สนามหลวง : พนักงานบริการอิสระ ชีวิตที่ถูกตีตรา


การที่หญิงสาว(หรือไม่สาว)ซักคนจะก้าวเข้ามาสู่อาชีพนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ที่หลาย ๆ คนเข้าใจและพูดไปต่าง ๆ นานา บ้างว่า ไม่ขยันทำมาหากิน บ้างว่าเป็นการเลือกอาชีพแบบมักง่าย ?? ใครกี่คนจะเข้าใจและจะรู้ถึงเหตุผลที่แท้จริงว่าแท้จริงแล้วอะไรคือแรงจูงใจ แรงผลักดันให้เธอเหล่านี้ก้าวเข้ามาสู่อาชีพนี้ อาชีพที่สังคมไทยพร้อมที่จะตีตรามากกว่าเข้าใจ

สนามหลวง : พนักงานบริการอิสระ ชีวิตที่ถูกตีตรา

พนักงานบริการอิสระ คำนี้อาจจะยังไม่คุ้นชินกับผู้คนโดยทั่วไปนัก เหตุมาจากคนไทยจำนวนหนึ่งจะคุ้นชินกับคำว่า ผีขนุน ผีมะขาม ผีรั้ว มากกว่า ก็น่าแปลกใจที่ทำไมคนด้วยกัน แต่กลับมองคนไม่เป็นคน หนำซ้ำยังมองเหยียดหยามลดชั้นให้เป็นผีเสียอีก ??

สนามหลวง คลองหลอดและพื้นที่สาธารณะอื่น ๆ ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ วงเวียน 22 สวนลุมพินี วงเวียนใหญ่ ริมถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แถวโรงแรมสยาม หลังสวนจตุจักร ฯลฯ พื้นที่เหล่านี้กลายเป็นที่รู้จักของคนโดยทั่วไปว่า มีการให้บริการทางเพศราคาถูก และก็เป็นแรงจูงใจให้คนทั่วไปที่มีรสนิยมทางเพศที่หลากหลายเข้ามาใช้บริการกับหญิงสาวที่เป็นพนักงานบริการอิสระที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว

หญิงสาว(และไม่สาว)ที่ก้าวเข้ามาสู่อาชีพนี้ทุกคนมีที่มาที่ไปและเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป จนไม่สามารถใช้เป็นข้อสรุปได้เพียง 1 หรือ 2 เหตุผลของสาเหตุการก้าวเข้ามาสู่อาชีพนี้ แต่หลาย ๆ คนที่มองเข้ามาจากภายนอกก็ยังเลือกที่จะตีตราให้ หญิงกลุ่มนี้ด้วยทัศนคติที่ไม่สู้ดีนักของตนเอง

การที่หญิงสาว(หรือไม่สาว)ซักคนจะก้าวเข้ามาสู่อาชีพนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ที่หลาย ๆ คนเข้าใจและพูดไปต่าง ๆ นานา บ้างว่า ไม่ขยันทำมาหากิน บ้างว่าเป็นการเลือกอาชีพแบบมักง่าย ?? ใครกี่คนจะเข้าใจและจะรู้ถึงเหตุผลที่แท้จริงว่าแท้จริงแล้วอะไรคือแรงจูงใจ แรงผลักดันให้เธอเหล่านี้ก้าวเข้ามาสู่อาชีพนี้ อาชีพที่สังคมไทยพร้อมที่จะตีตรามากกว่าเข้าใจ

การตีตราด้วยทัศนคติผ่านถ้อยคำที่ดูหมิ่นดูแคลน การแอบถ่ายภาพการทำงานของรายการโทรทัศน์ที่อ้างว่าห่วงใยสังคม ไม่ใช่การนำเสนอทางออกที่เป็นรูปธรรม หากแต่เป็นการตอกย้ำซ้ำเติมชีวิตลูกผู้หญิงที่มีทางออกในชีวิตที่แตกต่างกันในสังคม ดังนั้นการทำงานเพื่อแสวงหาทางออกร่วมกันของผู้ประกอบอาชีพโดยตรงกับคนทำงานด้านให้การสนับสนุนส่งเสริมเพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างการยอมรับในสังคม จึงน่าจะเป็นทางออกของการทำความเข้าใจปัญหานี้ร่วมกันในแนวทางที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เป็นจริง

หากสังคมให้โอกาสและมีความพยายามมากเพียงพอในการทำความเข้าใจ เรียนรู้และยอมรับความเป็นจริงในสังคมว่าโอกาสและทางเลือก ทางออก ของแต่ละคนในสังคมมีไม่เท่ากัน การมองภาพของพนักงานบริการทั้งที่เป็นกลุ่มอิสระและกลุ่มที่ทำงานในสถานบริการ ก็จะเป็นการทำงานเชิงบวกเพื่อนำไปสู่การสร้างความเข้าใจและยอมรับเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ศักยภาพของคนบนสายอาชีพนี้ร่วมกันอย่างยั่งยืนและมีทางออกได้อย่างสมบูรณ์แบบมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ใช่มัวแต่โยนกันไปโยนกันมาและตีตราชี้หน้าว่า พนักงานบริการ เป็นปัญหาสังคม เพราะแท้จริงแล้ว พนักงานบริการ ไม่ใช่ปัญหาสังคมหากแต่เป็นผู้บรรเทาปัญหาของสังคมด้วยซ้ำไป หรือไม่จริง

 

หมายเลขบันทึก: 236572เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2009 19:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2012 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ท่านคิดแตกต่าง แต่ก็ตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง..โอกาสและทางแลกของแต่ละคนล้วนแตกต่างกัน..สังคมควรให้โอกาสมากกว่า..จะติเตียน

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท