วัฒนธรรมคุณภาพในการบริหารจัดการหลักสูตร


หากหวังให้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเยาวชนของประเทศ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องจริงจังกับการใช้หลักสูตรใหม่ “ไม่มีอะไรยิ่งใหญ่เท่ากับ การจริงจังกับการบริหารจัดการหลักสูตร อย่างเป็นระบบ” ไม่อยากได้ยิน คำว่า “หลักสูตรใหม่ ก็ยังงั้น ๆ ไม่แตกต่างจากหลักสูตรเดิม” ทั้งๆ ที่โดยแท้จริงแล้ว หลักสูตรที่ร่างขึ้น มีข้อดีมากมาย แต่ปัญหาอยู่ที่การจริงจัง-ไม่จริงจังกับการใช้หลักสูตรต่างหาก

    ในปี 2552 จะมีการทดลองนำร่องใช้หลักสูตรใหม่(หลักสูตร2551) ในโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศ  เท่าที่มีข้อมูล จะมีการทดลองนำร่องอย่างน้อย เขตพื้นที่การศึกษาละ 3 โรงเรียน โดยในการใช้หลักสูตรใหม่ หลังจากที่ สพฐ./ศธ. ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางแล้ว(ซึ่งเป็นกรอบของหลักสูตรระดับประเทศ)  เขตพื้นที่การศึกษาจะต้องเสนอ “กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น ของเขตพื้นที่การศึกษา” หลังจากนั้น โรงเรียนต่าง ๆ จะไปจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา

ในสัปดาห์ที่แล้ว ผมเขียนเรื่อง “ทำอย่างไรให้มีการขับเคลื่อนหลักสูตร 2551 แบบมีพลัง” ที่ http://gotoknow.org/blog/sup001/230316 ปรากฏว่า คุณ  Small Man ได้เสนอว่า “ต้องขับเคลื่อนด้วยวัฒนธรรมคุณภาพ”  ผมอ่านแล้ว เห็นด้วยกับคุณ Small Man แต่ก็ยังไม่มีแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมในการขับเคลื่อนหลักสูตร นอกจากจะอาศัยกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ตามที่เคยเรียนมา

เพื่อให้เกิดแนวคิดในการสร้างวัฒนธรรมคุณภาพในการบริหารหลักสูตร  ผมจะลองเสนอกรอบ แนวทางในการบริหารจัดการหลักสูตรระดับสถานศึกษา ดังนี้

1) จัดให้มีการประชาพิจารณ์ วิพากษ์ หรือวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางประเทศ ว่ามีหลักการ แนวปฏิบัติอย่างไร มีจุดเด่น จุดด้อย อย่างไรบ้าง เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรใหม่ ในกลุ่ม ครู คณะผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา และกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง

2) จัดให้มีการวิพากษ์กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น ที่พัฒนาโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

3) จัดให้มีการวิพากษ์ ร่างหลักสูตรสถานศึกษา ในกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกลุ่มต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง(กลุ่มครู-อาจารย์  คณะกรรมการสถานศึกษา  เครือข่ายผู้ปกครอง  แกนนำนักเรียน  แกนนำชุมชน ฯลฯ)

4) มีการทดสอบความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรใหม่ของครูและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ทุกคน เข้าใจหลักสูตร ตรงกัน

5) หลังจากครูผู้สอนแต่ละรายวิชา จัดทำแผนจัดการเรียนรู้เรียบร้อยแล้ว ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปี 2552 ควรจัดให้มีการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูผู้สอนในกลุ่มสาระเดียวกันก่อน โดยควรเชิญเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาในเขตพื้นที่ ให้เข้าร่วมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

6) ในการทดลองใช้หลักสูตรภาคเรียนแรก ควรมีการจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูกลุ่มสาระเดียวกัน อย่างน้อย 1 ครั้ง ต่อเดือน

7) ส่งเสริมให้ครูผู้สอน ระดับรายวิชา มีการทดลอง วิจัยและพัฒนารูปแบบการสอน รูปแบบการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน อย่างหลากหลาย  อย่างเป็นระบบ

7) ในการประชุมประจำเดือนระดับสถานศึกษา ในปี 2552 ควรมีวาระพิเศษ รายงานความก้าวหน้าในการใช้หลักสูตรของกลุ่มสาระต่าง ๆ จัดทำเป็นเอกสาร รายงานแบบสั้น ๆ ต่อที่ประชุม  โดยเฉพาะในประเด็นที่เห็นว่า เป็น Best Practice ของแต่ละกลุ่มสาระ

8) สถานศึกษาควรจัดทำฐานข้อมูล Best Practice(ฐานข้อมูลผ่านจอภาพ/ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์)  ในการใช้หลักสูตรหรือในการจัดการเรียนการสอน เพื่อเปิดโอกาสให้ครูในโรงเรียน หรือระหว่างโรงเรียน ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน

9) เมื่อสิ้นภาคเรียนที่ 1 ปี 2552 ทุกสถานศึกษาที่ร่วมทดลองนำร่อง ควรจัดสัมมนาประเมินผลการใช้หลักสูตร ภาคเรียนที่ 1 โดยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากหลายแหล่ง หลายลักษณะ ใช้ประกอบการสัมมนา(ควรเชิญกรรมการสถานศึกษา และเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาในท้องถิ่น เข้าร่วมประชุมด้วย)

10) จัดให้มีการประชุมเตรียมความพร้อมในการทดลองใช้หลักสูตรภาคเรียนที่ 2/2552 ก่อนเปิดภาคเรียน

11) ดำเนินการตามรายการข้อ 5) ถึง 9) อีก 1 วงจร

12) สิ้นปีการศึกษา 2552  จัดให้มีการสัมมนาประเมินผลการทดลองนำร่องการใช้หลักสูตร โดยทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้จะต้องจัดทำรายงานการประเมินผลการใช้หลักสูตรระดับกลุ่มสาระ นำเสนอต่อที่ประชุม และสถานศึกษาจัดทำรายงานการประเมินความก้าวหน้าในการใช้หลักสูตร ระยะ 1 ปี ในภาพรวมของสถานศึกษา(ควรเชิญกรรมการสถานศึกษา และเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาในท้องถิ่น เข้าร่วมประชุมด้วย)

หากหวังให้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเยาวชนของประเทศ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องจริงจังกับการใช้หลักสูตรใหม่ “ไม่มีอะไรยิ่งใหญ่เท่ากับ การจริงจังกับการบริหารจัดการหลักสูตร อย่างเป็นระบบ”  ไม่อยากได้ยิน คำว่า “หลักสูตรใหม่ ก็ยังงั้น ๆ  ไม่แตกต่างจากหลักสูตรเดิม”  ทั้งๆ ที่โดยแท้จริงแล้ว หลักสูตรที่ร่างขึ้น มีข้อดีมากมาย แต่ปัญหาอยู่ที่การจริงจัง-ไม่จริงจังกับการใช้หลักสูตรต่างหาก(ผมไม่มีโอกาสไปร่วมร่างหลักสูตร แต่หลังจากศึกษาหลักสูตรใหม่ ต้องยอมรับว่าทุกครั้งที่มีการพัฒนาหลักสูตร  ได้แฝงไว้ซึ่งสิ่งดี ๆ มากมาย) 

 

หมายเลขบันทึก: 231805เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2008 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์

        การขับเคลื่อนด้วยวัฒนธรรม  ในมุมมองของผม  เมื่อได้อ่านวัฒนธรรมคุณภาพในกการบริหารหลักสูตรแล้ว  ผมก็โอเคเลยครับ

       ในมุมมองของผม ผมจะเน้นวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้   ที่ท่านอาจารย์เสนอมา มีทั้งการมีส่วนร่วม และ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เป็นวัฒนธรรมแนวราบที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาได้อย่างยั่งยืนครับ

       ที่ผ่านมา เรามีการเปลี่ยนแปลงในแนวดิ่ง ด้วยการ "สั่งการ"  และ "ประชุมอบรม" 

       ไม่เกิดการเรียนรู้ และ ไม่เกิดวัฒนธรรมการพัฒนาครับ

        แต่  เดี๋ยวครับ   ผมขอลงลึกไปอีกสักหน่อย

        การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงประชุมที่ผ่านมา  บางทีก็มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแต่ในรูปแบบครับ   ทำแบบ "ขอไปที"

       เรายังขาด วัฒนธรรมของ "การฟัง" ครับ

       โดยเฉพาะ  "ฟังอย่างลึกซึ้ง"

       ที่ผ่านมา  ไม่ฟัง หรือ ฟัง แต่ไม่ได้ยิน

        การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็ไม่เกิดเป็นวัฒนธรรมของการพัฒนาครับ

                      ขอบคุณครับ

      

  • ขอบคุณ ท่าน Small Man ครับ ที่เข้ามายืนยัน และให้ความเห็นเพิ่มเติม

สวัสดีค่ะท่านดร.สุพักตร์

  • ขอบคุณนะคะที่นำเรื่องดีๆมาบอกเล่าสู่กัน..
  • และในทัศนะของครูนะคะขอบอกว่าจะพัฒนาอะไรก้แล้วแต่จะสำเร้จและขับเคลื่อนไปได้ต้องเริ่มต้นที่ตัวครูนะคะ..ครูต้องตระหนักและช่วยกันขับเคลื่อนจึงจะสำเร็จได้...พัฒนาครูควบคู่กันไปด้วยจึงจะสัมฤทธิผลคะ
  • ในโอกาสวันปีใหม่ขอนำพรมามอบให้..ขอให้ท่านพบแต่โชคดีมีสุขทั้งครอบครัวนะคะ...โดยเฉพาะคุณปู่ขอให้มีสุขภาพดีอายุยืนยาวนะคะ คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

ขอบคุณ อ.Preeda ครับ

  • ขอให้อาจารย์มีความสุขตลอดปี 2552 เช่นกัน ครับ
  • เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ปฏิรูปการศึกษาจะสำเร็จหรือไม่ อยู่ที่การปฏิรูปครูหรือการส่งเสริมให้ครูมีคามเป็นเลิศในการจัดการเรียนรู้ครับ...ถ้าครูเก่ง..ทุกอย่างจะตามมา

สวัสดีครับท่าน ดร.สุพักตร์

ในฐานะที่ผมเป็นผู้ปฎิบัติจริง ผมขอเสนอปัญหาที่เกิดขึ้นกับการใช้หลักสูตรมาตลอดคือ ผู้เกี่ยวข้องไม่ค่อยให้ความสำคัญกับหลักสูตร ไม่ศรัธทาอย่างแท้จริง นั่นแหละครับคือปัญหาใหญ่ และเป็นปัญหาที่ทุกคนเข้าใจ แต่แก้ไม่ได้...

แก้ไขหลักสูตรแก้ไม่ยากหรอกครับ แต่...แก้ไขคนแก้ยาก...

" น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ" นี่คือสัจธรรม

ท. ณเมืองกาฬ

  • รอบนี้คาดหวังว่าน่าจะดีขึ้นนะครับ หวังมาก ๆ

สวัสดีค่ะคุณครู

ลูกศิษย์จากบ้านไผ่นะคะ มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้กับคุณครู ตอนนี้ดิฉันเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชนแล้ว นำความรู้ที่ได้รับจากคำสอนและการฟังบรรยายของคุณครูไปใช้อยู่เสมอรู้สึกภูมิใจที่มีส่วนในการพัฒนาการศึกษาแม้ว่าจะอยู่ในระดับอำเภอก็ตาม สิ่งที่ได้ยึดถือเสมอที่ท่านไปบรรยายที่บ้านไผ่คือ การศึกษาคือการให้ และเป็นการให้ที่มีความสุข 

ตอนนี้หลักสูตร 51ที่จะต้องใช้ในปีการศึกษา53 ทุกโรงเรียน น่าจะทำให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจริงๆ เพราะเตรียมทั้งระบบ ถึงจะเป็นโรงเรียนเอกชนก็ยังเฝ้าดูการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของรัฐอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินคงจะไม่ออกมาว่าการใช้หลักสูตรที่ผ่านมาไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์เพราะครูนำไปใช้ไม่ถูกต้องนะคะ ถึงอย่างไรการศึกษายังต้องการผู้ให้จริงๆ ขออนุญาตเข้ามาเรียนรู้กับคุณครูค่ะ  ขอคำแนะนำให้ลูกศิษย์ได้ร่วมพัฒนาการศึกษานะคะ

-ขอบคุณมากที่เข้ามาทักทาย ถ้าเจอกันเมื่อไหร่ ก็เข้าไปทักบ้าง

ขอบคุณมากค่ะสำหรับบทความที่ให้ข้อคิดดีๆ ดิฉันกำลังเรียนป.โท ตอนนี้เริ่มจะทำวิทยานิพนธ์แล้วค่ะ กำลังมองปัญหาและแนวทางแก้ไขการบริหารจัดการหลักสูตร51 อยู่พอดี เห็นบทความของอาจารย์แล้วอยากเอาไปต่อยอดจริงๆ ถ้ามีข้อเสนอแนะอื่นเพิ่มเติมช่วยบอกด้วยนะคะ (อยากรู้ด้วยค่ะว่าแนวคิดนี้เอามาจากทฤษฎีของใคร)

  • ส่วนหนึ่งเกิดจากประสบการณ์การทำงานและการสังเกตของตนเอง(ระหว่างปี 2549-2553 ผมทำหน้าที่ประธานกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา 2 เขต คือ นนทบุรี 2 และ กทม.2 ข ปัจจุบันทำหน้าที่ ประธานกรรมการเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 3)
  • แนวการเขียนข้อเสนอแนะ ผมอิงแนวคิด การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม   การพัฒนาแบบเสริมพลังอำนาจ(Empowerment Approach)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท