ปฏิทิน ปีใหม่อิสลาม


เริ่มปีใหม่ ตามปฏิทินอิสลาม

ปฏิทินอิสลาม ปฏิทินฮิจเราะฮ์ ....มุสลิมทำอะไรในเดือนนี้

 สำหรับมุสลิมแล้ว ดวงจันทร์ ใช้สำหรับนับวัน เริ่มตั้งแต่หัวค่ำ สิ้นสุดในเวลาเย็นของวันถัดไป เช่น วันนี้ วันนี้ 24 เมื่อเวลา 18.00 น. เข้าสู่เวลาละหมาดมัฆริบ จะถือว่า เป็นคืนวันพฤหัสบดี และพรุ่งนี้เป็นวันพฤหัสแล้ว (กลางคืนมาก่อนกลางวัน)

 ....ในขนะที่ปฏิทินกรีกอเรียน ยังถือว่า วันนี้เป็นวันพุธอยู่ และหลังเที่ยงคืน จะเป็นวันพฤหัส จนถึง 18.00 น. หลังนั้นก็จะเป็น คืนวันพฤหัส (กลางวัน มาก่อน กลางคืน)

        ในปฏิทินฮิจเราะฮ์ วันใหม่เริ่มนับตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า  วันใหม่ของปีฮิจเราะฮ์เริ่มนับตั้งแต่หัวค่ำ ส่วนปฏิทินกรีกอเรียน(Gregorian)ที่เราใช้ปกตินับขึ้นวันใหม่เวลา 24.00 น. หรือ 0.00 น.
การเลื่อนของวันที่ในปฏิทินฮิจเราะห์เทียบกับปฏิทินกรีกอเรียน จะประมาณ 11 วัน ต่อปี การเลื่อนจะวนมาครบรอบประมาณ 33 ปี คือ 33 x 11 จะใกล้กับค่าประมาณ 365 วัน เพราะ1 ปี ฮิจเราะฮ์จะสั้นกว่า 1 ปี กรีกอเรียน

เดือนตาม ปฏิทินจันทรคติฮิจเราะฮ์ศักราช ในรอบ 1 ปี ประกอบด้วย 12 เดือนกอมารียะฮ์ ดังต่อไปนี้

เดือนที่ 1 ชื่อเดือน มุฮัรรอม(Muharam)
เดือนที่ 2 ชื่อเดือน ซอฟัร(Safar)
เดือนที่ 3 ชื่อเดือน รอบิอุล เอาวัล(Rabiul Awal)
เดือนที่ 4 ชื่อเดือน รอบิอุซ ซานี(ฮาเคร)(Rabiul AKhir)
เดือนที่ 5 ชื่อเดือน ญามาดิล อาวัล(Jamadul Awal)
เดือนที่ 6 ชื่อเดือน ญามาดิซ ซานี(อาเคร)(Jamadul Akhir)
เดือนที่ 7ชื่อเดือน รอญับ(Rajab)
เดือนที่ 8 ชื่อเดือน ชะอ์บาน(Shaban)
เดือนที่ 9 ชื่อเดือน รอมดอน(Ramadan)
เดือนที่ 10 ชื่อเดือน เชาวัล(Shawwal)
เดือนที่ 11 ชื่อเดือน ซุลเกาะอ์ดะฮ์(Zul Qadah)
เดือนที่ 12 ชื่อเดือน ซุลฮิจญะฮ์(Zul Hijjah)

เดือนนี้ พี่น้องมุสลิม ทำอะไรกัน.......

เดือนที่ 1 ชื่อเดือน มุฮัรรอม(Muharam) วันที่ 1 เป็นวันเริ่มปีใหม่ วันที่ 9 และ 10 พี่น้องมุสลิมจะถือศีลอด ร่วมรำลึกเหตุการณ์ต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นในวันที่ 10 ของเดือนนี้

อะห์หมัด มุสตอฟา บินอาลี กล่าวว่า ความประเสริฐของวันอาชูรอ เป็นส่วนหนึ่งจากพระเมตตาของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่มีต่อบ่าวของพระองค์ ก็คือการที่พระองค์จะนำเอาวันและเดือนต่าง ๆ อันเป็นสิริมงคลมาทัดจากพิธีกรรมอันแสนประเสริฐ (พิธีฮัจย์) เพื่อพระองค์จะทรงเพิ่มผลบุญและความประเสริฐให้แก่บ่าวของพระองค์ แน่นอนพิธีฮัจย์อันศักดิ์สิทธิ์จะไม่สิ้นสุดลง นอกจากจะต้องติดตามด้วยเดือนอันทรงเกียรติ นั้นก็คือเดือนมูฮัรรอม เพราะได้มีรายงานจากท่านอบีฮูรอยเราะฮฺในหนังสือซอเฮียะว่า

عن النبي أنه قال: أفضل الصيام بعد شهر رمضان شهر الله         

الذي تدعونه المحرم، وأفضل الصلاة بعد الفريضة قيام الليل        

ความว่า : จากท่านนบีมูฮัมหมัด ซึ่งท่านนบีได้กล่าวว่า "การถือศีลอดที่ประเสริฐที่สุดหลังเดือนร่อมาฎอน ก็คือ(การถือศีลอดใน)เดือนของอัลลอฮฺ โดยที่พวกท่านจะเรียกเดือนนี้ว่า อัลมูฮัรรอม และการละหมาดที่ประเสริฐที่สุดหลังจากละหมาดฟัรดู นั้นก็คือ(การละหมาดใน)ยามค่ำคืน"

และการที่ท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) เรียกเดือนมูฮัรรอมว่าเป็นเดือนของอัลลอฮฺนั้น ก็เพื่อเป็นการบงชี้ว่า เดือนมูฮัรรอมเป็นเดือนอันทรงเกียรติ เดือนอันประเสริฐ เพราะแท้จริงแล้วอัลลอฮฺได้ทรงกำหนดให้สิ่งที่พระองค์ทรงสร้างให้มีความโดดเด่น และเหลื่อมล้ำต่อกัน เพื่อเป็นวิทยปัญญาแก่ปัญญาชน

ในเดือนมูฮัรรอมนี้ มีวันที่มีเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญเกิดขึ้นมากมาย เป็นวันแห่งชัยชนะ เป็นวันที่สัจธรรมได้เผยชัดเหนืออธรรม โดยการที่อัลลอฮฺทรงให้นบีมูซา (อ.) และกลุ่มชนของเขารอดพ้นจากฟาโรห์ เป็นวันที่นบีนูฮฺ (อ.) สัมผัสกับพื้นดินหลังจากได้ประสบกับอุทกภัยท่วมโลก ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ตรงกับวันที่ 10 เดือนมูฮัรรอม หรือที่เราเรียกวันนี้ว่า วันอาชูรอ

ความประเสริฐของวันอาชูรอกับการถือศีลออด

ได้มีฮาดีษมากมายได้รายงานถึงความประเสริฐของวันอาชูรอกับการถือศีลอด ซึ่งได้รับการยืนยันจากวจนะของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) โดยที่เราจะยกมากล่าวบางฮาดีษ

ในหนังสือซอฮีฮัยน์ได้มีรายงานจากท่านอิบนิอับบาสว่า เขาได้ถูกถามถึงวันอาชูรอ ท่านอิบนิอับบาสจึงกล่าวไปว่า

        ما رأيت رسول الله -صلى الله عليه وسلم - يوماً يتحرى

        فضله على الأيام إلا هذا اليوم - يعني يوم عاشوراء -

        وهذا الشهر يعني رمضان

ความว่า: ฉันไม่เคยเห็นท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) สักวันที่จะให้ความประเสริฐกับวันต่าง ๆ นอกจากวันนี้ (หมายถึงวันอาชูรอ) และเดือนนี้ (เดือนร่อมาฎอน)

อย่างที่เราได้กล่าวมาก่อนนี้ว่า วันอาชูรอนั้นมีความประเสริฐยิ่ง และมีเกียรติยิ่งในอดีตกาล โดยที่ท่านนบีนูฮฺ (อ.) จะทำการถือศีลอดเพื่อเป็นการขอบพระทัยต่ออัลลอฮฺ และท่านนบีมูซา (อ.) ก็ได้ทำการถือศีลอด เพื่อเป็นการขอบพระทัยต่ออัลลอฮฺและให้เกียรติกับวันนี้ (อาชูรอ)  ยิ่งไปกว่านั้นชาวคัมภีร์ (ยิวและคริสต์) ต่างก็ทำการถือศีลอดในวันนี้ด้วย และชาวกุเรชในยุคญาฮีลียะฮฺก็ได้ถือศีลอดในวันนี้เช่นกัน

ท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) ได้ทำการถือศีลอดในวันอาชูรอที่มักกะฮฺ และก็มิได้สั่งใช้ให้ผู้ใดทำการถือศีลอด ครั้นเมื่อท่านศาสดา (ซ.ล.) ได้มายังมาดีนะฮฺ และได้เห็นว่าชาวคัมภีร์ได้ถือศีลอด และให้ความสำคัญกับวันอาชูรอ และท่านศาสดาจึงมีความต้องการให้มีความสอดคล้องกันกับชาวคัมภีร์ในสิ่งที่ท่านศาสดาไม่เคยสั่งใช้ (การถือศีลอดในวันอาชูรอ) ท่านศาสดาจึงได้ถือศีลอด และสั่งใช้ให้อัครสาวกในวันนี้ด้วย ซึ่งได้มีรายงานในหนังสืออัซซอฮีฮัยน์ ซึ่งรายงานมาจากท่านอิบนิอับบาสว่า

قدم رسول الله - صلى الله عليه وسلم - المدينة                       

فوجد اليهود صياماً يوم عاشوراء ، فقال لهم                           

رسول الله - صلى الله عليه وسلم - ما هذا اليوم                     

الذي تصومونه ، قالوا: ( هذا يوم عظيم أنجى الله                     

 فيه موسى وقومه، وأغرق فرعون وقومه،                             

فصامه موسى شكراً لله  فنحن نصومه )، فقال -                      

صلى الله عليه وسلم -:  فنحن أحق وأولى بموسى منكم ،          

   فصامه رسول الله - صلى الله عليه وسلم - وأمر بصيامه.                                                                       

ความว่า: ท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) ได้ย่างก้าวเข้าสู่มาดีนะฮฺ แล้วพบว่า ชาวยาฮูดีย์ (ยิว) ได้ถือศีลอดในวันอาชูรอ ท่านศาสดาจึงกล่าวกับพวกเขาว่า "วันนี้เป็นวันอะไรซึ่งพวกท่านได้ถือศีลอดกัน" พวกเขากล่าวว่า "วันนี้เป็นวันอันยิ่งใหญ่ที่อัลลอฮฺได้ทรงให้ท่านนบีมูซาและกลุ่มชนของเขารอดพ้น (จากฟาโรห์) และเป็นวันที่อัลลอฮฺได้ทรงทำให้ฟาโรห์และพรรคพวกจมน้ำ แล้วท่านนบีมูซาก็ได้ถือศีลอดในวันนี้ เพื่อเป็นการของพระทัยต่ออัลลอฮฺ พวกเราจึงได้ถือศีลอดกันในวันนี้ด้วย ท่านศาสดาจึงได้กล่าวต่อไปว่า "แน่นอนเรามีสิทธิ์และดีกว่าพวกท่านเนื่องด้วยนบีมูซา" และท่านศาสดาก็ได้ถือศีลอดและสั่งใช้ให้อัครสาวกถือศีลอดในวัน (อาชูรอ) นี้

ครั้งเมื่อการกำหนดฟัรดูการถือศีลอดในเดือนร่อมาฎอนถูกประทานลงมา ท่านศาสดาจึงได้ละทิ้งการสั่งใช้ให้อัครสาวกถือศีลอดในวันอาชูรอ และส่งเสริมให้ถือศีลอดในวันอาชูรอเท่านั้น ซึ่งไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นใด ๆ แต่เป็นเพียงสุนัตเท่านั้น เพราะได้มีฮาดีษในหนังสืออัซซอฮีฮัยน์ ซึ่งรายงานมาจากท่านอิบนิอุมัรว่า

صام النبي - صلى الله عليه وسلم - عاشوراء                    

وأمر بصيامه فلما فرض رمضان ترك ذلك -                     

أي ترك أمرهم بذلك وبقي على الاستحباب                                                                   

ความว่า: ท่านนบีมูฮัมหมัด (ซ.ล.) เคยถือศีลอดในวันอาชูรอและสั่งใช้ให้ (อัครสาวก) ถือศีลอดในวันดังกล่าวด้วย ต่อมาเมื่อ (การถือศีลอด) ร่อมาฎอนถูกำหนดให้เป็นฟัรดู ท่านนบีก็ได้ละทิ้ง (การสั่งใช้ให้อัครสาวกถือศีลอดในวันอาชูรอ และคงการถือศีลอดในวันอาชูรอได้ให้เป็นเพียงสุนัตเท่านั้น)

และได้มีรายงานจากท่านมูอาวียะฮฺด้วยว่า

عن معاوية قال: سمعت رسول الله - صلى الله عليه وسلم -         

يقول  : هذا يوم عاشوراء ولم يكتب الله عليكم صيامه                

وأنا صائم ، فمن شاء فليصم ومن شاء فليفطر.                                                              

 ความว่า: รายงานจากท่านมูอาวียะฮฺ ซึ่งเขาได้กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) กล่าวว่า "วันนี้เป็นวันอาชูรอ โดยที่อัลลอฮฺมิได้ทรงกำหนดฟัรดูการถือศีลอดให้กับพวกท่าน ในสภาพที่ฉันก็เป็นผู้ถือศีลอด ดังนั้นผู้ใดที่ต้องการ (ถือศีลอด) ก็จงถือศีลอด และผู้ใดที่ต้องการ ละศีลอด) ก็จงละศีลอด".

ซึ่งนี่ก็เป็นหลักฐานหนึ่งของการยกเลิกสิ่งที่เป็นวายิบ (จำเป็น) และคงไว้เพียงสุนัต

ส่วนหนึ่งจากความประเสริฐของเดือนมูฮัรรอมก็คือ การถือศีลอดในวันอาชูรอจะเป็นการลบล้างความผิดในปีที่ผ่านมา

ในช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) ท่านมีความตั้งใจต่อการที่ท่านจะไม่ถือศีลอดในวันอาชูรอเพียงแค่วันเดียว แต่ท่านต้องการให้ผนวกวันอื่น ๆ เข้าไปด้วย เพื่อไม่ให้เหมือนกับการถือศีลอดของชาวคัมภีร์ในวันดังกล่าว เพราะได้มีฮาดีษในหนังสือ ซอเฮียะมุสลิม ซึ่งรายงานมาจากท่านอิบนิอับบาสว่า

               حين صام رسول الله-صلى الله عليه وسلم-عاشوراء          

 وأمر بصيامه ، قالوا: يا رسول الله إنه يوم تعظمه اليهود       

والنصارى ، فقال - صلى  الله عليه وسلم - :  فإذا كان       

العام المقبل إن شاء الله صمنا التاسع أي مع العاشر مخالفةً     

لأهل الكتاب- قال: فلم يأت العام المقبل  حتى توفى            

رسول الله - صلى الله عليه وسلم -.                          

ความว่า ในขณะที่ท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) ถือศีลอดในวันอาชูรอและสั่งใช้ให้ (อัครสาวก) ถือศีลอดในวันนั้น พวกเขา (อัครสาวก) จึงกล่าวว่า "โอ้ท่านศาสดา ! แน่แท้มันคือวันที่ชาวยิวและคริสต์ให้การยกย่อง"  ดังนั้นท่านศาสดาจึงกล่าวว่า "ดังนั้นเมื่อปีหน้ามาถึง -อินชาอัลลอฮฺ- เราจะถือศีลอดในวันที่ 9  (พร้อมกับวันที่ 10เพื่อให้แตกต่างจากการกระทำของชาวคัมภีร์) ท่านอิบนิอับบาสได้กล่าวต่อไปว่า "ไม่ทันที่ปีกาลใหม่จะมาถึง ท่านศาสดาก็ได้เสียชีวิตไป

 ว่า ระดับการถือศีลอดมี 3 ระดับزاد المعاد (76/2) ท่านอิบนิกอยยิมได้กล่าวไว้ในหนังสือ

 1.ระดับที่สมบูรณ์ที่สุด ให้ถือศีลอดก่อนและหลังวันอาชูรอ หมายถือให้ถือศีลอดในวันที่ 9 ,10 ,11ของเดือนมูฮัรรอม

2ระดับกลางให้ถือศีลอดก่อนวันอาชูรอหนึ่งวัน หมายถึงวันที่ 9 ของเดือนมูฮัรรอม

3ระดับสุดท้ายให้ถือศีลอดในวันที่ 10 เดือนมูฮัรรอมเพียงวันเดียว

และแน่นอนท่านศาสดาได้ส่งเสริมให้ปร

หมายเลขบันทึก: 231743เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2008 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มันก็จริงล่ะน่ะ แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยทำเพราะอยู๋กับแม่ตลอดไม่ได้ไปหาพ่อเลยงิงิ=^=

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท