อมร ไกรเทพ
นาง อมร ไกรเทพ วรรณมณี ไกรเทพ

30.สอนเด็กๆ ให้คิดเป็น


สอนเด็ก ให้คิดเป็น

 

วันนี้เรามีขั้นตอนการพัฒนาความคิดแบบง่ายๆ เพื่อนำไปพัฒนาการสอนในห้องเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนของเรากลายเป็นคนที่คิดเป็น รู้จักใช้ความคิดมากขึ้น ไม่ใช่นั่งเรียนแบบท่องจำไปวันๆ ลองไปดูกันนะคะว่า มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ?

1. คิดกำหนดปัญหาให้ชัดเจน

การกำหนดปัญหาให้ชัดเจนเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ที่จะช่วยให้กระบวนการคิดเพื่อการแก้ปัญหาในลำดับต่อมาเป็นไปอย่างถูกทิศทาง เป็นการกำหนดเป้าหมายของการคิดที่ชัดเจน หลายคนเรียกขั้นตอนนี้ว่า การคิดถูกทาง

ไอน์สไตน์และนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงทั้งหลายต่างเห็นสอดคล้องกันมานานแล้วว่า การมองเห็นปัญหาสำคัญกว่าการแก้ปัญหา ในห้องเรียนของเรามีปัญหาอยู่ตั้งเยอะ ลองให้นักเรียนระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนดูเถอะ

2. คิดหาคำตอบที่หลากหลาย

เมื่อกำหนดประเด็นปัญหาชัดเจนแล้ว ให้นักเรียนคิดหาคำตอบ หรือแนวทางของคำตอบที่น่าจะเป็นไปได้มาหลายๆ คำตอบ หรือหลายๆ แนวทาง

ขั้นตอนนี้ต้องพยายามให้คิดหาคำตอบให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้โดยไม่สกัดกั้นความคิด ไม่ว่าจะคิดว่าคำตอบที่นักเรียนตอบนั้นดูเหมือนจะไม่เข้าท่า ไม่รีบชิงบอกนักเรียนว่าเป็นคำตอบที่ไม่ดี ไม่ฉลาด ยกเว้นคำตอบที่เห็นได้ชัดเจนว่า ไม่สอดคล้องกับประเด็นปัญหานั้นๆ

ในการฝึกความคิดของนักเรียน ครูอาจจะเริ่มต้นให้นักเรียนคิดในขั้นตอนที่ 2 นี้เลยก็ได้ โดยครูกำหนดการแก้ปัญหาแล้วให้นักเรียนคิดหาคำตอบที่หลากหลาย คำถามที่ครูเตรียมมา ควรเป็นคำถามที่น่าความสนใจ เป็นคำถามที่ท้าทาย หรือคำถามที่แปลก ชนิดคาดไม่ถึง ให้นักเรียนได้ฝึกความคิดแบบหลากหลาย เช่น ถามว่ารถยนต์กับช้อน มีอะไรที่เหมือนกันบ้าง

นักเรียนคงจะงง เพราะรถยนต์กับช้อนเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย แต่เมื่อเริ่มต้นคิด ก็พบว่าทั้ง 2 สิ่งมีส่วนที่เหมือนกัน เช่น ทำด้วยโลหะเหมือนกัน เคาะแล้วมีเสียงเหมือนกัน ฯลฯ

หรือคำถามให้นักเรียนคิดคาดการณ์ภายหลังว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ถ้าโลกขาดก๊าซออกซิเจนจะเป็นอย่างไร นักเรียนก็ควรฝึกใช้ความคิดอย่างอิสระ เพื่อคาดคะเนถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นบนโลก ซึ่งจะถูกหรือไม่ ยังไม่ควรรีบด่วนสรุป แต่จะต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนคิดหาคำตอบให้ได้มากที่สุด

กระบวนการฝึกในขั้นที่ 2 นี้ เป็นการฝึกให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ นั่นเอง

ในคำตอบมากมายหลายนั้นอาจจะมีบางคำตอบใหม่ที่ไม่เคยมีใครคิดมาก่อน ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่มีค่า เป็นสิ่งที่นำเป็นความคิดริเริ่ม แปลกใหม่

3. คิดพิจารณา ไตร่ตรอง วิเคราะห์ อย่างถี่ถ้วน รอบคอบ และสมเหตุสมผล

เพื่อดูว่าในหลายๆ คำตอบจากขั้นตอนที่ 2 นั้น คำตอบใดน่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด คำตอบใดน่าจะตัดทิ้งไปได้

การคิดในขั้นนี้ จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์เดิม หรือความรู้เดิม หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องมากที่สุด เพื่อประกอบการพิจารณาอย่างสมเหตุสมผล

ข้อมูลที่ได้มา จะต้องเป็นข้อมูลที่ทั้งกว้าง ทั้งลึก มีความชัดเจน ถูกต้อง เชื่อถือได้ และเพียงพอที่จะใช้เป็นพื้นฐานประกอบการตัดสินใจ

วันนี้เรามีขั้นตอนการพัฒนาความคิดแบบง่ายๆ เพื่อนำไปพัฒนาการสอนในห้องเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนของเรากลายเป็นคนที่คิดเป็น รู้จักใช้ความคิดมากขึ้น ไม่ใช่นั่งเรียนแบบท่องจำไปวันๆ ลองไปดูกันนะคะว่า มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ?

1. คิดกำหนดปัญหาให้ชัดเจน

การกำหนดปัญหาให้ชัดเจนเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ที่จะช่วยให้กระบวนการคิดเพื่อการแก้ปัญหาในลำดับต่อมาเป็นไปอย่างถูกทิศทาง เป็นการกำหนดเป้าหมายของการคิดที่ชัดเจน หลายคนเรียกขั้นตอนนี้ว่า การคิดถูกทาง

ไอน์สไตน์และนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงทั้งหลายต่างเห็นสอดคล้องกันมานานแล้วว่า การมองเห็นปัญหาสำคัญกว่าการแก้ปัญหา ในห้องเรียนของเรามีปัญหาอยู่ตั้งเยอะ ลองให้นักเรียนระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนดูเถอะ

2. คิดหาคำตอบที่หลากหลาย

เมื่อกำหนดประเด็นปัญหาชัดเจนแล้ว ให้นักเรียนคิดหาคำตอบ หรือแนวทางของคำตอบที่น่าจะเป็นไปได้มาหลายๆ คำตอบ หรือหลายๆ แนวทาง

ขั้นตอนนี้ต้องพยายามให้คิดหาคำตอบให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้โดยไม่สกัดกั้นความคิด ไม่ว่าจะคิดว่าคำตอบที่นักเรียนตอบนั้นดูเหมือนจะไม่เข้าท่า ไม่รีบชิงบอกนักเรียนว่าเป็นคำตอบที่ไม่ดี ไม่ฉลาด ยกเว้นคำตอบที่เห็นได้ชัดเจนว่า ไม่สอดคล้องกับประเด็นปัญหานั้นๆ

ในการฝึกความคิดของนักเรียน ครูอาจจะเริ่มต้นให้นักเรียนคิดในขั้นตอนที่ 2 นี้เลยก็ได้ โดยครูกำหนดการแก้ปัญหาแล้วให้นักเรียนคิดหาคำตอบที่หลากหลาย คำถามที่ครูเตรียมมา ควรเป็นคำถามที่น่าความสนใจ เป็นคำถามที่ท้าทาย หรือคำถามที่แปลก ชนิดคาดไม่ถึง ให้นักเรียนได้ฝึกความคิดแบบหลากหลาย เช่น ถามว่ารถยนต์กับช้อน มีอะไรที่เหมือนกันบ้าง

นักเรียนคงจะงง เพราะรถยนต์กับช้อนเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย แต่เมื่อเริ่มต้นคิด ก็พบว่าทั้ง 2 สิ่งมีส่วนที่เหมือนกัน เช่น ทำด้วยโลหะเหมือนกัน เคาะแล้วมีเสียงเหมือนกัน ฯลฯ

หรือคำถามให้นักเรียนคิดคาดการณ์ภายหลังว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ถ้าโลกขาดก๊าซออกซิเจนจะเป็นอย่างไร นักเรียนก็ควรฝึกใช้ความคิดอย่างอิสระ เพื่อคาดคะเนถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นบนโลก ซึ่งจะถูกหรือไม่ ยังไม่ควรรีบด่วนสรุป แต่จะต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนคิดหาคำตอบให้ได้มากที่สุด

กระบวนการฝึกในขั้นที่ 2 นี้ เป็นการฝึกให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ นั่นเอง

ในคำตอบมากมายหลายนั้นอาจจะมีบางคำตอบใหม่ที่ไม่เคยมีใครคิดมาก่อน ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่มีค่า เป็นสิ่งที่นำเป็นความคิดริเริ่ม แปลกใหม่

3. คิดพิจารณา ไตร่ตรอง วิเคราะห์ อย่างถี่ถ้วน รอบคอบ และสมเหตุสมผล

เพื่อดูว่าในหลายๆ คำตอบจากขั้นตอนที่ 2 นั้น คำตอบใดน่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด คำตอบใดน่าจะตัดทิ้งไปได้

การคิดในขั้นนี้ จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์เดิม หรือความรู้เดิม หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องมากที่สุด เพื่อประกอบการพิจารณาอย่างสมเหตุสมผล

ข้อมูลที่ได้มา จะต้องเป็นข้อมูลที่ทั้งกว้าง ทั้งลึก มีความชัดเจน ถูกต้อง เชื่อถือได้

คำสำคัญ (Tags): #คุณครู
หมายเลขบันทึก: 235615เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2009 17:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

  • ขอขอบคุณกับเรื่องที่เป็นประโยชน์ค่ะ
  • การคิด..ต้องได้รับการฝึกอย่างต่อเนื่องและมีกระบวนการแบบนี้ค่ะ
  • วันนี้ได้ทำกิจกรรมรำลึกถึงพระคุณของคุณครูในบันทึกใหม่
  • แล้วไปโรงเรียนค่ะ..เพราะเจ้าหน้าที่โรงเรียนมาบอกว่า..วันนี้เด็ก ๆ ได้นัดหมายกันมาถางหญ้า ไถที่ ปรับที่รกร้างว่างเปล่า เพื่อเป็นของขวัญวันครู
  • แอบไปเงียบ ๆ ค่ะ หาส้มตำ ข้าวเหนียวและไก่ย่างไปฝาก
  • ก็มีความพอใจค่ะ

สวัสดีค่ะครูคิม..

  • ขอบคุณกับการเยี่ยมเยียน
  • คิดถึงนะคะ
  • วันนี้ได้ทำกิจกรรมรำลึกถึงพระคุณของคุณครูเช่นกัน
  • เด็ก ๆ โทรศัพท์มาหา..
  • ก็ดีใจ..ค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท