๑๒..การจัดวางไมโครโฟนสำหรับเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น.


แหล่งเสียงส่วนใหญ่ที่มีความถี่ต่ำมักกระจายออกรอบด้าน ยิ่งมีความถี่สูงขึ้นเสียงจะยิ่งถูกบีบให้ออกเป็นทิศทางมากขึ้น

 

 

การจัดวางไมโครโฟนสำหรับเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น

 

            แหล่งเสียงส่วนใหญ่ที่มีความถี่ต่ำมักกระจายออกรอบด้าน ยิ่งมีความถี่สูงขึ้นเสียงจะยิ่งถูกบีบให้ออกเป็นทิศทางมากขึ้น

 

1. เปียนโนใหญ่ (Grand Piano)

·      สำหรับเพลงประเภทป๊อบ(POP) เพลงเต้นรำ(Dance) และเพลงแจ๊ส(JAZZ) ที่เล่นเคาะแรง ๆ หนัก ๆ  ไมโครโฟนควรอยู่เหนือและชิดสายด้านเสียงสูง ส่วนฝาเปียนโนเปิดหรือยกออกเลย

·      สำหรับการบรรเลงดนตรีประเภทเบา ๆ และบรรเลงร่วมกับวงหรือเครื่องดนตรีอื่น ๆ ซึ่งต้องการให้ได้เสียงค่อยหรือดังหรือถ้าเป็นเครื่องที่มีคุณภาพต่ำ ไมโครโฟนควรชะโงกหาสาย

·      สำหรับการบรรเลงเดี่ยว ไมโครโฟนควรอยู่ทางปลายเปียนโนให้ห่างออกไป แต่ตัวเปียนโนควรตั้งอยู่บนพื้นแข็ง เพดานห้องสูง และมี Acoustic อย่างดี

-       ควรลองฟังเสียงการบรรเลง เมื่อตั้งไมโครโฟนเข้าที่ตามคำแนะนำขั้นต้น แล้วเปรียบเทียบกับเสียงจากไมโครโฟนอีกตัวหนึ่งซึ่งลองตั้งให้ต่างจากที่แนะนำ เลือกใช้เสียงจากไมโครโฟนที่ให้เสียงดีกว่า

-       ควรให้เสียงสูงเสียงต่ำอยู่ในระดับความใกล้-ไกลคล้ายกัน

-       ในกรณีที่บรรเลงเดี่ยวประกอบการร้อง หรือเดี่ยวร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ควรจัดไมโครโฟนเหมือนการจัดสำหรับการบรรเลงดนตรีประเภทเบา ๆ และใช้ไม้สั้นเปิดค้ำฝาเปียนโน การผสมเสียงจะขึ้นอยู่กับการที่จะให้ความสำคัญแก่เสียงเปียนโนเพียงไร จะให้เป็นการบรรเลงประกอบ หรือบรรเลงคู่กันไป

-        

2. เปียนโนเล็ก (Upright Piano) (ด้านหลังปิดด้วยผ้า)

            วางไมโครโฟนทางข้างหลังด้านเสียงสูง ให้อยู่ในระดับต่ำลงมาสักครึ่งหนึ่งของเปียนโน ถ้าเปียนโนอยู่ใกล้ฝาหรือขนานกับฝาจะทำให้เกิดเสียงคล้ายกับถูกฝาล้อมปิด คล้ายอยู่ในกล่องควรเลื่อนให้ห่างออกมา

 

3. เปียนโนเล็ก (Upright Piano) (ด้านหลังปิดด้วยวัสดุแข็ง)

            เปิดฝาเปียนโน แล้ววางไมโครโฟนให้หันลงมาทางด้านเสียงสูง

 

4. ไวโอลิน (Violin , Viola , Cello)

            ไมโครโฟนควรอยู่ประมาณ 5 ฟุต เหนือเครื่องดนตรี หันลงตรงสาย

 

 

5. เบส (String Bass)

            ไมโครโฟนควรอยู่ใกล้สายเหนือสะพานที่รับซอ

            อีกแห่งที่น่าวางได้คือ ชี้เข้าทางรูรูป f

6. กลอง (Drums)

            สำหรับกลองชุด โดยทั่วไปควรวางไมโครโฟนด้านกองเล็ก 1 ตัว ทางฉาบใหญ่ 1 ตัว ไมโครโฟน 2 ตัวที่ว่านี้ ตัวหนึ่งควรให้อยู่เหนือกลองชุดหันทำมุ่ง 45 องศา

            เวลาตีกลองเล็ก บางทีเกิดเสียงกระแสลมกระทบไมโครโฟน บางครั้งผู้เล่นกลองเผลอยกไม้ตีกลองโดนไมโครโฟน

            ฉะนั้น ควรฟังเสียงให้ดี ๆ และให้ผู้เล่นหมุนตัวซ้อมตีกลองให้เต็มที่ บางทีอาจต้องการไมโครโฟนอีกตัวหนึ่งสำหรับกลองใหญ่ กลองบองโก และเสียงร้อง

7. แตรทองเหลือง (Brass)

            แกนตรงของเสียงแตรมักมีเสียงเพี้ยน ๆ ผู้เป่าแตรเดี่ยว ๆ ควรเป่าให้เสียงไปเฉียงกับไมโครโฟน และเคลื่อนเข้าใกล้ไมโครโฟนเมื่อต้องการเสียงเบา

8. แตรฝรั่งเศส (French Horn)

            วางฉากข้างหลังผู้เป่า เพื่อให้ได้่เสียงสะท้อนที่ดี ไมโครโฟนหันเข้าหาฉาก แต่ให้ทางด้านตายหรือด้านบอดเสียงของไมโครโฟนหันเข้าหาแตร เพื่อลดเสียงต่าง ๆ ที่เกิดจากเครื่องกลไกของแตรให้น้อยลง

 

9. คลาริเนต หรือ ปี่ (Clarinet)

            ไมโครโฟนอยู่เหนือปี่ ไม่ใช่อยู่ด้านหน้าปากกระบอกของปี่ พวก Oboe , Cor Anglais, Recorder ฯลฯ  ก็วางเหมือนกัน

10. ฟลุ้ท หรือ ขลุ่ย (Flute)

            อาจจัดไมโครโฟนให้อยู่ในลักษณะ

·      หันลงหาและอยู่เหนือรูนิ้วขยับปิด-เปิด

·      อยู่ข้างหน้าใกล้ปากผู้เล่น แต่ต้องระวังเสียงลมกระทบไมโครโฟน

      11. กีตาร์ (Acoustic Guitar)

                  หันไมโครโฟนหักมุมลงหาช่องโหว่ของกีตาร์ ถ้าต้องการได้ยินเสียงนิ้วขยับ ก็เลื่อนไมโครโฟนไปทางด้านนิ้วจับขยับ

      12. กีตาร์ไฟฟ้า (Amplified Guitar)

                  วางไมโครโฟนหน้าลำโพง ระวังเสียงหึ่ม เสียงฮัม เสียงเปรี้ย ๆ  ที่อาจดังออกมาจากเครื่องขยายเสียง ถ้าสามารถทำได้ ควรใช้วิธีต่อสายตรง และอย่าลืมใช้หม้อแปลงอิสระ (Isolating Transformer) สำหรับเครื่องไฟฟ้าแต่ละเครื่อง

      13. ระนาด

                  หันไมโครโฟนลงหาตรงกลางผืนระนาด ทำมุม 45 องศา ห่างออกไปราว 2-3 ฟุต

      14. ฆ้องวง

                  หันไมโครโฟนให้ชี้ลงตรงกลางวง ทำมุม 45 องศา ห่างประมาณ 4 ฟุต

      15. ซอต่าง ๆ

                  หันไมโครโฟนลงหาสายซอ ทำมุม 45 องศา ห่างประมาณ 2-3 ฟุต

      16. จะเข้

                  หันไมโครโฟนลงตรงกลางเครื่อง ทำมุม 45 องศา ห่างออกไปประมาณ 3 ฟุต (สำหรับกระจับปี่ก็จัดเช่นเดียวกัน

      17. ขิม

                  หักไมโครโฟนลง 45 องศา ให้ชี้ตรงเข้าหาสายขิม ห่างออกไปประมาณ 3 ฟุต

      18. อังกะลุง

                  ใช้ไมโครโฟน 2 ตัว ที่จะมองเห็นทั้งวง หันเข้าหาวง หรือใช้ไมโครโฟนเพียวตัวเดียวก็ได้ อยู่สูงประมาณ 6 ฟุต ห่างจากวง 5 ฟุต สามารถ

มองเห็นอังกะลุงทั้งวง

      19. เครื่องกำกับจังหวะ (กลอง ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง ฯลฯ )

                  หันไมโครโฟน ทำมุม 45 องศา อยู่ห่างเครื่องกำกับจังหวะแต่ละชนิดราว 2 ฟุต แต่ถ้าเครื่องกำกับจังหวะอยู่รวมกลุ่มกันอาจใช้ไมโครโฟนเพียงตัวเดียว ห่างออกมา 4-5 ฟุต อยู่สูงขึ้นไป3-4 ฟุต

      20. วงดุริยางค์ วงดนตรี หรือคณะนักร้องประสานเสียงวงใหญ่

                  ใช้ไมโครโฟนที่รับเสียงได้มุมกว้าง (ประเภท Cardioid หรือ Ribbon) เพียงตัวเดียว อยู่ข้างหลังผู้อำนวยเพลง 10 ฟุต สูงเหนือศีรษะ 10 ฟุต บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ไมโครโฟนเก็บเสียงมุมแคบเข้าช่วยตรงบางส่วนของวง

 

 

      21. ผู้ฟัง (Audience)

                  ใช้ไมโครโฟน 2 ตัวอยู่ในกลุ่มผู้ฟัง เพื่อเก็บเสียงปรบมือ หรือเสียงร่วมร้องเพลง แต่ต้องหันด้านตายของไมโครโฟน ไปทางแหล่งเสียงอื่น เช่น ลำโพง เป็นต้น

 

หมายเหตุ

                  หลักต่าง ๆ ที่วางไว้นี้ เป็นเพียงแนวทางเพื่อช่วยให้การทำงานสะดวกขึ้นเท่านั้น จริง ๆ แล้ว ผู้ผลิตรายการ ผู้ควบคุมเสียง จะต้องทดลองให้เล่นและฟังจนได้เสียงตามต้องการ

                  ยกตัวอย่าง การวางไมโครโฟนให้ชิดสายซอ สายกีตาร์ จะทำให้ได้ยินเสียงนิ้วขยับ แต่ถ้าวางห่างเกินไป เราจะไม่ได้ยินเสียงแยกชัดออกมาอย่างที่ต้องการ เราจำเป็นต้องผ่อนปรน ด้วยการเปลี่ยนที่วางไมโครโฟนลองวางตรงนั้น ตรงนี้ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้คุณภาพเสียง ที่พอจะใช้ได้ใกล้เคียงกับเสียงที่เราต้องการที่สุดแล้ว

                             ขอให้ทุกท่านโชคดี

                                   สวัสดีครับ

 

หมายเลขบันทึก: 230286เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2008 22:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 01:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ได้ความรู้และเทคนิคครับ
  • ขอบคุณมาก
  • จะนำไปใช้ครับ

หวัดดีค่ะ...

วันนี้...มาในแนวเครื่องดนตรีนะคะรุ่นพี่

สบายดีรึเปล่า...

สวัสดีครับครูโย่ง

           ยินดีครับ...หากนำไปใช้ประโยชน์ได้

                                  โชคดีครับผม

แวะมารับความรู้ค่ะ

สวัสดีครับรุ่นน้อง

เป็นเทคนิคในการจัดไมโครโฟนสำหรับการบันทึกเสียงดนตรีครับ

ขณะนี้สบายดีครับ แต่งานยุ่งหน่อยไปรับหน้าที่ใหม่...อิอิ...หอบเหมือนกับยิกแลนเชียวแหละน้องเอ๊ย...

โชคดีจ้า

สวัสดีครับศน.แอ้ด

             ขอบคุณที่มาเยี่ยมครับ

                                      โชคดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท