งานบรรณาธิการกิจ หลักสูตรอบรมครูสาระโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ


การที่ครูหมั่นศึกษาเพิ่มเติมนั้น นับเป็นการสร้างกุศลแก่นักเรียน

จะว่าไปโครงการอบรมครูนี้ก็มีมายาวนาน และโครงการนี้ออกจะพิเศษตรงที่จัดเป็นหลักสูตรต่อเนื่องสามปี และปีนี้จะเป็นการดำเนินการเป็นปีสุดท้าย หลังจากอบรมมาแล้วสองปี

แนะนำโครงการสักเล็กน้อยนะครับ สืบเนื่องจากผลการเรียนของนักเรียนด้านวิทย์ คณิต สังคม ภาษาไทย ...(ทุกเรื่องกระมัง) ตกต่ำอย่างน่าใจหาย (ไม่เห็นจะน่าตกใจ...) สพท. สสวท. และ สกอ. จึงได้สรรสร้างโครงการดีมีคุณภาพ (อีกแล้วครับท่าน) วางโครงการอบรมครูโดยเน้นจังหวัดนำร่อง(มาให้ทดลองซะดีดี)และสร้างหลักสูตรการอบรมในสาขาต่างๆ โดยจัดเป็นสามหลักสูตร ดำเนินการสามปี (ครอบคลุม2549-2554) และแบ่งหลักสูตรไปตามช่วงชั้น

ก็จะสามารถเล่าได้เฉพาะเนื้อหาที่กระผมเกี่ยวข้องก็แล้วกันนะครับ ก็คือ สาระโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ สำหรับช่วงชั้นที่ 3 และ 4 ปีนี้ผมเข้าร่วมทีมช่วงชั้นที่ 3 เป็นปีแรก ก็เพราะเพิ่งถึงเนื้อหาดาราศาสตร์แบบจังๆ ส่วนช่วงชั้นที่ 4 ก็ เข้ามายุ่งเกี่ยวตั้งแต่แรก

สำหรับช่วงชั้นที่ 3 นั้น ในปีนี้ส่วนของเนื้อหาดาราศาสตร์ ทีจะจัดอบรมนับว่ามีความสนุกน่าสนใจมาก ประกอบด้วยเรื่องระบบสุริยะ โลก ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ กลุ่มดาวฤกษ์และการใช้แผนที่ดาว ซึ่งการจัดเนื้อหาก็ยังเน้นที่กิจกรรมที่เป็นแบบ active learning ผ่านกระบวนการสอนแบบ 5Es ซึ่งหากผู้เข้ารับการอบรมได้รับประสบการณ์นี้ก็น่าจะสามารถนำไปถ่ายทอดได้อย่างสนุกสนาน ร่าเริงบันเทิงใจ

มาเจาะกันรายเรื่องนะครับ

ระบบสุริยะ ว่าด้วยกำเนิดระบบสุริยะด้วยจากเนบิลาเป็นระบบสุริยะ สมาชิกของระบบสุริยะ ความแตกต่างของดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ เรื่องที่ดูเหมือนจะเป็นการบรรยายอย่างเดียวนี้ ทีมงานได้รังสรรค์กิจกรรมการเรียนขึ้นมาอย่างไม่อาจละวางสายตาได้

โลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ เรื่องนี้เป็นสุดยอดความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่ผมทำวิจัยมาหลายปี โดยเฉพาะเรื่องข้างขึ้นข้างแรม ที่เข้าใจได้ยาก เหตุเพราะความเป็นสามมิติของมัน ทำให้อ่านหนังสือแล้ว งง งานนี้ต้องเจอ...ประสบการณ์ตรงๆ...ทีมงานเราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก แถมด้วยการออกแบบบทเรียนอนิเมชันด้วยคอมพิวเตอร์ สนับสนุนการเรียนเพิ่มเติมอีก งานนี้เรียนแล้วไม่เข้าใจล่ะก็..ต้องโทษ กรรมเก่า...ล่ะมัง ฮ่า

กล้องโทรทรรศน์ ปีนี้ สสวท. ใจป้ำเหลือหลาย ซื้อกล้องแจกศูนย์อบรม เพื่อให้ถอดประกอบในการศึกษาให้หนำใจ และสาแก่ใจของผู้เข้าอบรม แต่เนื่องจากช่วงที่จัดการอบรมอาจตรงกับช่วงท้องฟ้าไม่เป็นใจ จึงไม่ได้วางตารางการจัดการอบรม

กลุ่มดาวฤกษ์และการใช้แผนที่ดาว ความสนุกสนานของการเรียนดาราศาสตร์อย่างหนึ่งก็คือการได้ดูและรู้จักกลุ่มดาว กิจกรรมนี้ศึกษาการดูดาวประกอบการใช้แผนที่ดาว ผ่านการใช้ hypermedia environment (ก็คือเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ด้วย...ก็แค่นั้นแหล่ะ เรียกให้ดูมีการศึกษานิดหน่อย)

เวลาสำหรับสาระดาราศาสตร์ก็คือ หกชั่วโมงครับ หรือวันเดียวนั่นเอง...ฮ่า... แล้วจะรู้เรื่องกันไหมเนี่ย...

การประชุมสำหรับหลักสูตร ม.ปลาย หรือช่วงชั้นที่ 4 จะเริ่มวันจันทร์หน้าครับ แล้วจะมาแถลงข่าวในลำดับต่อไปครับ

ภาพกิจกรรมการอบรมครูช่วงชั้นที่ 4 สาระโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ศูนย์ ม.ขอนแก่น ปีที่แล้ว (2551)

หมายเลขบันทึก: 234513เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2009 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

  • ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ
  • ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ เด็กพิษโลก
  • ขอแนะนำ ผู้มีอุปการะคุณของโรงเรียนพี่คิมค่ะ
  • http://www.sunflowercosmos.org/index.html

แถวภาคใต้ตอนล่างมีโครงการแบบนี้บ้างไหมครับ

เวลาโอ๊ฆเอาเรื่องดาราศาสตร์ไปเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง เพื่อนว่าโอ๊ฆบ้าทุกที

โอ๊ฆอยากให้เพื่อนๆ รู้เรื่องดาราศาสตร์บ้าง

- รบกวนถามเรียนถามว่าจังหวัดนำร่องมีจังหวัดอะไรบ้างครับ

- ในภาคใต้มีจังหวัดอะไรบ้าง

- หลังจากจบ Phase แรกแล้ว จะมี Phase 2 อีกหรือไม่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท