การทำงานแบบสหวิชาชีพ ???


"ผมพูดอย่างนี้เพื่อให้ท่านดูตนเอง ว่าทำอะไร ทำทำไม มีวิธีการที่ดีกว่าหรือไม่ เราจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของเราเอง ไม่ใช่เพื่อ HA แต่เพื่อท่านเอง"

          ได้อ่านเรื่อง "การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย" ของ ศ. นพ. สงวนสิน   รัตนเลิศ (หลายท่านในบำราศฯ คงจำได้ เพราะอาจารย์มา Survey เราเมื่อ 1 - 2 ก.พ. 2549) จากจดหมายข่าวเพื่อการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล Quality Care ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 (83) พฤศจิกายน - ธันวาคม 2548 มีรายละเอียดที่น่าสนใจและน่านำมาเป็นแบบอย่าง เช่น การใช้ C3THER ในการทำ Discharge planning และการใช้รูปแบบ 4 C  แต่ติดใจตรงที่อาจารย์เขียนว่า "อย่าให้แพทย์ต้องเซ็นในแบบบันทึกการวางแผนผู้ป่วย เพราะเป็นอะไรที่ซ้ำซ้อน แพทย์เขียนลงในใบ Order และเขียนในใบ Progress note ก็เพียงพอแล้ว"

          ถ้าไม่เคยอ่านข้อคิดและคำคมของ Tony (Anthony Wagemakers : ชาวแคนาดาที่ชาวโรงพยาบาลในประเทศไทยจำนวนมากรู้จัก) เรื่อง "มาเขียนสิ่งที่จำเป็น" ก็จะสงสัยว่า "ทำไมล่ะ คุณหมอก็ช่วยกันเขียน ช่วยกันเซ็นหน่อยไม่ได้หรือ ?"

          เรื่อง "มาเขียนสิ่งที่จำเป็น" ของ Anthony Wagemakers เมื่อ 18 มีนาคม 2541 มีดังนี้

          "โรงพยาบาลมักจะมีปัญหาเรื่องการบันทึกเวชระเบียน มักจะบ่นให้ที่ปรึกษาฟังว่าเป็นงานที่เหนื่อยและใช้เวลามาก แต่พอที่ปรึกษาขอดูเวชระเบียน ก็พบว่าสิ่งที่บันทึกนั้นยังขาดข้อมูลที่สำคัญอีกไม่น้อย คุณ Tony ใช้หลักการกระตุ้นให้ทบทวนตัวเองดังนี้

          อะไรเป็นสิ่งที่สำคัญในการบันทึกเวชระเบียน Progress note ของแพทย์มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่เข้า ICU มีเหตุผลอะไรที่ต้องเข้า ICU ได้ทำอะไรกับผู้ป่วย และผู้ป่วยมีการตอบสนองอย่างไร

          ถ้าผู้ป่วยเสียชีวิตภายใน 2 - 3 วัน แล้วยังไม่มีการบันทึกว่าการเสียชีวิตนั้นสามารถป้องกันได้หรือไม่ อะไรเป็นเหตุผลของการรักษาไม่มีเอกสารที่จะสนับสนุน เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงมาก ระบบกฎหมายเป็นลูกค้าภายนอก ต้องการรู้ว่าทำไมแพทย์จึงตัดสินใจบางสิ่งบางอย่าง สิ่งที่เรามีคือเวชระเบียน ผมรู้ในข้อจำกัดของแพทย์ ไม่จำเป็นที่แพทย์ต้องบันทึกทุกอย่าง เมื่อแพทย์ไปดูผู้ป่วยจะมีพยาบาลไปดูด้วย ถ้าแพทย์บอกพยาบาลว่าผู้ป่วยมีการตอบสนองอย่างไร พยาบาลสามารถบันทึกในเวชระเบียนได้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเขียนโดยแพทย์ สามารถเขียนโดยพยาบาลได้ แต่ต้องมีการสื่อสารที่ดีระหว่างแพทย์กับพยาบาล

          ผมพูดอย่างนี้เพื่อให้ท่านดูตนเอง ว่าทำอะไร ทำทำไม มีวิธีการที่ดีกว่าหรือไม่ เราจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของเราเอง ไม่ใช่เพื่อ HA แต่เพื่อท่านเอง"

          ข้อคิดที่ได้จากบทความทั้ง 2 เรื่องคือ "การทำงานแบบสหวิชาชีพ" การพึ่งพาอาศัยกันเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ...........ใช่หรือไม่ ???

 

คำสำคัญ (Tags): #งานคุณภาพ#hahph
หมายเลขบันทึก: 23477เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2006 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น่าจะทำสัมมนาว่าแพทย์และพยาบาลจะคิดเรื่องนี้อย่างไรด้วย

ประชาสัมพันธ์ร่วมสร้างคนดี

- ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม เป็นวิทยากรอบรมธรรมะ โครงการอิ่มบุญ วุฒิสภา ๙๙๙ วัด เยาวชนปฏิบัติธรรม ระยะเวลา ๓ วัน ๒ คืน

๑. ค่ายวัยใส ใฝ่คุณธรรม นำพ้นภัย ยาเสพติด

๒. ค่ายพุทธบุตร

อบรมบุคลากรในหน่วยงาน

๑. การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

๒. พัฒนาจิต พิชิตงาน เบิกบานใจ สอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม อีเมล [email protected] โทรศัพท์ ๐๘๙๔๘๔๑๙๗๓

ประชาสัมพันธ์ร่วมสร้างคนดี - ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม เป็นวิทยากรอบรมธรรมะ โครงการอิ่มบุญ วุฒิสภา ๙๙๙ วัด เยาวชนปฏิบัติธรรม ระยะเวลา ๓ วัน ๒ คืน ๑. ค่ายวัยใส ใฝ่คุณธรรม นำพ้นภัย ยาเสพติด ๒. ค่ายพุทธบุตร อบรมบุคลากรในหน่วยงาน ๑. การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ๒. พัฒนาจิต พิชิตงาน เบิกบานใจ สอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม อีเมล [email protected] โทรศัพท์ ๐๘๙๔๘๔๑๙๗๓

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท