ดีใหญ่ หรือ ดีเล็ก


การทำความดีใหญ่ หรือ ดีเล็ก มีอะไรเป็นเครื่องวัด

            คนเรายังยึดติดอยูในปริมาณอยู่มาก จะทำอะไรก็ต้องคำนึงถึงปริมาณที่ทำไปว่ามากหรือน้อย ในการวัดคุณภาพ ปริมาณงาน หรือตัวชี้วัดต่าง ๆ จึงนำตัวเลขมาเป็นเครื่องชี้วัดเป็นสำคัญ

            การเลื่อนขั้นเงินเดือนก็เช่นกันต้องดูผลการประเมินว่าอยู่ในเกณฑ์ พอใช้ ดี หรือดีมาก มาเป็นองค์ประกอบในการพิจารณา

            การสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ขึ้นดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น ก็ดูจากผลคะแนนการสอบว่าผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้หรือไม่

           การทำความดีก็เช่นกัน เราจะเอาเครื่องมือใดมาวัดว่า ความดีที่ทำนั้นเป็นความดีที่ยิ่งใหญ่ หรือความดีเล็ก จะนำอะไรมาเป็นเกณฑ์ในการวัดความดีดังกล่าว เป็นเรื่องที่น่าคิด

            บุคคลทั่วไปจะคิดว่า ความดีใดที่เราลงทุน ลงแรง เสียเงินทองมากมาย ความดีที่ทำนั้นจะต้องได้ผลอันยิ่งใหญ่ หากความดีใดทำไปเสียเงินทองเพียงเล็กน้อย  ก็เป็นความดีน้อย

            บางท่านอาจคิดว่า การที่เราได้ไปทำบุญกับพระสงฆ์องค์เจ้า ที่ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบ ย่อมจะได้บุญมากกว่าไปทำบุญกับพระธรรมดาทั่ว ๆ ไป

             สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ก็ดี จะทำให้ทานนั้นมีบุญมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญ (วีธีสร้างบุญบารมี : สมเด็จพระญาณสังวร ) ซึ่งเกี่ยวข้องในการทำความดี หรือทำทาน ดงนี้

 

            1. ให้ทานแก่สัตว์เดรัจฉาน แม้จะมากถึง 100 คร้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีล

            2. ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัย แม้จะให้มากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานแก่ผู้มีศีล 5  แม้จะให้เพียงครั้งเดียว

            3. ให้ทานแก่ผู้มีศีล 5 แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้มีศีล 8 แม้จะให้เพียงครั้งเดียว

             4. ให้ทานแก่ผู้มีศีล 10  แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ซึ่งมีศีลปาฎิโมกข์สังวร 227 ข้อ

              5. การให้ทานแม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "อภัยทาน " แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทาน ก็คือการไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน

               นอกจากนี้ท่านเหลี่ยวฝานได้ให้โอวาทไว้ว่า การทำความดี ไม่ว่าจะเป็นความดีมากหรือน้อยเพียงใด  ก็ขึ้นอยู่กับเจตนาในการทำความดี  หากทำความดีเพื่อชนหมู่ใหญ่แล้ว  แม้จะเป็นเรื่องเล็ก แต่กระทำเพื่อชนหมู่ใหญ่แล้ว  ความดีนั้นก็ใหญ่หลวงยิ่งนัก  หากทำความดีนั้นเพื่อตนเองแล้ว แม้จะทำความดีย่งใหญ่ขนาดไหน  ก็ได้ผลน้อย

               การทำความดีในทางศาสนาจึงคำนึงถึงเนื้อนาบุญเป็นหลักว่านาบุญที่ทำนั้นเป็นผู้ศีลมากหรือน้อย ถ้าเนื้อนาบุญที่ทำนั้นบรรลุผลสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วยิ่งได้บุญมาก แต่ถ้าพิจารณาในเรื่องเจตนาของผู้กระทำ หากทำเพื่อชนหมู่มากแล้ว ย่อมได้บุญมาก

               เป็นข้อที่น่าพิจารณาเป็นอย่างยิ่งว่า ทำความดีอย่างไรจึงจะได้บุญที่ยิ่งใหญ่ หรือได้บุญเพียงเล็กน้อย ควรที่ผู้กระทำความดีจะพึงพิจารณา

                 ความเชื่อ ...ความศรัทธา...ของแต่ละคนจึงเป็นสิ่งสำคัญมิใช่น้อย

           

          

คำสำคัญ (Tags): #ทำความดี
หมายเลขบันทึก: 233310เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2009 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

"หากทำความดีเพื่อชนหมู่ใหญ่แล้ว  แม้จะเป็นเรื่องเล็ก แต่กระทำเพื่อชนหมู่ใหญ่แล้ว  ความดีนั้นก็ใหญ่หลวงยิ่งนัก"
  เพียงหวัง...สักครั้งว่าจะมีความดีที่ยิ่งใหญ่  เพราะอยากทำ....จึงมีความหวัง ...

  • ขอบคุณอาจารย์พยอม
  • ขอให้มีความสุขตลอดปี 2552 ครับ

สวัสดีปีใหม่ 2552 ค่ะคุณศรีกมล

  •  การทำความดีที่ยิ่งใหญ่ จึงเป็นการทำความดีด้วยใจใช่ไหมค่ะ
  • แม้ว่าจะใหญ่หรือเล็ก หากใจอยากทำดี ... ก็คือความดีเช่นกัน
  • การทำความดี ไม่ว่าจะเป็นความดีมากหรือน้อยเพียงใด  ก็ขึ้นอยู่กับเจตนาในการทำความดี  หากทำความดีเพื่อชนหมู่ใหญ่แล้ว  แม้จะเป็นเรื่องเล็ก แต่กระทำเพื่อชนหมู่ใหญ่แล้ว  ความดีนั้นก็ใหญ่หลวงยิ่งนัก  หากทำความดีนั้นเพื่อตนเองแล้ว แม้จะทำความดีย่งใหญ่ขนาดไหน  ก็ได้ผลน้อย
  • ขอบคุณค่ะ

          

  • ขอบคุณคุณสีตะวันครับ
  • ทุกอย่างอยู่ที่ใจ ถ้าคิดดี ทำดี ทุกอย่างก็ล้วนดี ไม่ต้องยึดติดว่าความดีน้อยหรือมาก  ไม่เช่นนั้นก็ไม่ได้ทำดี

ป๊ะป๋า--หนูเจ็งเป้ง!!!!!!!

Passssss

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท