เปิดบ้าน


เปิดบ้าน

ความสุขที่เกิดจากการ   สร้าง   เสพ   สืบสาน   สร้างสรรค์   ก่อให้เกิดองค์ความศิวิไล

ของวัฒนธรรมที่หลากลายทั้งด้านศิลปะ  วัฒนธรรม  ศาสนา  ประเพณี   วรรณกรรม  ฯลฯ  สิ่งเหล่านี้

ย่อมส่งผลให้สังคมนั้น ๆ  เป็นสังคมที่มีความร่ำรวยทางอารยธรรม

                ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ที่เรียกกันอย่างสามัญว่า  ภาคอีสาน  เป็นภูมิภาคที่มีความเป็น

อารยธรรมสูง  เพราะมีความร่ำรวยของศิลปะ  วัฒนธรรม  ศาสนา  ประเพณี  วรรณกรรม  ฯลฯ ชาวอีสานประกอบด้วยชนเผ่าที่หลากหลาย  เช่น  ญ้อ  ผู้ไท  แสก  กระโซ่  กวย  เขมร  บลู   พวน  ไทดำ  เป็นต้น  ชาวอีสานจึงมีวัฒนธรรมที่หลากหลายควรค่าแก่การศึกษาและบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์

                ปัจจุบันมีนักวิชาการสนใจที่จะเก็บเกี่ยวเอาความรู้จากความร่ำรวยทางอารยธรรมของ

ชาวอีสานเพื่อบันทึกเรื่องราวและเผยแพร่ความรู้ไปสู่ชนหมู่มาก  แต่ความรู้ที่เผยแพร่นั้นก็มีเพียง

น้อยนิดและผิวเผินเท่านั้น  ความจริงแล้ววัฒนธรรมของชาวอีสานยังนอนรอให้ผู้คนทั้งหลายปลุก

ให้เกิดมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง

                ผญา  คือ ถ้อยคำที่มีลักษณะสัมผัสคล้องจองกัน  เป็นหนึ่งในเครื่องมือถ่ายทอดความรู้  อารมณ์

และความเชื่อ  ที่แสดงถึงอารยธรรมของชาวอีสาน   นอกจากนี้ผญายังเป็นเครื่องมือที่ชาวอีสาน

โดยทั่วไปใช้บันทึกเหตุการต่าง ๆ ตามวาระที่เกิดขึ้นเพื่อง่ายแก่การจดจำ

               

                                                “ เดือนสามค้อย    ลมวอยวอยงัวอีแดงออกลูกด่อน

                                                   เดือนสี่ค้อย        ควายบักตู้ป่งเขา”

                                                                                                ( สุภณ  สมจิตรศรีปัญญา, ๒๕๕๐)

                บทผญาที่ถ่ายทอดโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภณ   สมจิตรสรีปัญญา  ผู้เป็นปราชญ์ท้องถิ่น

อีสานแห่งเมืองมหาสารคาม  เป็นบทผญาที่ท่องจำจากผู้เฒ่าผู้แก่สืบต่อมา  ในบทผญาบทนี้หากมอง

เพียงผิวเผินเราจะเห็นว่า  ผู้พูดกล่าวถึงลม  ความเปลี่ยนแปลงของวัวควายว่า  วัวที่มีสีแดงออกลูก

เป็นสีขาว(ด่อน)  และควายตู้(ควายที่เขาสั้นหรือไม่มีเขา)จะมีเขางอก  แต่ความจริงแล้วบทผญาบทนี้

เป็นการบันทึกลักษณะการทำมาหากินของท้องถิ่นอีสาน  กล่าวคือเมื่อถึงเดือนสามนั้น   มดแดง

(ซึ่งใช้วัวสีแดงเป็นสัญลักษณ์แทนตัว)จะออกไข่(ใช้ลักษณะสีของลูกวัวเป็นสัญลักษณ์แทน)

และเมื่อถึงเดือนสี่  ต้นไผ่จะแตกหน่องอกขึ้นมาเป็นหน่อไม้(ใช้ลักษณะควายบักตู้แทนหน่อไม้) 

                เพียงแค่ตัวอย่างของบทผญาเท่านี้ก็บ่งบอกถึงความชาญฉลาดของชาวอีสานโดยองค์รวม

หากแต่ถ้าใครสนใจจะศึกษาอย่างละเอียดจะพบว่า ทำไมคนอีสานจึงอยู่และยิ้มได้ในดินแดนที่หลายคน

มองว่า แห้งแล้ง

คำสำคัญ (Tags): #อีสานมิวเซียม
หมายเลขบันทึก: 230015เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2008 20:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีจ้า มาซมบ้านคนบ้านเดียวกัน (บ่นอ)

เพิ้นว่า คั่นบ่ออกจากบ้าน กะบ่ได้เฮียนฮู้โลกกว้าง...

ต่อบ่ได้แล่วจ้า ลืมซ้ำ บ่เก่งพญา เว้าบ่ค่อยเป็น

แต่กะมักฟังหลายเติบ

ขอบคุณครับที่ให้การต้อนรับเป็นคนแรกเลย มีอันใดให้รับใช้ก็อย่าได้เกรงใจเลยนะครับ ยินดีเสมอ

โห เยี่ยม!!! เลยค่ะ แค่วันเดียว วันแรก เขียนบล็อกตังหลาย บล็อกเลยค่ะ นับถือ นับถือ ว่าง ๆ ไปเยี่ยมเยียน บล็อกทิพบ้างนะคะ ฝากเนื้อฝากตัวช่วยแนะนำด้วยค่ะ

ฮักกันไว้เสมอไห่มักแตง

ให้เจ้าแพงกันแฮงเสมอแตงแพงค้าง

ให้เจ้าโสดาความดีอย่าได้ห่าง

อย่าได้วางปล่อยถิ่มคุณแก้วแก่นพระธรรม

(ไทบ้านผำ.2551)

ขออีกครั้งครับ

@ ให้เจ้าโสดาด้วยความดีอย่าได้ห่าง

@ อย่าได้วางปล่อยถิ่มคุณแก้วแก่นพระธรรม

@1012151 ชอบจังค่ะพญานี้

ฮักกันไว้เสมอไห่มักแตง

ให้เจ้าแพงกันแฮงเสมอแตงแพงค้าง

ให้เจ้าโสดาความดีอย่าได้ห่าง

อย่าได้วางปล่อยถิ่มคุณแก้วแก่นพระธรรม

(ไทบ้านผำ.2551)

"ฮักแพงกันไว้" คนไทยด้วยกัน

ขอขอบใจทุกท่าน วงการบ้านอีสาน

ที่มาเทียวทางแว อยู่สบายเบาบ้าง

นี่ล่ะเพิ่นว่า สายเลือดหมั่น แก่นกว่าหินผา

แม่นสิมีลมพาล กะบ่เพพังม้าง

ขอให้ฮักกันไว้ คือข้าวเหนียวนึ่งใหม่

อย่าสิพังเพเปือย จั่งข้าวเหนียวถืกน้ำ สั่นแหลว

สวัสดีค่ะ

ไม่ว่าจะวัฒนธรรมที่ไหน ภาคใดของไทย

ล้วนสามารถผสมกลมกลืนกันได้เสมอ จริงไหมคะ

คนไทยรักกันค่ะ (หวังว่าอย่างนั้น)

เป็นคนอีสานโดยกำเนิด..แต่ผญาพูดไม่เป็นแต่ชอบฟัง

ผู้เฒ่าผู้แก่คือภูมิปัญญาท้องถิ่นจริงๆนะคะ..ชื่นชมมากมาก

ผมก็คิดเช่นเดียวกับคุณครูครับ ความงามของชาติอยู่ที่ความสามัคคีของราษฎร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท