBergamot): สดชื่น ผ่อนคลาย หลับสบาย แก้ปวดเกร็ง
  • มะนาว (Lemon): ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า
  • ส้ม (Orange): ทำให้มีจิตใจเบิกบานและอารมณ์เย็น
  • ทีทรี (Tea Tree): เย็นสดชื่น ต้านเชื้อแบคทีเรีย แก้หวัด เจ็บคอ พัฒนาความคิดในเชิงบวก  และเสริมสร้างความมั่นใจ
  • ตะไคร้ (Lemon Grass): สดชื่น ปรับอารมณ์ แก้อาหารไม่ย่อย ยับยั้งการติดเชื้อโรค  ป้องกันแบคทีเรี
  • แซนดัลวูด (Sandal wood): ผ่อนคลาย สงบ สร้างสมาธิ บรรเทาอาการอักเสบ
  • โหระพา (Basil): สดชื่น แก้เครียด กระวนกระวาย ปวดเมื่อย
  • แฟรงก์อินเซนซ์ (Frankincense): ผ่อนคลาย แก้เครียด เพิ่มความอ่อนเยาว์
  • เสจ/แคลรี เสจ (Sage/Clary Sage): ผ่อนคลาย อบอุ่น แก้ปวดเมื่อย มีปัญหารอบเดือน
  • กระดังงา (Ylang Ylang): ผ่อนคลายอารมณ์
  • กุหลาบ (Rose):  ช่วยผ่อนคลายความเครียด  ฟื้นฟูความมั่นใจ
  • สน (Pine): ลดอาการเลือดคั่งและปรับสภาพสีผิว  ดีต่อโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ สามารถใช้บำรุงเส้นผมได้ด้วย
  • ยูคาลิปตัส (Eucalyptus): ต่อต้านเชื้อโรค  ลดอาการแน่นหน้าอก ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้นสำหรับผู้ที่เป็นหวัด
  • กำยาน (Franincense): บำรุงกำลังและเพิ่มความสวยงาม  ช่วยให้รู้สึกเย็นสบายและผ่อนคลาย
  • ว่าน (Cardamon): ช่วยฟื้นฟูสภาพความเมื่อยล้าและเฉื่อยชาเซื่องซึม


การเลือกใช้น้ำมันหอมระเหยก็มีข้อพึงระวังเช่นกัน ซึ่งผู้ใช้ควรศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจอย่างดีเสียก่อน จำไว้ว่า

  1. ไม่ควรหยดน้ำมัยหอมระเหยลงบนผิวหนังโดยตรง
  2. ไม่ควรดื่ม หรือรับประทานน้ำมันหอมระเหย เว้นแต่ได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญแล้วเท่านั้น
  3. ห้ามใช้ปริมาณที่มากเกินไป
  4. ควรเก็บน้ำมันหอมระเหยในขวดที่มีสี เข้ม ในที่ปลอดภัยห่างจากมือเด็กและเปลวไฟ
  5. น้ำมันหอมระเหยบางชนิดเหนี่ยวนำให้ ผิวหนังมีความไวต่อแสง (photosensitive)เช่น น้ำมันมะกรูด น้ำมันมะนาว ฯลฯ ดังนั้นจึงควร หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดโดยตรงภายหลังจากการ ใช้น้ำมันหอมระเหยเป็นเวลาอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
  6. เด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้มีโรคประจำตัว เช่น ลมชัก ความดันโลหิตสูง  ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะน้ำมันหอมระเหยบางกลิ่นก็ไม่เพียงไม่เหมาะที่จะใช้ ยังอาจก็ก่อให้เกิดอันตรายได้ด้วย

ที่มา:http://information.phuketindex.com/info/healthy/40-essential-oils-benefits.html

หมายเลขบันทึก: 236666เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2009 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท