ส้มโอ อ่างกะป่อง
นางสาว เรณู ส้มโอ อ่างกะป่อง หิริโอตัปปะ

ความต่างของระบบการศึกษา


ความต่างของระบบการศึกษา US vs THAI

ความต่างของระบบการศึกษา ตอนที่ 2

สหรัฐอเมริกา vs ไทย



คราวที่แล้วเราพูดถึงระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษกันไปแล้ว อีกประเทศที่คนไทยหลาย ๆ คนสนใจส่งบุตรหลานไปเรียนต่อในระดับต่าง ๆ โดยมากก็จะเริ่มกันที่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามด้วยระดับปริญญาตรี หรืออาจเริ่มจากระดับปริญญาโท แล้วต่อปริญญาเอกก็ได้ค่ะ การศึกษาในสหรัฐอเมริกาโดยมากจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินและการดูแลโดยรัฐบาล สามระดับ คือ “Federal” “State” และ “Local” Federal คือสถานศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนและอยู่ในการดูแลจากส่วนกลาง State คือสถานศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนและอยู่ในความดูแลของมลรัฐนั้น ๆ และ Local คือสถานศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนและอยู่ในการดูแลจากหน่วยงานในท้องถิ่น โดยการศึกษาภาคบังคับของอเมริกาจะแตกต่างกันไปตามกฎหมายของแต่ละรัฐ กล่าวคือ บางรัฐเริ่มเข้าเรียนที่อายุ 5 ปีและบังคับให้เรียนจนมีอายุ 14 ปี บางรัฐอายุสำหรับการเริ่มต้นเข้าโรงเรียนอยู่ที่ 8 ปี และต้องเรียนจนอายุ 18 ปี แต่โดยส่วนมากนักเรียนจะเรียนกันจนจบ High School ค่ะ

นักเรียนในระบบการศึกษาของอเมริกานี้ นอกจากสถานศึกษาของรัฐบาลแล้วยังมีทางเลือกอีกสองทางคือ Private School และ Home School Private School แปลตรง ๆ ก็คือ โรงเรียนเอกชน ส่วน Home School ก็คือ การเรียนที่บ้านค่ะ ถ้ายังจะกันได้นักร้องซูปเปอร์สตาร์คนดังของไทย ทาทา ยัง ก็เรียนในระบบนี้ การเรียนที่บ้าน ตามหลักการก็คือนักเรียนจะเรียน ทำการบ้านส่งตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร แล้วเมื่อถึงเวลาก็ไปสอบเลื่อนชั้น โดยข้อสอบจะเป็นข้อสอบมาตรฐานจากส่วนกลางซึ่งใช้ทดสอบนักเรียนทุกโรงเรียนในระบบการศึกษาค่ะ Home School ในสหรัฐอเมริกาเปิดเป็นทางเลือกให้กับนักเรียนตั้งแต่ชั้นปีแรกของระบบจนถึงระดับมหาวิทยาลัยกันเลยทีเดียวค่ะ ถ้าเปรียบเทียบกันของเราก็มีระบบการศึกษานอกโรงเรียนที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าเรียนได้ในระดับตั้งแต่มัธยมศึกษาเป็นต้นไปค่ะ หลักการจะคล้ายคลึงกันค่ะ


เยาวชนอายุตั้งแต่ 5 ปีเต็มจะเริ่มเข้าระบบการศึกษาไม่ว่าจะเป็นการเรียนแบบใด ในโรงเรียน หรือที่บ้าน โดยจะเริ่มต้นที่ชั้น Kindergarten เป็นเวลาหนึ่งปีก่อนเริ่มเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษา ซึ่งจะนับเป็นปีแรกของประถมศึกษา หรือ First Grade ดังนั้นระดับประถมศึกษาของอเมริกาจึงมีแค่ห้าปีค่ะ จนถึง Fifth Grade รวม Kindergarten ด้วยก็เป็น 6 ปี จะเห็นว่าเด็กที่เรียนในระบบอเมริกัน จะจบการศึกษาระดับประถมศึกษาที่อายุประมาณ 11 ปี เร็วกว่าเด็กไทยราว ๆ 1 ปี ระดับประถมศึกษาของอเมริกาตั้งแต่ First Grade จนถึง Fifth Grade จะเรียกว่า Elementary School หรือเราอาจรู้จักกันว่า Primary School

หลังจากจบ Grade 5th แล้ว ก็จะเข้าสู่ระดับ Junior High School เป็นเวลา 3 ปี คือ Grade 6th-8th และ ระดับ Senior High School อีก 3 ปี คือ Grade 9th – 12th หลังจากจบ Grade 12th แล้ว ก็ถือว่าจบการศึกษาภาคบังคับแล้วและสามารถเลือกเข้าเรียนต่อในระดับอนุปริญญา (2 ปี) หรือ ปริญญาตรี (4 ปี) ใน College หรือ University ได้เลย หรือ ที่เรียกกันว่า Undergraduate School นักเรียนที่เลือกเรียนอนุปริญญาหลังจากจบแล้วอาจเรียนต่อจนครบสี่ปี ก็จะจบปริญญาตรีเช่นกัน


หลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาตรี (Bachelor degree) แล้ว นักศึกษาอาจสมัครเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาโท (Master degree) และปริญญาเอก (Doctorate degree) ระดับปริญญาโทในอเมริกาส่วนมากจะรับผู้เรียนที่จบการศึกษาในวิชานั้น ๆ หรือใกล้เคียงเท่านั้น ยกเว้น MBA ที่จะรับผู้เรียนจากหลากหลายสาขาวิชา โดยจะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 2 ปี และผู้ที่เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทซึ่งเป็นการเรียนที่เฉพาะสาขา จะเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกซึ่งจะใช้เวลาอีกประมาณ 3-6 ปี แล้วแต่หลักสูตรและสาขาวิชาที่เลือกเรียนค่ะ

โดยรวมแล้วระบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกาจะมีโครงสร้างเป็น 6-6-4-2-6 รวมทั้งหมด 24 ปีค่ะตั้งแต่ Kindergarten จนถึงปริญญาเอกนะคะ การวัดผลเป็นอีกอย่างที่น่าสนใจค่ะ ในสหรัฐอเมริกาการวัดผลจะวัดเป็นเกรด คือ เกรด A-D, F ซึ่งจะคล้ายกันกับระบบที่เราใช้ แต่จะต่างกับระบบของอังกฤษที่จะวัดผ่านเป็น Percentage (ยกเว้นในการสอบ A level ที่จะให้ผลเป็นเกรด) จำนวนนักเรียนที่เรียนต่อในระดับ Undergraduate และ Graduate School มีน้อยมาก ไม่ถึง 30% ของนักเรียนทั้งประเทศ เป็นเช่นเดียวกันกับประเทศอังกฤษที่มีจำนวนนักเรียนที่เรียนต่อในระดับ Undergraduate และ Postgraduate น้อยมากไม่ถึง 30% ของจำนวนนักเรียนทั้งประเทศ ซึ่งต่างจากประเทศไทยโดยสิ้นเชิงที่จำนวนนักเรียนที่เรียนต่อในระดับปริญญาตรีมีเกือบ 70% ทั้งในมหาวิทยาลัยของรัฐ และเอกชน



การเรียนในสหรัฐอเมริกาในระดับประถมศึกษาจะเน้นไปที่การเรียนและการทำกิจกรรมตามที่นักเรียนสนใจคล้าย ๆ การเรียนในระบบอังกฤษ แต่จะต่างกันที่วิธีการเรียนการสอน และเนื้อหาทางวิชาการที่อาจจะแตกต่างกันบ้าง รวมถึงการแตกต่างกันที่การวัดผล การคัดเลือกเข้าเรียนในระดับปริญญาตรี ที่จะต้องมีการสอบข้อสอบส่วนกลางที่เรียกว่า SAT แล้วใช้คะแนนที่ได้รวมกับเกรดจากการเรียนมสมัครตรงที่มหาวิทยาลัย และคณะที่สนใจได้เลย โดยไม่ต้องผ่านส่วนกลางใด ๆ อีก แต่หากจะเข้าเรียนในระดับปริญญาโทนอกจากเกรดจากปริญญาตรีแล้ว จะต้องมี personal statement คะแนน GMAT บางแห่งอาจต้องส่ง VDO Presentation ที่มีเนื้อหาคล้าย ๆ personal statement ค่ะ มหาวิทยาลัยที่ของ VDO Presentation ของ ผู้สมัคร เช่น Harvard Law School ค่ะ ถ้าใครอยากเห็นตัวอย่างดูได้ในภาพยนตร์ เรื่อง Legally Blond ภาคแรก ที่นางเอกเพิ่งเรียนจบ College แล้วสนใจสมัครเรียนต่อในระดับปริญญาตรีที่ Harvard Law School ค่ะ จะเห็นว่าเพื่อน ๆ ของนางเอก รวมถึงนางเอกด้วยต้องสอบอะไรบ้าง สอบแล้วต้องสมัครอย่างไร รวมไปถึงเมื่อเข้าเรียนแล้วเพื่อน ๆ ร่วมชั้นเรียนเขาเรียนกันอย่างไรค่ะ เรียกว่าเห็นภาพเลยค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #ระบบการศึกษา
หมายเลขบันทึก: 229912เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2008 13:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยกับความแตกต่าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท