นำเสนอกลุ่มใหญ่ เวทีที่ 1/2551 (1)


"การสร้างสุขภาวะต้องอาศัยความพร้อม ของ “สภาวะข้างใน” ผู้บริหารระดับสูงต้องทำจริง มี Goal Vision มีกระบวนการทางวัฒนธรรม ไม่ปิดกั้นการเสนอไอเดียใหม่ๆ ต้อง มองว่าทุกคนในองค์กรมีศักยภาพในตัวเอง"

     จากการระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มย่อย 3 กลุ่มนั่นได้แก่

1. กลุ่มอดีต

2. กลุ่มปัจจุบัน

3. กลุ่มอนาคต

และมีการนำเสนอผลของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่มย่อย โดยสรุปสาระสำคัญทั้ง 3 กลุ่มย่อยได้ดังนี้

กลุ่มการดำเนินงานในอดีต : กลุ่มวันวาน ยังหวานอยู่ 

 

   

วิทยากรกระบวนการ :  อ.ขวัญเมือง แก้วดำเกิง

เครือข่ายสมาชิก

  1. คุณพจนีย์  บุญประสิทธิ์           บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

  2. คุณจอม  จันทรวิทุร                   Sahaviriya Steel Group Co., Ltd.

  3. ดร.เทอดทูน  ไทศรีวิชัย           บริษัท เมอส์ก ไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด

  4. คุณสมพร  หิรัญรัตน์               บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน)

  5. คุณอรณิชา  พิทักษ์เศรษฐการ  NOK Precision Component (Thailand) Co., Ltd.

  6. ร.อ.หญิง ปริยดา  เสนาวุธ         บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

  7. คุณกนิษฐา  ตรีรัตนภรณ์          บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

  8. คุณศมภู ทับเอี่ยม                 บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้นำเสนอผลงาน : คุณสมพร  หิรัญรัตน์  

         

ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มนี้ สรุปได้เป็น 5 ประเด็น ดังนี้

 นิยาม “สุขภาวะในองค์กร”

          สมาชิกในเวทีเป็นผู้ที่ผ่านประสบการณ์การทำงานมาแล้ว และมีแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพให้กับพนักงานในองค์กรที่ชัดเจนระดับหนึ่ง สมาชิกได้ให้นิยามคำว่า “สุขภาวะในองค์กร” ในทิศทางที่สอดคล้องกัน ดังชุดคำหลักที่กล่าวถึง ได้แก่ Business, Performance, องค์กร, ระบบ, คนทำงาน, Safety และความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว

 “จุดเริ่ม” ของงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงานในองค์กร

          สมาชิกในเวทีกล่าวถึง  จุดเริ่มต้นต้องของงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงานในองค์กรโดยกล่าวว่านโยบายก็เป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนระบบ และการสร้างสุขภาวะต้องอาศัยความพร้อม ของ “สภาวะข้างใน” ผู้บริหารระดับสูงต้องทำจริง มี Goal Vision มีกระบวนการทางวัฒนธรรม ไม่ปิดกั้นการเสนอไอเดียใหม่ๆ ต้อง มองว่าทุกคนในองค์กรมีศักยภาพในตัวเอง รวมทั้ง           คุณภาพชีวิตที่ดี สำหรับคนในองค์กรบางครั้งก็ต้องการกลุ่มคนกล้าที่จะเป็น “หน่วยกล้าตาย”

 

“นวัตกรรมเชิงนโยบาย” การสร้างสุขในองค์กร

          การสร้างนโยบายคุณภาพมีทั้งแรงกดดันจากมาตรฐานคุณภาพของต่างประเทศ และนโยบายที่เกิดจากภายใน อาทิ การให้ความสำคัญของผู้นำองค์กร การมีวัฒนธรรม การสร้างระบบการทำงานที่ดี และความกล้าหาญในการทำงานของ HR โดยนวัตกรรมที่เป็นจุดเด่นขององค์กรต่าง ๆ ได้แก่ NOK คือบ้านหลังที่ 2, คนดีคนเก่ง, Bumrungrad way หรือ วิถีแห่งบำรุงราษฎร์, Our Employee หรือพนักงานของเรา, TT บ้านหลังที่ 2 ทำดีทันใด และ Town home meeting ซึ่งเป็นเวทีที่พนักงานลุกขึ้นถาม CEO เป็นต้น

  

แนวทางการสร้างสุขภาวะในองค์กรที่ยังไม่พร้อม

สมาชิกในเวทีกล่าวว่าต้องมีเวทีให้ผู้บริหารได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เปิดพื้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือศึกษาดูงาน ซึ่งเมื่อบริษัทที่เข้ามาพบไอเดียแล้วก็จะนำไปปรับให้เข้ากับองค์กรของตนเองต่อไป

 

การสร้างสุขภาวะในหน่วยงาน “ภาครัฐ”

สมาชิกในเวทีมองว่าส่วนราชการจะทำเรื่องสุขภาวะในหน่วยงานได้ยาก ประสบการณ์ที่ผ่านจะพบว่าหน่วยงานราชการที่เชิญผู้บริหารองค์กรไปบรรยายให้กับข้าราชการฟัง ส่วนใหญ่สะท้อนความคิดว่า ราชการคงทำไม่ได้ ทำยากเพราะว่าติดที่ระบบของราชการเอง

 

หมายเลขบันทึก: 230452เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2008 17:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท