วิหารพระมงคลบพิตร พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปอิฐบุทองสัมฤทธิ์สีดำตลอดองค์เพราะเคลือบรักไว้ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระไชยราชา ราว พ.ศ.2081 สำหรับเป็นพระพุทธรูปประจำวัดซีเซียง ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ชลอพระมงคลบพิตรมาไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ และสร้างมณฑปครอบไว้ ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระ เจ้าเสือเกิดฟ้า ผ่าเครื่องมณฑปพังลงมาต้องพระศอหักก็โปรดเกล้าฯ ให้รื้อซากมณฑปสร้างใหม่ และซ่อมพระศอให้เหมือนเดิม จนเมื่อ พ.ศ.2310 เสียกรุงศรีอยุธยา วิหารพระมงคลบพิตรถูกไฟไหม้ทรุดโทรม พระเมาฬี และพระกรขวา หัก ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระยาโบราณราชธานินทร์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยาได้ซ่อมองค์พระด้วยปูนปั้น และในปี พ.ศ.2535 วิหารพระมงคลบพิตรทั้งองค์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีขนาดใหญ่มาก ที่สุดองค์หนึ่งของประเทศไทย |
วัดไชยวัฒนาราม อยู่ริมแม่น้ำฝั่งเดียวกับวัดพุทไธสวรรค์ แต่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะเมือง พระเจ้าปราสาททอง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดไชยวัฒนารามขึ้นในปี พ.ศ.2173 เพื่ออุทิศวายให้เป็นอนุสรณ์สถาน ณ บ้านเดิมของพระราชมารดาและเพื่อเฉลิม พระเกียรติในการเสด็จขึ้นครองราชย์ด้วยทรงมีพระราชนิยมศิลปะแบบขอม วัดนี้จึงมีสถาปัยกรรมรูปปรางค์ ประกอบด้วย พระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุเป็นองค์ประธานสูงเด่นอยู่ท่ามกลาง ปรางค์ทิศและปรางค์รายทั้ง 8 ทิศ สันนิษฐานว่า แต่เดิมในคูหาปรางค์ประธาน เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาต ุหรือ สิ่งอันควรบูชาอื่น ๆ พระอุโบสถวัด อยู่ทางด้านตะวันออกของพระปรางค์ มีซากพระประธานเป็น พระพุทธรูปปรางค์มารวิชัย สร้างด้วยหินทราย และที่ฐานประทักษิณด้านทิศเหนือมีฐานรากของเจดีย์ 3 องค์ ตั้งเรียงกัน สันนิษฐานว่าเป็นที่บรรจุพระอัฐิเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง รัตนกวีแห่งกรุงศรีอยุธยา) เจ้าสังวาลย์ และเจ้าฟ้านิ่มพระสนมเอก ในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ปัจจุบันเป็นวัดร้าง แต่ยังมีพระปรางค์ ใหญ่และเจดีย์รายตามมุมคงเหลืออยู่และรูปทรงยังสมบูรณ์ดีเป็นส่วนมาก |
<table style="width: 610px; height: 285px" height="285" width="610" border="0"><tr>
วัดหน้าพระเมรุ
พระองค์อินทร์ ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างวัดหน้าพระเมรุเมื่อ พ.ศ.2046 เดิมชื่อ วัดเมรุราชิการาม อยู่ริมสระบัว ตรงข้ามพระราชวังหลวง ครั้งแผ่นดินพระมหา จักพรรดิ์ได้ทรง ตั้งพลับพลาระหว่างวัดหน้าพระเมรุและวัดหัสดาวาสเป็นที่ทำสัญญาสงบศึกกับ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง สถาปัตยกรรมของวัดอยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้นคือ พระอุโบสถไม่มี หน้าต่างแต่เจาะช่องไว้เป็นลูกกรง พระประธานเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ทรง เครื่องปราง มารวิชัย งดงามเป็นที่ยิ่ง หน้าบันไม้สักลงรักปิด ทองสลักรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ หยุดเศียรนาคหน้าราหูล้อมรอบด้วยหมู่เทพพนม 26 องค์ ตรงอาสนสงฆ์มีจารึก เป็นกาพย์ ์สุภาพและกาพย์ยานี วัดหน้าพระเมรุได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วิหารน้อยหรือ วิหารเขียน มีบานประตูไม้แกะสลักฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในเคยมีจิตรกรรมฝาผนังโดยรอบปัจจุบันลบเลือนมาก และมีพระพุทธรูปประทับห้อย พระบาทสมัยทวารวดีประดิษฐานอยู่
</tr></table>
ไม่มีความเห็น