ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น


ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น          

 

.    ความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

                           ภูมิปัญญา  หมายถึง  การสั่งสมประสบการณ์จากอดีตของท้องถิ่นนั้น ๆ  แล้วพัฒนาความรู้นั้นเพื่อใช้ประกอบการดำรงชีวิตให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและเป็นเครื่องมือในการสร้างสังคมให้ดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขภูมิปัญญาเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์เป็นกลวิธีหรือเทคนิคในการนำเอาความรู้มาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

.   ลักษณะของภูมิปัญญา

 

                            ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีลักษณะสำคัญดังที่ผู้รู้ได้อธิบายไว้  ดังนี้

                            ๒.๑  ลักษณะสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นมี ๔ ลักษณะ ดังนี้ (นิธิ  เอียวศรีวงศ์.  ๒๕๓๖ : ๒๓๖)

                                    ๒.๑.๑  ความรู้และระบบความรู้  ภูมิปัญญาเป็นระบบความรู้ที่ไม่ถือว่าเป็นวิทยาศาสตร์ฉะนั้นในการศึกษาเรื่องภูมิปัญญาจะเข้าไปดูว่าชาวบ้านรู้อะไรอย่างเดียว

ไม่พอ  ต้องศึกษาว่าเขาเห็นสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นได้อย่างไร

                                    ๒.๑.๒  การสั่งสมและการกระจายความรู้  ภูมิปัญญาเกิดจากการสั่งสมและการกระจายความรู้โดยการนำความรู้มาบริการคนอื่น  เช่น   หมอพื้นบ้าน  สั่งสมความรู้ทางการแพทย์ไว้ในตัวคน ๆ หนึ่ง  ซึ่งมีกระบวนการที่ทำให้เขาสั่งสมความรู้  เราควรศึกษาด้วยว่ากระบวนการนี้เป็นอย่างไรหมอคนหนึ่งสามารถสร้างหมอคนอื่น ๆ ต่อมาได้อย่างไร

                                    ๒.๑.๓  การถ่ายทอดความรู้  ภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ได้มีสถาบันถ่ายทอดความรู้  ภูมิปัญญา  แต่พบว่า  มีกระบวนการถ่ายทอดที่ซับซ้อน  ถ้าเราต้องการเข้าใจภูมิปัญญาท้องถิ่น  เราต้องเข้าใจกระบวนการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง

                                    ๒.๑.๔  การสร้างสรรค์ การปรับปรุงระบบความรู้ของภูมิปัญญาชาวบ้านไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่  แต่ได้ถูกปรับเปลี่ยนความรู้และระบบความรู้เพื่อเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง

 

.  ความสำคัญของภูมิปัญญา          

 

                            ภูมิปัญญาชาวบ้านมีความสำคัญต่อชาวบ้าน  ครอบครัว  และชุมชน  ดังต่อไปนี้  (สมจิตร  พรหมเทพ.  ๒๕๔๓ : ๖๗ - ๖๘)

                            ๓.๑  เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาแต่อดีตอันยาวนานจนกลายเป็นวิถีชีวิตประจำวันของตนเอง และชุมชนตลอดมา

                            ๓.๒  เป็นมรดกทางสังคมที่ได้จากการเรียนรู้ โดยผ่านกระบวนการขัดเกลาของกลุ่มคน

                            ๓.๓  เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์

                            ๓.๔  เป็นข้อมูลพื้นฐานในการดำรงชีวิตและการพัฒนาอย่างยั่งยืนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

                            ๓.๕  เป็นแนวทางนำไปสู่การปรับตัวของชุมชน ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองของชุมชน

                            ๓.๖  ช่วยเพิ่มความสมดุลระหว่างธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมกับประชาชน

 

.    ประเภทของภูมิปัญญาชาวบ้าน

 

                            สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  (๒๕๔๑ : ๒๔-๒๕)  ได้จำแนกภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้  ๑๐  ประเภท  ดังนี้

                            ๔.๑  เกษตรกรรม  หมายถึง  ความรู้ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ทักษะและเทคนิคด้านเกษตรกับเทคโนโลยี  โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม  ซึ่งคนสามารถพึ่งพาตนเองในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้  เช่น  ทำการเกษตรแบบผสมผสาน  เป็นต้น

                            ๔.๒  อุตสาหกรรมและหัตถกรรม  หมายถึง  การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลผลิต  เพื่อชะลอการนำเข้าตลาดเพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภคอันเป็นกระบวนการให้ชุมชนท้องถิ่นพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้

                            ๔.๓  แพทย์แผนไทย  หมายถึง  ความสามารถในการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชนด้วยสมุนไพรและรักษาโรคแบบโบราณ

                            ๔.๔  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  หมายถึง  ความสามารถในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ทั้งการอนุรักษ์  พัฒนาและใช้ประโยชน์จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน

                            ๔.๕  กองทุนและธุรกิจชุมชน  หมายถึง  ความสามารถในด้านบริหารจัดการด้านการสะสมและบริหารกองทุนและธุรกิจชุมชน  ทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์  เพื่อเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน

                            ๔.๖  สวัสดิการ  หมายถึง  ความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคนให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรม

                            ๔.๗  ศิลปกรรม  หมายถึง   ความสามารถในการผลิตผลงานด้านศิลปะสาขาต่าง ๆ  เช่น  จิตรกรรม  ประติมากรรม  ทัศนศิลป์  คีตศิลป์  เป็นต้น

                            ๔.๘  การจัดการ  หมายถึง  ความสามารถในการบริหารจัดการ  ดำเนินงานด้านต่าง ๆ ทั้งขององค์กรชุมชน  ศาสนา  การศึกษา  ตลอดจนองค์กรอื่น ๆ ในสังคมไทย

                            ๔.๙  ภาษาและวรรณกรรม  หมายถึง  ความสามารถในการผลิตผลงานเกี่ยวกับด้านภาษา  ทั้งภาษาถิ่น  ภาษาโบราณ  ภาษาไทย  ตลอดจนทั้งด้านวรรณกรรมทุกประเภท

                            ๔.๑๐  ศาสนาและประเพณี  หมายถึง  ความสามารถประยุกต์  ปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนา  ความเชื่อและประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่าให้เหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัต

 

.   แนวการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

                            แนวการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้านมี    ประการ  ดังนี้

(เอกวิทย์  ณ ถลาง.  ๒๕๔๐ : ๑๘๒ - ๒๔๖)  

                            ๕.๑  ภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิตตามสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ  คือ การใช้ความรู้และอุบายในการดำเนินชีวิตตามสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ  เช่น  การเลือกที่ตั้งถิ่นฐานที่อยู่  การหาแหล่งน้ำดื่มน้ำใช้  การปลูกพันธุ์ไม้ไว้ในบริเวณบ้าน  เป็นต้น

                            ๕.๒  ภูมิปัญญาในการจัดเครือข่ายระบบความสัมพันธ์ การพึ่งพา

                            ๕.๓  ภูมิปัญญาในด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน

                            ๕.๔  ภูมิปัญญาในด้านสมุนไพร ยากลางบ้าน

                            ๕.๕  ภูมิปัญญาในด้านโลกทัศน์  เป็นระบบรวบรวมความคิด  ความอ่าน  ความเชื่อ  ทัศนคติที่บุคคลมีต่อโลก  มีต่อสังคมมนุษย์เป็นนามธรรมอยู่ในจิตสำนึกของบุคคลอันเกิดจากความคิดและอารมณ์  ซึ่งประสานและก่อตัวขึ้นจากประสบการณ์ที่แต่ละคนได้รับมา เช่น โลกทัศน์และชีวทัศน์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ  เป็นต้น

                            ๕.๖  ภูมิปัญญาในการปลูกฝังคุณธรรม  การกำหนดปทัสถาน  และการรักษาของดุลภาพของสังคม

                            ๕.๗  ภูมิปัญญาในการปรับตัวในบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป

                                     ดังนั้นภูมิปัญญาท้องถิ่น ๆ ใด  จึงเป็นรากแก้วที่สำคัญให้ท้องถิ่นนั้นเจริญงอกงาม

อย่างมั่นคง  ภูมิปัญญาของชาติพันธุ์หนึ่งอาจพัฒนาไปแตกต่างกับอีกชาติพันธุ์หนึ่งตามสภาพ แวดล้อมตามสภาพสังคมในท้องถิ่นนั้นที่สามารถปรับใช้ในการแก้ปัญหาและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของสังคมนั้น ๆ ได้

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #อีสานมิวเซียม
หมายเลขบันทึก: 230940เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2008 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2019 00:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

nsdhbvgiusrdbhigusdniov djskng kisdhbiusdhiviuhnjkbdfmnlkbjdixcvn bksnfhbjcxiknbklfdj bjxcknioxfjhbkdfjiovh icvxnhkdfibu hxifhjnifchbigtibhifnhklcvhjbifdnmkhijbfcxihjnfciohbkfdnckbvihcifgnhifcyuhbigdfnjhbiuhcxgjnicxhbikdfnkgbihfuinhicxhbuixnfdhgkibjhcxionhklicoji

**เจ้าหญิงแยมสตรอเบอร์รี่**

มีแต่สิ่งที่น่าสนจายน้าคร้า

ปลื้มๆๆๆคร้า

ขอบคุมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

จ้า

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับข้อมูลที่นำมาให้ศึกษา

จะนำความรู้ดีๆๆนี้ไปใช้ประกอบการเรียนต่อไปค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท