เจ้าจอมคำแว่น


นางเขียวค่อม

ประวัติเจ้าจอมคำแว่น

           เจ้าจอมแว่น หรือ คุณเสือ เป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังมีหน้าที่อภิบาลพระเจ้าลูกเธอที่ยังทรงพระเยาว์อย่างเข้มงวด จนได้รับฉายาว่า "คุณเสือ" เจ้าจอมแว่น นามเดิมคือนางคำแว่น ธิดาเพี้ยเมืองแพน เชื้อสายกษัตริย์ เมืองเวียงจันทน์ มีพี่น้องร่วม บิดามารดา 4 ท่าน คือ

     1.นางคำแว่น ต่อมาเป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

      2.ท้าวจาม เสียชีวิตที่เมืองขอนแก่น

      3.ท้าวผาม เสียชีวิตที่เวียงจันทน์

      4.หญิงไม่ปรากฏนาม ต่อมาเป็นภรรยาท้าวคำบง ซึ่งต่อมาเป็นเจ้าเมืองขอนแก่นต่อจากเพี้ยเมืองแพน

          เจ้าจอมแว่น เป็นชาวเวียงจันทน์ ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มาตั้งแต่ พ.ศ. 2322 ขณะยังดำรงพระยศเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เมื่อครั้งทรงเป็นแม่ทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ เมื่อ พ.ศ. 2321 ได้เชิญเสด็จพระราชบุตรในพระเจ้าศิริบุญสาร (องค์บุญ) มายังสยาม โดยประกอบด้วย เจ้านันทเสน เจ้าอินทวงศ์ และเจ้าอนุวงศ์ แต่ เจ้าพรหมวงศ์ พระอนุชา ได้หลบหนีไปเมืองอื่นเสีย ในการเดียวกันนี้ยังได้รับนางคำแว่น เป็นชายาในเวลาเดียวกันนั้น อีกทั้งกวาดต้อนชาวลาวพร้อมทั้งทรัพย์สมบัติ กลับมายังกรุงธนบุรีหลังกลับจากเวียงจันทน์แล้วท่านผู้หญิงนาคมาก มีปากเสียงกับสมเด็จเจ้าพระยาฯด้วยเรื่องคุณแว่นนี้อยู่บ่อยๆ จนคืนหนึ่งท่านผู้หญิงถือดุ้นแสมไปยืนคอยดักอยู่ในที่มืดบนนอกชานเรือน พอคุณแว่นเดินออกมาจากเรือนหลังใหญ่อันเป็นที่อยู่ของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ท่านผู้หญิงก็เอาดุ้นแสมตีหัว คุณแว่นก็ร้องขึ้นว่า "เจ้าคุณเจ้าขา คุณหญิงตีหัวดิฉัน" สมเด็จเจ้าพระยาฯก็โกรธยิ่งนัก ฉวยดาบออกจากเรือนจะมาฟันท่านผู้หญิง ฝ่ายท่านผู้หญิงก็วิ่งเข้าเรือนแล้วปิดประตูลั่นดาลไว้ สมเด็จเจ้าพระยาฯยังไม่หายโกรธ ก็เอาดาบฟันประตูอยู่โครมๆ เมื่อคุณฉิมเห็นเจ้าคุณพ่อและคุณแม่ทะเลาะกันใหญ่โตเช่นนั้น ก็รีบหาหีบไม้ต่อที่ใต้หน้าต่าง รับตัวคุณแม่ลงมาพาหลบหนีออกจากบ้านไปอยู่ในพระราชวังของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ให้ซ่อนตัวอยู่ในตำหนักเจ้าจอมฉิมใหญ่ ซึ่งเป็นพระราชธิดาของท่านนาคเอง แม้จะกลับมาสู่ทำเนียบ แต่ท่านหาได้คืนดีกับสมเด็จเจ้าพระยาฯไม่ ต่างคนต่างอยู่ต่างเคารพในฐานะของกันและกัน เมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯได้ปราบดาภิเษก สถาปนาราชวงศ์ขึ้นใหม่ ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร และพระบรมมหาราชวังขึ้น แต่สมเด็จพระอมรินทราฯก็มิได้เคยเสด็จเข้ามาประทับในพระบรมมหาราชวังเลย ประทับอยู่ที่บ้านเดิมจนสวรรคต เจ้าคุณเสือ - เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1 เจ้าจอมแว่น ต่างหากผู้ที่เป็นข้าบาทรับใช้ใกล้ชิดตลอดมา เมื่อครั้งเสด็จผ่านพิภพขึ้นเป็นปฐมวงศ์จักรี เจ้านางคำแว่น จึงได้รับสถาปนาขึ้นเป็นที่ เจ้าจอม(แว่น) พระสนมเอก และโปรดให้รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทจนชาววังยกย่องเป็น เจ้าคุณข้างใน (เจ้าคุณองค์แรกในจักรีวงศ์) ความกล้าหาญของท่านยังเป็นที่ประจักษ์ต่อไปเมื่อ เมื่อ พ.ศ. 2339 พระบาทสมเด็จพระเจ้าพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกหาราช จากการว่าราชการเมืองพระองค์คงจะเหน็ดเหนื่อยพระวรกาย ขณะหลับก็เกิดละเมอขึ้น(พระสุบิน) ทำให้ข้าราชบริพารตกใจ ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรขณะนั้นเจ้าจอมแว่นใช้ความหาญกล้า ตัดสินใจกัดนิ้วพระบาท จนพระเจ้าอยู่หัวทรงรู้สึกพระองค์และตื่นบรรทม เจ้าจอมแว่นได้รับความดีความชอบและเป็นที่โปรดปราณของพระองค์ เจ้าจอมแว่น ได้รับราชการในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกอย่างใกล้ชิด แต่มิได้ให้ประสูติพระราชบุตร เป็นผู้ถวายการอภิบาลพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี อย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีเชื้อสายเป็นชาวเวียงจันทน์เหมือนกัน นอกจากนั้นยังเป็นได้ถวายการอภิบาลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ประสูติแต่เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี อีก 3 พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าอาภรณ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากลาง (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์) และสมเด็จเจ้าฟ้าปิ๋ว เจ้าจอมแว่นยังมีความสามารถในการปรุงอาหารยิ่งนัก ดังปรากฏเป็นตำนานว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช นั้นโปรดเสวยไข่เหี้ยเป็นอย่างยิ่ง อยู่มาวันหนึ่งก็โปรดจะเสวย แต่ไม่มีใครสามารถหาได้เลย เพราะไม่ใช่ฤดูกาลเหี้ยวางไข่ เจ้าจอมแว่น จึงประดิษฐ์ "ขนมไข่เหี้ย" ขึ้นตั้งเครื่องถวายแทนต่อมาหลายท่านเรียกขนมไข่เหี้ยด้วยชื่อใหม่ที่ฟังดูหรูหราว่า"ขนมไข่หงส์" เมื่อเมื่อครั้งทำบุญใหญ่ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม รัชกาลที่ 1 ได้ทรงโปรดให้เลิกข้าวทาขนมจีนเลี้ยงพระสงฆ์นับพันรูปถึงวันละเกวียน โดยเจ้าจอมแว่นผู้มีชื่อเสียงในการปรุงน้ำยาที่สุดในสมันนั้น ได้เป็นผู้ปรุงถวายพระในการเลี้ยงนี้เอง เจ้าคุณเสือ ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณสืบมาจวบจนวาระสุดท้ายในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ ๒ โดยมิได้มีพระหน่อเจ้าสืบสกุล

หมายเลขบันทึก: 233054เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2009 14:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท