ภาษาไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้


ภาษาไทย

         เมื่อกล่าวถึงจังหวัดชายแดนภาคใต้ หลายคนคงนึกถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม อัตลักษณ์และวิถีชีวิตที่มีลักษณะเฉพาะ และภาพของการใช้ภาษาไทย ไม่ว่าจะเป็นการพูด อ่าน หรือเขียน คงจะด้อยกว่าภูมิภาคอืนๆ  ซึง่ความจริงแล้ว ผู้คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะปัตตานี ยะลาและนราธิวาส  มีการใช้ภาษาไทยกันอย่างแพร่หลาย โดยมีปัจจัยต่อไปนี้เข้าไปมีอิทธิพล เช่น

  • การศึกษาของประชาชนในพื้นที่สูงขึ้น มีผู้จบการศึกษาภาคบังคับหรือปริญญาตรีมากขึ้น
  • อิทธิพลของโทรทัศน์ ที่เป็นปัจจัยในการสื่อสารที่ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยได้ โดยเฉพาะทักษะการฟัง
  • การเร่งรัดการจัดกระบวนการเรียนการสอน โดยเฉพาะ การเรียนรู้แบบสองภาษา (ไทย-มาลายุ) ซึ่งทดลองใช้แล้วได้ผล ที่จะส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาไทยผ่านภาษามาลายู
  • เทคโนโลยีอื่นๆที่สื่อสารโดยใช้ภาษาไทย ทำให้อัตราการรู้หนังสือเพิ่มขึ้น

        อย่างไรก็ตาม การใช้ภาษาไทย  ภาษามาลายูท้องถิ่น  ภาษาไทยภาคใต้ หรือภาษามาลายูกลาง ไม่ใช่เป็นตัวแปร ที่แสดงว่าคนไม่มีความรู้ แต่นั่นเป็นความสง่างามอันหนึ่งของชายแดนใต้ ที่มีผู้คนมีความรู้หลายๆภาษา ในอันที่จะสื่อสารกันได้ เพื่อการดำรงชีวิต และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขตามมา โดยใช้ประโยชน์ของการแสวงหาซึ่งองค์ความรู้มาจัดการในการอยู่ร่วมกัน

คำสำคัญ (Tags): #ภาษาไทย
หมายเลขบันทึก: 234181เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2009 20:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท