แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

เคลื่อนกายอย่างมีสติด้วย Yoga Asana ของ ฉัน


แวบหนึ่งผมนึกถึงมิตรรุ่นพี่ที่ผมนับถืออย่างสนิทใจเป็นพี่สาวในทางธรรม เธอมักชักชวนน้องๆ อีกสองสามคนไปให้ผมแนะนำการฝึกอาสนะให้ ครั้งหนึ่งระหว่างที่ฝึกอาสนะ เธอเล่าให้ฟังว่าเธอรู้สึกถึงพลังบางอย่างที่ไหลเวียนอย่างต่อเนื่องอยู่ข้างใน เป็นอะไรบางอย่างที่พ้นไปจากมิติของกายและจิต คำบอกเล่าถึงประสบการณ์ของเธอ ทำให้ผมนึกถึงโศลกในปตัญชลีสูตรซึ่งว่าด้วยอาสนะที่กล่าวว่า “การฝึกอาสนะพึงต้องปล่อยวางจากความพยายาม และจิตใจต้องหลอมรวมกับสิ่งที่เป็นอนันต์ (สิ่งที่ไร้ขอบเขตหรือไม่มีที่สิ้นสุด)” (ปฺรยตฺนไศถิลฺยสมาปตฺติภฺยาม – ปตัญชลีโยคสูตร บทที่ ๒ โศลกที่ ๔๗) <บางส่วนจาก "บางถ้อยคำจากผู้แปล">

เคลื่อนกายอย่างมีสติด้วย Yoga Asana ของ ฉัน 

แปลกแยกจากคนอื่นไหม ที่ตนเองสนใจปฏิบัติโยคะเพียงการเคลื่อนไหวที่ควบคู่กับสติที่กำกับกาย  
จำไม่ได้หรอกนะว่า ท่าอาสนะที่ทำนั้นภาษาสันสกฤตเขาเรียกว่าอะไร
จำไม่ได้หรอกนะว่า ประวัติของแต่ละท่านั้นมีความเป็นมาอย่างไร
จำไม่ได้หรอกนะว่า ท่าอาสนะแต่ละท่านั้น มัดกล้ามแต่ละส่วนของร่างกายนั้นจะเริ่มต้นเคลื่อนไหวจากส่วนไหน

รู้เพียงว่า เคลื่อนไหวกายอย่างนี้ แล้วคอยให้จิตกำกับกาย ก็ทำให้จิตมั่นกับกายแล้ว ก็เป็นการปฏิบัติโยคะที่ทำให้จิตสงบ ทำให้จิตใจนิ่ง ความคิดปริวิตกต่างๆ ค่อยๆ จางหาย เหลือแต่กายกับจิต เท่านั้น
รู้เพียงว่า มีความสุข สงบจัง ที่ได้ทำท่าอาสนะแต่ละท่าทีละ step step อย่างจิตมั่น

นั่นคือความรู้สึกช่วงแรกเริ่มเข้ารับการอบรมครูโยคะ หลักสูตร 3 เดือน ในช่วงเวลานั้นมีความรู้สึกว่า มันจำเป็นไหม ที่เราต้องรู้ว่าแต่ละท่าของ การเคลื่อนไหวนั้น มัดกล้ามเคลื่อนไหวอย่างไร ส่งผลอย่างไรต่อร่างกายเรา เพราะตลอดช่วงระยะเวลาที่ฝึกอบรม มีความรู้สึกเหมือน ต้องรู้ ต้องรู้ ต้องรู้ และต้องรู้ จนมีความรู้สึกว่า ความรู้เหล่านั้นมันมาก มาก มากจนล้น มากจนล้นปรี่ เพราะรู้ตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่า สิ่งที่อยากรับในช่วงเวลานี้ เพียงสติที่ควบคู่กับการเคลื่อนไหวเท่านั้น ขอรับเพียงเท่านี้ได้ไหม

แต่เป็นเพราะมีความรู้สึกว่าต้องถูกตราตั้งให้เป็นผู้ถ่ายทอด จึงต้องรู้ รู้ทั้งหมดของโยคะอาสนะ แล้วจะทำอย่างไรกับความรู้เหล่านี้ อย่างเข้าใจและรับอย่างพอเพียงเสียด้วย

เอาหล่ะซิ ... ไอ้ความรู้สึกขัดแย้งภายใน กับการรับรู้ที่ต้องพัฒนาตนเองไปในทิศทางใหม่ ที่ไม่ได้ตั้งรับเอาไว้ ก็เริ่มรู้สึกอีกแล้ว

แต่พอเริ่มเห็นเอกสารที่ทางสถาบันฯ ให้
เห็นงานบรรยายที่ อ.ฮิโรชิและอ.ฮิเดโกะ นำเสนอให้พวกเรา
อีกทั้งครูๆ ก็ให้การบ้านให้ขยายความคิด ตอกย้ำลงไปกับการที่ทำท่าทางต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ
การพิจารณาภายในก็เริ่มละเอียดมากขึ้น ความใคร่รู้เริ่มทวีคูณ ประกอบกับการได้เข้ากรรมฐานอย่างเข้มมาตลอดระยะเวลา 3 เดือน ก่อนเริ่มอบรมครูโยคะหลักสูตร 3 เดือน ทำให้การพิจารณาการเคลื่อนไหวกายของโยคะอาสนะเริ่มชัดเจน แต่นั่นแหล่ะการจะให้เข้าใจภาษาของสรีระทางการแพทย์นั้น คงต้องเรียนรู้อีกเยอะทีเดียว เพื่อทำให้ความเข้าใจกับการเคลื่อนไหวในแนวทางปฏิบัตินั้นกระจ่างมากยิ่งขึ้น

อย่างนี้กระมังที่เรียกว่า การเคลื่อนไหวกายอย่างมีสติ มันคงไม่จำเป็นกระมังที่เมื่อเราไม่สบายใจต้องการแสวงหาสถานที่ความสงบ เราเพียงแต่ปลูกสร้างความสงบจากเรือนกายของเราเท่านั้นเอง มันไม่ไกลเกินเอื้อมเลย

การเคลื่อนไหวกายอย่างมีสตินั้น มีอยู่ในอริยบทประจำวันของเรานี่เอง เพียงแต่เราจะน้อมนำมันเข้ามาสู่กายของเราอย่างเข้าใจได้มากน้อยแค่ไหน และอย่างที่สติรู้เท่าทันด้วยซินะ

และเมื่อได้อ่านประทีปแห่งชีวิต (Light on Life) ที่เขียนโดย ท่านบี เค เอส ไอเยนการ์ (B.K.S. Lyengar) ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยโดย คุณธีรเดช อุทัยวิทยารัตน์ และได้อ่านในส่วน บางถ้อยคำจากผู้แปล”(ที่นี่) ทำให้ชัดเจนในแนวทางปฏิบัติของตนเองว่า ตนเองได้ปฏิบัติอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากการการปฏิบัติก่อนนั้นก็เป็นแนวทางที่ดีแล้ว ในส่วนทฤษฎีนั้นสามารถเรียนควบคู่ไปกับปฏิบัติได้ ถ้าเราได้เริ่มต้นการปฏิบัติอย่างเข้าใจ

พร้อมนี้ได้นำคำนำของผู้เขียนทุกท่านมาให้พิจารณาด้วยค่ะ  แต่หนังสือทั้งเล่มยังไม่มีเวลาอ่านให้จบเลยค่ะ ได้แต่ทะยอยอ่านไปอย่างพิจารณาไปเรื่อยๆ เท่าที่พอจะจัดสรรเวลาได้ เพราะเป็นหนังสือที่อยากเรียนรู้ในสายทางแห่งโยคะอาสนะ อีกเล่มหนึ่งเช่นกัน



"ประทีปแห่งชีวิต (Light on Life) 
โดย ท่านบี เค เอส ไอเยนการ์ (B.K.S. Lyengar)
แปลโดย คุณธีรเดช อุทัยวิทยารัตน์
(ที่นี่)

สารบัญ

1เกี่ยวกับผู้เขียนและนักเขียนร่วม (ที่นี่)

1คำนำ (ที่นี่)

1บางถ้อยคำจากผู้แปล (ที่นี่) 

บทนำ : อิสรภาพที่รออยู่   
บทที่ ๑ : การเดินทางสู่ภายใน
บทที่ ๒ : ความมั่นคง กายแห่งกาย (อาสนะ)
บทที่ ๓ : พลังชีวิต กายแห่งพลัง (ปราณ)
บทที่ ๔ : ความกระจ่าง กายแห่งจิต (มนัส)
บทที่ ๕ : ปัญญาญาณ กายแห่งปัญญา (วิชญาณ)
บทที่ ๖ : ปีติ กายศักดิ์สิทธิ์ (อานันทะ)
บทที่ ๗ : ดำเนินชีวิตในอิสรภาพ
อาสนะเพื่อความมั่นคงทางอารมณ์
ดัชนี


หมายเลขบันทึก: 230549เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2008 01:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณคะสิ่งดี ๆ ที่นำมาเล่าให้ฟัง

สวัสดีค่ะ คุณประกาย 

ขอบพระคุณมากค่ะ ที่เ้ข้ามาอ่านงาน feel good 

สวัสดีปีใหม่ 2552 ขอให้เข้มแข็งและแข็งแรงทั้งกายและใจนะคะ

อยากเชิญมาสอนที่เชียงรายบ้างจัง จะเป็นไปได้ไหมครับ

ที่ผ่านมาได้เปิดคอร์สสอนบ้างหรือเปล่าครับ

สวัสดีค่ะ คุณพ่อณัฐ

ดีใจจังเลยที่แวะเข้ามาอ่าน
ถ้าสอนโยคะ ตอนนี้มีช่วยสถาบันฯ ค่ะ
ถ้าณัฐอยากให้ช่วยเหลืออะไรก็ส่งตรงมาได้จ๊ะ ยินดีรับใช้

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท