งานและสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับงาน : เครือข่าย KM ลดเสี่ยง NCD_1 (1)


เมื่อได้โอกาสมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โครงการพัฒนาเครือข่ายการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนชุมชน บุคคล และระบบบริการลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อ ผู้เขียนพยายามที่จะช่วยคิดวิธีการ/รูปแบบกิจกรรม ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายของโครงการฯ โดยคิดไว้แบบคร่าวๆ 2 ส่วน ยังไม่ลงรายละเอียดมากนัก คือ

 

ส่วนที่หนึ่ง  ผู้เขียนเสนอว่า น่าจะเริ่มต้นโครงการฯ ด้วย OM-Outcome Mapping เพื่อให้สมาชิกเครือข่ายมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานตั้งแต่ขั้นตอนการกำหนดวิสัยทัศน์ไปจนถึงการติดตามประเมินการเรียนรู้และพัฒนา จากนั้นเราก็สนับสนุนให้เครือข่ายไปทดลองดำเนินงานตาม แผนที่ผลลัพธ์ โดย เรา ในบทบาทของ ผู้จัดการเครือข่าย ทำหน้าที่ ติดตาม สังเกตการณ์ และ จับภาพ เพื่อพัฒนาต่อยอด ขยายผล

 

อีกส่วนหนึ่ง ผู้เขียนเสนอให้ ค้นหา เรื่องราวความสำเร็จ/ “good practice” ที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ปฏิบัติการ ไม่ว่าจะเป็นในระดับจังหวัด ระดับเขต หรือระดับภาค แล้วอำนวยความสะดวกโดยการ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้เขาได้มาพบปะแบ่งปันเรื่องราวความสำเร็จกัน ซึ่งจะทำให้ คุณกิจ จากแต่ละพื้นที่ได้เรียนรู้เทคนิควิธีการจากกันและกันในรูปแบบที่แตกต่างหลากหลาย ที่อาจจะนำไปสู่การต่อยอดจากสิ่งที่เขาคิดว่าทำได้ ดี แล้ว ให้ ดียิ่งขึ้น ไปอีก เราก็ทำหน้าที่รวบรวม สะกัด และบันทึกเรื่องราวความสำเร็จเหล่านั้นแล้วเผยแพร่เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบและช่องทางอื่นๆ ต่อไปได้อีก

 

เมื่อกลับมาทบทวนกับตัวเองว่า 1) สิ่งที่คิดและนำเสนอเบื้องต้นไปแล้วนี้เหมาะสมแล้วหรือยัง และจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของโครงการฯ (ระยะที่ 1) ได้จริงหรือไม่ 2) มีวิธีการ/กิจกรรมอื่นๆ ที่เหมาะสมกว่าอีกหรือไม่ อย่างไร ซึ่งก็ได้ข้อสรุปคือ ไปหยิบหนังสือของ อ.วิจารณ์ฯ 2 เล่ม คือ การจัดการความรู้: ฉบับนักปฏิบัติ และ “KM วันละคำ มาอ่านอีกรอบ (ไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นรอบที่เท่าไหร่แล้ว) ในบทที่ว่าด้วย การจัดการเครือข่าย

 

ผู้เขียนรู้สึกว่ามีบางส่วนที่เดินมาถูกทางบ้างแล้วเหมือนกัน ตามที่ อ.วิจารณ์ฯ ถ่ายทอดประสบการณ์ไว้ ที่นี่ ในขณะที่บางส่วนก็คิดว่าน่าจะมีการปรับรูปแบบวิธีการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้นได้อีกจากประสบการณ์และตัวอย่างการดำเนินงานที่อาจารย์ถ่ายทอดไว้อย่างละเอียดใน บทที่ 9 ของเล่ม การจัดการความรู้: ฉบับนักปฏิบัติ และในเล่มเดียวกันนี้อาจารย์ให้คำแนะนำสำหรับการเริ่มต้นการจัดการความรู้ไว้ว่าให้ วางแผนการดำเนินการโดยเริ่มจากเล็กไปใหญ่ จากง่ายไปยาก ...โดยคณะทำงานต้องมีแผนและเป้าหมายภาพรวมอยู่ในมือ และการดำเนินการโดยใช้ยุทธศาสตร์จากเล็กไปใหญ่ จากง่ายไปยาก จะต้องสอดคล้องกับแผนและเป้าหมายภาพรวม ...ยุทธศาสตร์สำคัญคือ ต้องทำให้การจัดการความรู้เป็นเรื่องง่าย สนุก และทำให้ คุณกิจ ได้รับประโยชน์ทันที...

 

ทบทวนมาถึงตรงนี้แล้ว ผู้เขียนก็นึกได้ว่ามีเครื่องมือ KM ตัวหนึ่งคือ เพื่อนช่วยเพื่อน ที่ผู้เขียนน่าจะนำมาใช้เป็น ตัวช่วย ผู้เขียนจึงตัดสินใจว่าจะใช้ สิทธิประโยชน์ ของการเป็นสมาชิก สคส.ไปขอรับคำปรึกษาเบื้องต้นจาก คุณธวัช และ คุณหญิง-นภินทร น่าจะได้แนวทางการดำเนินงานที่ดีกว่า จากประสบการณ์ที่มากและหลากหลายกว่า...คิดได้สบายใจจัง วันพุธนี้จะไปแล้วนะ J

 

ปลาทูแม่กลอง

19 มกราคม 2552

หมายเลขบันทึก: 236159เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2009 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ ขอเป็นกำลังใจให้นะค่ะ คุณ KJ SPS

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท