Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

มาศึกษาสันติวิธีระหว่างชาติพันธุ์บนลุ่มน้ำโขงกับ สสสส.๑ กันค่ะ - เริ่มจากเชียงราย แล้วไปห้วยทราย แล้วหลวงน้ำทา แล้วมากลันหลั่นป้า จนถึงเชียงรุ้ง แล้วกลับเชียงแสนโดยเรือล่องโขง


ชีวิต ๕ วันของเรานักศึกษาในสถาบันพระปกเกล้าบนดินแดนของไทย ลาว พม่า และจีน ดูเหมือนเส้นเขตแดนไม่เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางของเรา

          เมื่อวันที่ ๑๘ - ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๑ สถาบันพระปกเกล้าพานักศึกษา ๘๑ คน ในหลักสูตรสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ ๑ ไปศึกษาสังคมพหุวัฒนธรรมในเขตไทยตอนเหนือ ลาวตอนเหนือ และจีนตอนใต้ วัฒนธรรมที่ปรากฏตัวอยู่มีลักษณะผสมผสาน ลาวๆ จีนๆ แขกๆ แบบพม่า  และไทยๆ น่าสนใจ และยังน่าประทับใจ แต่ก็น่าเป็นห่วง เพราะลัทธิเงินนิยมได้ไปถึงหมู่บ้านไทยลื้อที่บ้านกะลันป้าในเขตสิบสองปันนาหรือเชียงรุ้งแล้วล่ะ อิ่มเอิบกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากค่ะ ขอบคุณลุงเอก ครูใหญ่ค่ะ

           โดยทั่วไป ดูงานภาพของเราหลายคนก็ได้ค่ะ  (๑) ของ อ.แหววเองใน multiply (๒) ของ ลุงเอกใน multiply และคาดว่า คงมีของอีกหลายท่านตามมา หรืออ่านงานเขียนของพวกเราซิคะ (๑) นอกจากของ อ.แหววที่กำลังอ่าน (๒) ของอัยการชาวเกาะ (๓) ของครูบาสุทธินันท์ น่าจะมีของลุงเอก และของน้องเอก จตุพร ตามมาในไม่ช้า           

         เราเริ่มต้นทำงานจากเชียงรายศึกษา ในวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ค่ะ

           โดยการแบ่งเป็น ๔ ทีม ศึกษา ๔ เรื่อง กล่าวคือ (๑) ศึกษาปัญหาคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติที่อำเภอแม่อาย (๒) ศึกษาปัญหาคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติที่ป่าคาสุขใจ (๓) ศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เชียงแสน และ (๔) ศึกษาอะไรอีกล่ะ ??? เดี๋ญวหาก่อน

          ตัว อ.แหววเป็นคนพาทีมหนึ่งไปที่แม่อายค่ะ ไปเยี่ยมคลินิคแม่อาย และบ้านลาหู่ โปรดดูรายละเอียดจากบันทึกของท่านอัยการชาวเกาะ

          คลินิคแม่อาย เราทำอะไร ?? ดูบรรยายกาศการดูงานที่คลินิดแม่อาย จากรูปก็แล้วกัน เอามาจากท่านอัยการชาวเกาะล่ะค่ะ

            แล้วที่บ้านลาหู่ เราทำอะไรล่ะ ??  โปรดดูรูปค่ะ เอามาจากท่านอัยการชาวเกาะเช่นกัน

   

               ส่วนที่อื่นๆ ก็ไปดูในงานภาพของลุงเอกแล้วกันค่ะ

                ที่ป่าคาสุขใจ ซึ่งได้อาจารย์ชลฤทัย แก้วรุ่งเรือง ไปเตรียมข้อมูลและชาวบ้านในการทำงานกับนักศึกษา สสสส.1 น่าสนใจเช่นกัน ดูจากรูป ก็น่าจะเห็นบรรยากาศนะคะ ขอแรง อ.ชล เขียนเหมือนกัน ไม่ทราบว่า ท่านจะกรุณาไหมคะ

                 ภาพแรกเอามาจาก multiply ของลุงเอก ภาพการสัมผัสปัญญาของนักศึกษา สสสส.1 กับเจ้าของปัญหาโดยตรง

      

             คนข้างมากของป่าคาสุขใจเป็นคนที่ฟังข้อเท็จจริงได้แล้วค่ะว่า เป็นคนสัญชาติไทย แต่กระบวนการลงรายการสัญชาติไทยตามกฎหมายทะเบียนราษฎรของอำเภอแม่ฟ้าหลวงเป็นไปอย่างล่าช้ามาก ซึ่งหมายถึงสิทธิในสวัสดิการชีวิตก็พลอยล่าช้าตกหล่นด้วย ที่ร้ายกว่านั้น เด็กๆ ในหมู่บ้านเสี่ยงต่อการถูกจับส่งออกนอกประเทศไทย อาชีพของครูแดงจึงได้แก่การไปตามอธิบายเวลาเด็กๆ ในหมู่บ้านถูกจับ ซึ่งครูแดงก็ดูไม่เหน็ดไม่เหนื่อยที่จะทำงานนี้ เรานักกฎหมายดูจะอบรมเสียมากค่ะ มันต้องแก้ไขที่ระบบค่ะ ไล่แก้ไขทีละกรณี จะต้องมีสัก ๑๐๐๐๐๐ ครูแดง จึงจะตามช่วยชาวบ้านได้ครบถ้วน สงสัยในใจมากว่า การไล่จับชาวบ้านที่เกิดในประเทศไทย ส่งออกนอกประเทศไทยนี้ มันเป็นกิจกรรมเพื่อสร้างหรือทำลายความมั่นคงกันแน่ ???

               ดูรูปอีกรูปของลุงเอก จะเห็นว่า ชาวบ้านแทบทั้งหมู่บ้านต้องเรียนรู้กฎหมาย และปกป้องตัวเองตามมีตามเกิด ..... สงสัยเหมือนกันว่า จะรอให้สถานการณ์ภาคเหนือร้อนแรงเหมือนภาคใต้ไหมคะ คนใหญ่คนโตทั้งหลายจึงจะสนใจ ต้องขอบใจนักศึกษา สสสส.1 ทั้งหลายที่สนใจ อย่าทิ้งชาวบ้านนะคะ...

               ในวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๑  เราเริ่มต้นลาวศึกษา 

              เช้าตรู่ จากห้องทานข้าวที่โรงแรมอิมพีเรียล สามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน เราสร้างความตระหนักให้ตนเองด้วยการพิจารณาสามเหลี่ยมทองคำค่ะ พื้นที่ที่เขตแดนลาว พม่า และไทยมาชนกัน

      เรานั่งรถจากโรงแรมมาขึ้นเรือไปแขวงบ่อแก้วที่ท่าเรือเชียงแสน เราได้สัมผัสแม่น้ำโขงที่ทรงเสน่ห์ใกล้เข้ามาอีก สวยงาม ร่ำรวย และอันตราย พวกเราอดไม่ได้ที่จะถ่ายรูปแม่น้ำและ รูปของพวกเราที่มาปรากฏตัวริมแม่น้ำโขง

  

      และแล้ว ก็มาศึกษาความเข้มแข็งของแม่หญิงลาว ที่บ้านพิกุลทอง เมื่อห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว

ยังมีตอนต่อไปค่ะ โปรดรอหน่อยค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 231396เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2008 14:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แวะมาชมภาพนะคะ

เอาหัวใจแห่งความสุขมาฝากนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท