สุริยคราส มกราคม 52


เวลา 15:57 น. ถึง 17:58 น. ทิศตะวันตกเฉียงใต้

ในปี 2552 จะมีสุริยุปราคา (สุริยคราส - Solar Eclipse) เกิดขึ้นให้เห็นในประเทศไทยได้ถึง 2 ครั้ง

ในครั้งแรก จะเกิดในวันที่ 26 มกราคม 2552 เป็นสุริยคราสแบบบางส่วน (Annula Eclipse) ส่วนอีกครั้ง จะเกิดในวันที่ 22 กรกฎาคม 2552 เป็นสรุยิคราสแบบเต็มดวง (Total Eclipse - ซึ่งจะนำมาเขียนบันทึกเพิ่มเติมไว้ต่อไปครับ)

ปรากฎการณ์ครั้งนี้ สังเกตเห็นได้ในประเทศไทย ตั้งแต่เวลา 15:57 น. ถึง 17:58 น. ปรากฏทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ (Azimuth 238 องศา วัดจากทิศเหนือ)

มุมเงย (Altitude) ขณะคราสเริ่มจับดวงอาทิตย์อยู่สูงจากขอบฟ้า 28 องศา โดยดวงจันทร์จะเข้าบังดวงอาทิตย์ที่ตำแหน่ง 7 นาฬิกา (ตำแหน่งเลข 7 บนหน้าปัทม์นาฬิกาแบบเข็ม) และเคลื่อนที่ขึ้นด้านบน (จากทิศตะวันตกไปตะวันออก) และออกจากคราสที่ตำแหน่ง 11 นาฬิกา (เลข 11 บนหน้าปัทม์) ซึ่งในขณะที่คราสออกนั้น มุมเงยของดวงอาทิตย์จะอยู่สูงจากขอบฟ้าเพียงแค่ 2 องศา

เป็นที่น่าสังเกตว่า มุมเงยขณะที่คราสออกนั้น ดวงอาทิตย์จะอยู่ใกล้ขอบฟ้ามาก (ต่ำมาก) จึงทำให้การเห็นคราสในครั้งนี้ ของผู้สังเกตการณ์ที่อยู่ในประเทศไทยจะเห็นได้ไม่จบกระบวนการ กล่าวคือ จะเห็นตอนที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าบังดวงอาทิตย์ (ตัดหน้าดวงอาทิตย์) แล้วเคลื่อนที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนดวงอาทิตย์จะสวนทางกับดวงจันทร์ คือจะต่ำลงเรื่อย ๆ เมื่อดวงอาทิตย์มีมุมเงยต่ำกว่า 10 องศา เราจะเริ่มสังเกตได้ยากมากขึ้น ขึ้นอยู่กับทัศนวิสัยของแต่ละสถานที่ บางแห่งอาจมีตึกรามบ้านช่องบัง และบังตั้งแต่มุมเงย 15 องศด้วยซ้ำไป แต่ถ้าอยู่ชายทะเลที่มองไปทางทิศตะวันตก ที่ไม่มีอะไรบดบังทัศนวิสัย ก็จะเห็นกระบวนการจนจบ...

 

 

หมายเลขบันทึก: 235002เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2009 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 00:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบคุณ "คุณเทียนน้อย" และผู้สนใจทุกท่านนะครับ

แล้วจะมารายงานปรากฏการณ์ท้องฟ้า เป็นระยะ ๆ นะครับ

ขอบคุณค่ะ

ที่แบ่งปัน ขอเอาไปแนะนำเด็กน้อยนะคะ เด็กๆตื่นเต้นกันใหญ่เลย

ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ

เห็นคุณครู มาเล่าให้ฟังว่า คุณครูไปบอกข่าวกับเด็กน้อย เรื่องสุริยุปราคา ก็เลยนึกเป็นห่วงอยู่ 2-3 เรื่อง

เลยอยากมาเขียนข้อมูลเพิ่มเติมอีกนิดนึงครับ เพื่อป้องกันอันตรายและเพื่อความปลอดภัยของเด็ก ๆ

1. คุณครูกรุณาแนะนำเด็ก ๆ ว่า การจ้องมองดวงอาทิตย์โดยตรงนั้นเป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวง

เนื่องจากเลนส์ตา (ที่ติดตัวทุกคนมาตั้งแต่เกิดนั่นแหละ) เป็นเลนส์นูน มันจะรวมแสงของดวงอาทิตย์

แล้วโฟกัสเป็นความร้อนเผาจอประสาทตา ทำให้ตาบอดได้ทันที หรือไม่ก็จะมีผลต่อดวงตาในระยะยาว

อย่างที่เกิดกับครูใหญ่กาลิเลโอของพวกเรา ที่ต้องตาบอดในตอนอายุมาก

จริงอยู่ว่า ดวงอาทิตย์มีแสงจ้ามาก เราไม่สามารถที่จะจ้องมองโดยไม่หลบตาได้ แต่อย่าลืมว่า ถ้าเด็กบางคน

อยากเห็นปรากฏการณ์จริง ๆ จะพยายามจ้องมองเพื่อให้เห็น โดยไม่คลาดสายตา จะอันตรายมากนะครับ

ดังนั้น การสังเกตสุริยุปราคา จะต้องมีอุปกรณ์ในการดูนะครับ อุปกรณ์ที่ว่าก็ทำเองง่าย ๆ คุณครูอาจแนะนำ

ให้เด็ก ๆ ทำกัน เป็นกิจกรรมในการเรียนรู้ได้อีกวิธีหนึ่งนะครับ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้เป็นอย่างดี

มีหลายแบบลองดูว่าชอบแบบไหนนะครับ

1.1 ใช้กระจกใสนำมารมควันเทียน ให้เขม่าควันเทียนจับที่กระจกจนกระจกนั้นดำทึบ ก็จะใช้มองดวงอาทิตย์

ได้โดยตรง วิธีนี้เป็นวิธีที่ครูของผมแนะนำตั้งแต่สมัยที่ผมยังเป็นเด็ก (ราว ๆ 3 ทศวรรษมาแล้ว อิอิ)

วิธีนี้มีข้อเสียหลายอย่างคือ กระจกอาจแตกจากความร้อนในการรมควัน มันจะบาดมือเอานะ

และเขม่าที่จับบนผิวกระจกนั้น สกปรกอย่าบอกใครเชียว

1.2 ใช้ถุงพลาสติก (แบบที่แม่ค้าตักแกงขายนั่นแหละครับ) แล้วใช้สีสเปรย์กระป๋อง สีดำ (กระป๋องละประมาณ 50 บาท)

พ่นบนถุงพลาสติกให้หนาหลาย ๆ ชั้น (ปล่อยให้แห้งแล้วพ่นทับหลาย ๆ รอบ) ถ้าไม่แน่ใจว่าใช้ได้หรือยัง ก็ให้เอาปิดตา

แล้วมองดูรอบ ๆ ตัว ต้องมองไม่เห็นอะไรเลย หรือเห็นได้ลาง ๆ มาก ๆ แม้อยู่กลางแดด แล้วลองไปส่องดูดวงอาทิตย์ว่า

ให้แสงสีส้มนวลตาดีหรือไม่...

สีสเปรย์ต้องเป็นสีดำด้านนะครับ อย่าใช้สีดำมัน เพราะมันจะสะท้อนแสงและสะท้อนเงาตัวเองเวลาที่เอาไปส่องมอง

ข้อเสียของวิธีนี้คือ ถุงพลาสติกจะอ่อนตัวยวบยาบ เวลาที่เอาปิดตาแล้วส่องดูดวงอาทิตย์มันจะย้วย ดูดวงอาทิตย์ไม่สวย

และถุงพลาสติกบางยี่ห้อจะเป็นริ้ว ๆ เป็นทาง ๆ ตามแนวยาวของถุง เนื่องจากการผลิต ต้องเลือกแบบที่ไม่มีริ้ว ๆ นะครับ

แม้จะมีข้อเสียที่จะก่อความรำคาญในการส่องดูดวงอาทิตย์ แต่ถุงพลาสติกราคาถูกดีครับ

ให้เด็ก ๆ เอาไปทำได้ (ทั้งโรงเรียน) ในราคาไม่กี่บาท (แต่อย่าลืมว่าสีสเปรย์ก็แพงอยู่เหมือนกันนะ)

1.3 อัพเกรดจากข้อ 1.2 เปลี่ยนจากถุงพลาสติกเป็นแผ่นใสที่ใช้กับเครื่องฉายแผ่นใสแบบเหนือศีรษะ (Overhead Projector)

ถ้าจะให้ดีจริง ๆ ต้องเป็นแผ่นใสที่ใช้ถ่ายเอกสารได้ พ่นสีแล้วสีจะเนียนมาก เมื่อนำไปส่องดูดวงอาทิตย์จะเห็นสวยงาม

และไม่ย้วย อ่อนไปอ่อนมา ให้น่ารำคาญ

แต่ข้อเสียคือ แผ่นใสราคาแพงนะครับ แผ่นขนาด A4 เอามาตัดแล้วได้แค่ 3 ส่วน (ไม่ควรเล็กกว่านี้)

1.4 แบบไม่ต้องทำ ซื้ออย่างเดียว

แนะนำว่า ให้ไปที่ร้านขายเครื่องมือช่าง (ที่ขายลวดเชื่อม หรือเครื่องเชื่อมไฟฟ้า) แล้วขอซื้อกระจกดำ สำหรับเชื่อมไฟฟ้ามาใช้

กระจกที่ว่านี้ จะขนาดประมาณ 5 x 10 ซม (แค่พอปิดตามิด) ไม่แน่ใจว่าราคาเท่าไร เพราะซื้อมาหลายปีแล้ว จำไม่ได้ครับ

และราคาก็อาจปรับเปลี่ยนไปแล้ว แต่ไม่แพงมากครับ เดาว่าราคาน่าจะประมาณก๋วยเตี๋ยวสัก 1 ชามคงจะได้

ข้อเสียของกระจกเชื่อมไฟฟ้า คือ แม้ว่าเราจะเรียกมันว่ากระจกดำ แต่ความจริงแล้วมันเป็นกระจกสีเขียวครับ

ดังนั้นเมื่อเอาไปส่องดูดวงอาทิตย์ จะเห็นมันเป็นสีเขียว แทนที่จะเป็นสีส้มเหมือนกับ 3 แบบแรก

แต่กระจกเชื่อมไฟฟ้านี้ สามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ได้ชัดเจนมาก ๆ คมชัดสวยงามมาก แต่สีผิดธรรมชาติเท่านั้นเอง...

อีกเรื่องหนึ่งที่อยากเขียนเพิ่มเติมก็คือ

จินตนาการของเด็กน้อยนั้น บรรเจิดกว่าที่เราจะเข้าใจมากนัก แม้เราจะเคยเป็นเด็กก็เถอะ... เราจะเข้าใจเขาแค่ไหน

เมื่อพูดถึงสุริยุปราคา หรือ สุริยคราสแล้ว เด็ก ๆ จะจินตนาการว่า ดวงอาทิตย์จะต้องมืดดำสนิท

บรรยากาศโดยรอบจะต้องมืดมนเหมือนกลางคืน ... นี่เป็นจินตนาการของเด็ก ๆ ที่ผมสัมผัสมาด้วยตนเอง

แต่สุริยุปราคาที่จะเกิดในวันที่ 26 มกราคมนี้ ในประเทศไทยจะเห็นดวงจันทร์ตัดหน้าดวงอาทิตย์แบบเฉียด ๆ ไปข้าง ๆ

ไม่ได้ตัดผ่านจุดศูนย์กลางดวงอาทิตย์ แม้ในขณะที่ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์มากที่สุด ในเวลาประมาณ 16:50 น.

ดวงจันทร์ก็จะบังดวงอาทิตย์แค่ประมาณ 20-25 % ของดวงอาทิตย์เท่านั้น หมายความว่า แดดยามบ่ายก่อน 5 โมงเย็น

นั้นก็จะไม่มืดไปเท่าไร แต่แดดจะอ่อนลงไปบ้าง สำหรับคนที่รู้ก็จะเห็นว่าแดดอ่อนลงไป แต่คนที่ไม่รู้ ก็จะไม่รู้หรอกว่าขณะนั้น

ได้เกิดสุริยุปราคาแล้ว เหมือนกับตอนที่เกิดในเดือนสิงหาคม ปีที่แล้ว คนที่ไม่รู้ข่าวสาร ก็ไม่มีทางรู้ได้เลย

ดังนั้น ขอความกรุณาคุณครู อธิบายให้เด็ก ๆ เข้าใจ และสนใจในการสังเกตการเคลื่อนตัวของดวงจันทร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์

จะดีกว่าที่เด็ก ๆ จะเฝ้ารอการมืดมนของท้องฟ้า ซึ่งในวันดังกล่าว ท้องฟ้าในประเทศไทยจะไม่สามารถมืดลงในขณะเกิดปรากฎการณ์ได้

ผลก็คือจะทำให้ เด็ก ๆ ผิดหวังกับการรอคอยท้องฟ้ามืดในเวลากลางวัน และไม่เห็นคุณค่าของการสังเกตการณ์ปรากฎการณ์ทาง

วิทยาศาสตร์แต่อย่างใด เพราะว่ามันผิดไปจากจินตนาการและมโนทัศน์ของเด็ก

เรามาช่วยกันรักษาจินตนาการของเด็ก ๆ ไม่ให้เขาผิดหวังในการสังเกตปรากฏการณ์

เพื่อความก้าวหน้าในอนาคตของนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อย ๆ เหล่านี้นะครับ

อีกเรื่องหนึ่งที่อยากเขียนเพิ่มเติมก็คือ

จินตนาการของเด็กน้อยนั้น บรรเจิดกว่าที่เราจะเข้าใจมากนัก แม้เราจะเคยเป็นเด็กก็เถอะ... เราจะเข้าใจเขาแค่ไหน

เมื่อพูดถึงสุริยุปราคา หรือ สุริยคราสแล้ว เด็ก ๆ จะจินตนาการว่า ดวงอาทิตย์จะต้องมืดดำสนิท

บรรยากาศโดยรอบจะต้องมืดมนเหมือนกลางคืน ... นี่เป็นจินตนาการของเด็ก ๆ ที่ผมสัมผัสมาด้วยตนเอง

แต่สุริยุปราคาที่จะเกิดในวันที่ 26 มกราคมนี้ ในประเทศไทยจะเห็นดวงจันทร์ตัดหน้าดวงอาทิตย์แบบเฉียด ๆ ไปข้าง ๆ

ไม่ได้ตัดผ่านจุดศูนย์กลางดวงอาทิตย์ แม้ในขณะที่ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์มากที่สุด ในเวลาประมาณ 16:50 น.

ดวงจันทร์ก็จะบังดวงอาทิตย์แค่ประมาณ 20-25 % ของดวงอาทิตย์เท่านั้น หมายความว่า แดดยามบ่ายก่อน 5 โมงเย็น

นั้นก็จะไม่มืดไปเท่าไร แต่แดดจะอ่อนลงไปบ้าง สำหรับคนที่รู้ก็จะเห็นว่าแดดอ่อนลงไป แต่คนที่ไม่รู้ ก็จะไม่รู้หรอกว่าขณะนั้น

ได้เกิดสุริยุปราคาแล้ว เหมือนกับตอนที่เกิดในเดือนสิงหาคม ปีที่แล้ว คนที่ไม่รู้ข่าวสาร ก็ไม่มีทางรู้ได้เลย

ดังนั้น ขอความกรุณาคุณครู อธิบายให้เด็ก ๆ เข้าใจ และสนใจในการสังเกตการเคลื่อนตัวของดวงจันทร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์

จะดีกว่าที่เด็ก ๆ จะเฝ้ารอการมืดมนของท้องฟ้า ซึ่งในวันดังกล่าว ท้องฟ้าในประเทศไทยจะไม่สามารถมืดลงในขณะเกิดปรากฎการณ์ได้

ผลก็คือจะทำให้ เด็ก ๆ ผิดหวังกับการรอคอยท้องฟ้ามืดในเวลากลางวัน และไม่เห็นคุณค่าของการสังเกตการณ์ปรากฎการณ์ทาง

วิทยาศาสตร์แต่อย่างใด เพราะว่ามันผิดไปจากจินตนาการและมโนทัศน์ของเด็ก

เรามาช่วยกันรักษาจินตนาการของเด็ก ๆ ไม่ให้เขาผิดหวังในการสังเกตปรากฏการณ์

เพื่อความก้าวหน้าในอนาคตของนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อย ๆ เหล่านี้นะครับ

อีกเรื่องหนึ่งที่อยากเขียนเพิ่มเติมก็คือ

จินตนาการของเด็กน้อยนั้น บรรเจิดกว่าที่เราจะเข้าใจมากนัก แม้เราจะเคยเป็นเด็กก็เถอะ... เราจะเข้าใจเขาแค่ไหน

เมื่อพูดถึงสุริยุปราคา หรือ สุริยคราสแล้ว เด็ก ๆ จะจินตนาการว่า ดวงอาทิตย์จะต้องมืดดำสนิท

บรรยากาศโดยรอบจะต้องมืดมนเหมือนกลางคืน ... นี่เป็นจินตนาการของเด็ก ๆ ที่ผมสัมผัสมาด้วยตนเอง

แต่สุริยุปราคาที่จะเกิดในวันที่ 26 มกราคมนี้ ในประเทศไทยจะเห็นดวงจันทร์ตัดหน้าดวงอาทิตย์แบบเฉียด ๆ ไปข้าง ๆ

ไม่ได้ตัดผ่านจุดศูนย์กลางดวงอาทิตย์ แม้ในขณะที่ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์มากที่สุด ในเวลาประมาณ 16:50 น.

ดวงจันทร์ก็จะบังดวงอาทิตย์แค่ประมาณ 20-25 % ของดวงอาทิตย์เท่านั้น หมายความว่า แดดยามบ่ายก่อน 5 โมงเย็น

นั้นก็จะไม่มืดไปเท่าไร แต่แดดจะอ่อนลงไปบ้าง สำหรับคนที่รู้ก็จะเห็นว่าแดดอ่อนลงไป แต่คนที่ไม่รู้ ก็จะไม่รู้หรอกว่าขณะนั้น

ได้เกิดสุริยุปราคาแล้ว เหมือนกับตอนที่เกิดในเดือนสิงหาคม ปีที่แล้ว คนที่ไม่รู้ข่าวสาร ก็ไม่มีทางรู้ได้เลย

ดังนั้น ขอความกรุณาคุณครู อธิบายให้เด็ก ๆ เข้าใจ และสนใจในการสังเกตการเคลื่อนตัวของดวงจันทร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์

จะดีกว่าที่เด็ก ๆ จะเฝ้ารอการมืดมนของท้องฟ้า ซึ่งในวันดังกล่าว ท้องฟ้าในประเทศไทยจะไม่สามารถมืดลงในขณะเกิดปรากฎการณ์ได้

ผลก็คือจะทำให้ เด็ก ๆ ผิดหวังกับการรอคอยท้องฟ้ามืดในเวลากลางวัน และไม่เห็นคุณค่าของการสังเกตการณ์ปรากฎการณ์ทาง

วิทยาศาสตร์แต่อย่างใด เพราะว่ามันผิดไปจากจินตนาการและมโนทัศน์ของเด็ก

เรามาช่วยกันรักษาจินตนาการของเด็ก ๆ ไม่ให้เขาผิดหวังในการสังเกตปรากฏการณ์

เพื่อความก้าวหน้าในอนาคตของนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อย ๆ เหล่านี้นะครับ

เข้ามาอ่าน ข้อมูล ที่ นี่

โครตได้ ความรู้เลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท