คลินิคเทคโนโลยี (2)


ต่อยอดจากOTOP CITY การบริหารแบบเครือข่ายเรียนรู้หรือการจัดการความรู้

เมื่อวานผมร่วมเป็นคุณอำนวยกลุ่มย่อยการประชุมกำหนดความต้องการเทคโนโลยีด้านการประกอบอาชีพของประชาชนในจ.นครศรีธรรมราชโดยมีคลินิคเทคโนโลยีม.วลัยลักษณ์เป็นผู้จัด   ผู้เข้าร่วมกลุ่มย่อยประมาณ 30 คน มาจากอบต. สนง.เกษตร และสนง.พช.
ก่อนแบ่งกลุ่มย่อย ผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯได้พูดถึงวัตถุประสงค์และแนวทางดำเนินการของคลินิคเทคโนโลยี ซึ่งตรงกับที่ผมเดาไว้ว่ามาจากแนวคิดคลินิคแพทย์
วานซืน กลับจากประชุมที่สนง.พช.เครือข่ายกลุ่มการเงิน 3 ตำบล เราแวะที่งานotop cityเมืองนคร ผมเจอเพื่อนที่มาเป็นผู้จัดการotop city คือคุณสนธยา ชำนะ ชวนผมไปกินข้าวคุยกันบนสำนักงานได้เล่าให้ฟังถึงแนวคิดและรูปแบบการบริหารงานที่ช่วยเปิดโลกทัศน์ผมมากทีเดียว คือ อาคารและงบจัดการเบื้องต้นจำนวน 25 ล้านบาทของกลุ่มจังหวัดประกอบด้วยนครศรีธรรมราช ตรังและพัทลุงเพื่อสนับสนุนนโยบายotopของรัฐบาลรับผิดชอบโดยผู้แทนเครือข่ายotopจำนวน 15 คน จากนครศรีธรรมราช 9 คน ตรังและพัทลังจังหวัดละ 3 คนในฐานะกรรมการ ได้มอบหมายให้คุณสนธยาเป็นผู้จัดการ ด้วยลูกทีม 8 คน งบสนับสนุนช่วงแรก 6 เดือน ต่อจากนั้นต้องพึ่งตนเองเพื่อนำพาเครือข่ายOtopไปสู่ดวงดาว
ผมเล่าได้ไม่มาก เพราะคุยกันได้แป๊บเดียว แต่ที่นำมาเป็นประเด็นพูดคุยคือ แนวทางการขับเคลื่อนของOTOP CITY ซึ่งเป็นกลุ่มองค์กรที่ประสบความสำเร็จเรื่องการบริหารจัดการกลุ่มด้วยเทคโนโลยีตามชนิดของผลิตภัณฑ์นั้น ถ้าได้เชื่อมต่อกับแนวคิดที่เป็นวัตถุประสงค์ของคลินิค เทคโนโลยี (ซึ่งแนวทางการดำเนินงานนั้น ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับรูปแบบคลินิคแพทย์สักเท่าไร)   ก็จะช่วยเสริมพลังกันได้ตรงจุดยิ่งขึ้น
ผมยังแซวกับผู้เข้าร่วมว่า กลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในงานOTOP CITYนั่นแหละตัวจริงเสียงจริง เพราะความต้องการด้านเทคโนโลยีในที่ประชุมมีไม่มากเท่าไร ส่วนใหญ่เป็นปัญหาเรื่องการจัดการกลุ่มและเรื่องคนที่ต้องพูดคุยกันนาน เช่นเรื่องเล่าของเกษตรอำเภอในการจัดคาราวานแก้จนว่า          มีโครงการสนับสนุนการประกอบอาชีพของประชาชนที่ยากจน เป็นการเรียนรู้ร่วมกันตามแนวคิดโรงเรียนเกษตรกร โดยมีเบี้ยเลี้ยงให้วันละ 100 บาท เป็นเวลา 2 เดือน รวม 6000 บาท จากนั้นเมื่อมีความรู้แล้วจะมีเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และวัสดุการเกษตรที่จำเป็นให้อีก ผู้เข้าร่วมบอกว่า "อย่างนี้ไปเก็บขี้ยางขายดีกว่า"
ผมเห็นว่าคลินิคเทคโนโลยีควรต่อยอดจากOTOP CITYด้วยรูปแบบการบริหารแบบเครือข่ายเรียนรู้หรือการจัดการความรู้ไม่ใช่คลินิคหมอครับ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2307เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2005 11:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท