ความคืบหน้าการพัฒนาหลักสูตรผู้บริการสาธารณสุข


ความคืบหน้าการพัฒนาหลักสูตรผู้บริการสาธารณสุข

ความคืบหน้าการพัฒนาหลักสูตรผู้บริการสาธารณสุข

 

หลังจากประชุมพิจารณาร่างหลักสูตร ส.ม. ไปตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมา (Click อ่านรายละเอียด) ก็ไม่ได้เงียบหายไปไหนนะครับ แต่หลังจากนั้น สปสช. ได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อผู้บริหารสาธารณสุข โดยเฉพาะในระดับ CUP ที่มุ่งเน้นการจัดการระบบสุขภาพในระดับปฐมภูมิ ซึ่งโรงพยาบาลชุมชนเป็นคลังความรู้และประสบการณ์มายาวนาน สปสช. และ ชมรมแพทย์ชนบท จึงได้ดึงภาคส่วนวิชาการ คือ มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น และ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.นเรศวร เข้ามาแลกเปลี่ยน พูดคุย กันหลายครั้ง และมีข้อสรุปร่วมกันในการสร้างหลักสูตรเพื่อพัฒนาผู้บริหารดังกล่าว ในระดับปริญญาโท (และปริญญาเอก สำหรับ ม.ขอนแก่น) โดยทั้ง 3 สถาบัน และ สปสช. พร้อมทั้งชมรมแพทย์ชนบท ได้ลงนามความร่วมมือกันในวันที่ 21 ตุลาคม 2551 ที่ผ่านมา และแต่ละสถาบันก็ได้กลับไปพัฒนาหลักสูตร และ Module ตลอดจนแนวทางจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และความสอดคล้องเรื่องเวลากับผู้เรียน รวมทั้งรักษามาตรฐานของหลักสูตรในทางวิชาการ นำเทคโนโลยีการสอนทางไกลต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และการจัดการเรียนรู้

 

วันนี้ (15 มกราคม 2552) จึงเกิดเวทีแลกเปลี่ยนขึ้นอีกครั้ง เพื่อติดตามความก้าวหน้า และแผนการดำเนินการเปิดหลักสูตรในแต่ละสถาบัน ซึ่งทาง ม.นเรศวร ม.มหิดล และ ม.ขอนแก่น ได้นำเสนอรายละเอียด Module และมีการอภิปรายให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้หลักสูตรตอบสนองต่อการพัฒนาสมรรถนะ (Competency) ที่จำเป็นในการเป็นผู้บริหารสาธารณสุขให้มากที่สุด ซึ่งจากเวทีดังกล่าวนี้ ก็ได้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง อาทิเช่น

 

1.             การจัดการเรียนการสอนจะจัดให้สอดคล้องกับเวทีวิชาการที่มีอยู่แล้ว ทั้งนี้ให้สอดคล้องกับการจัดการของแต่ละสถาบัน และระเบียบของ สกอ.

2.             เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถลงเรียนได้ในบาง Module เพื่อการสะสมหน่วยกิต หรือในกรณีที่ไม่ต้องการปริญญา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระเบียบของแต่ละสถานบัน

3.             นำเทคโนโลยีการเรียนการสอนทางไกล เช่น web blog, black board, Cam-frog และอื่นๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม และมีการ Coach โดยครูพี่เลี้ยง (Mentor) ในพื้นที่ คอยสนับสนุนวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

4.             ทั้ง 3 สถาบัน จะมีการหารือเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนข้ามสถาบันได้ในบางวิชา หรือบาง Module ซึ่งจะมีการหารือกันในรายละเอียดต่อไป

5.             ในการพัฒนาผู้บริหารไม่เพียงเฉพาะวิชาชีพแพทย์เท่านั้น ในอนาคตจะขยายไปสู่วิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ทันตแพทย์ พยาบาล สาธารณสุข รวมถึงบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะการบริหารจัดการต้องอาศัยความเป็นสหาสาขาวิชาชีพ

ฯลฯ

สำหรับการพัฒนา Module และการเตรียมครูพี่เลี้ยงในพื้นที่ ชมรมแพทย์ชนบท จะลงนามความร่วมมือกับ สปสช. ภายใต้โครงการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ ซึ่งมีส่วนของการพัฒนา Module ของหลักสูตร และการเตรียมพื้นที่ รวมอยู่ด้วย นอกจากนั้นยังจะสนับสนุนระบบ VDO Conference ให้กับทั้ง 3 สถาบันเพื่อจัดระบบการสอนทางไกล ซึ่งจะมีการประชุมลงในรายละเอียดต่างๆ ต่อไป

 

แล้วจะนำมาเล่าสู่กันฟังเพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ แลกเปลี่ยน กันต่อไปครับ ซึ่งทุกเสียงล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และคุณภาพสูงสุด ต่อไป

 

ด้วยความเคารพรัก  

หมายเลขบันทึก: 235393เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2009 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท