www.cpnbiotec.com เชื่อมโยงเครือข่ายชุมพรให้ก้าวไกลในระดับชาติ


ประสบการณ์จริงจากการปฏิบัติงานในพื้นที่ของบุคลากรเหล่านี้ คือ ความรู้ฝังลึกที่ทรงคุณค่า การได้มีโอกาสถ่ายทอดออกมาว่า “งานที่ฉันทำในวันนี้คืออะไร ได้ไปตรวจเยี่ยมเกษตรกรที่ไหนบ้าง พบเห็นแนวทางพัฒนาแก้ปัญหาในเรื่องใด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคพืช, เทคนิคการบำรุงรักษา, การผลิต, การเก็บเกี่ยว ฯลฯ” โดยมีความคิดเห็นที่กลั่นกรองมาจากประสบการณ์ตรงเป็นตัวอธิบายเหตุปัจจัยของเรื่องเหล่านั้น โครงการฯ เชื่อว่า เรื่องนี้สำคัญที่สุด

จุดเริ่มต้นของการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพในระบบจังหวัดชุมพร ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกกับ ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพในองค์กรต่าง ๆ ได้แก่ สถาบันการศึกษา ศูนย์วิจัยและพัฒนา หน่วยงานราชการ โรงงานอุตสาหกรรม ฟาร์มเพาะเลี้ยง ตลอดจนในชุมชนซึ่งมีองค์ความรู้เทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิมจากภูมิปัญญาชาวบ้าน

กระบวนการที่ใช้เป็นแนวทางหลัก คือ การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) โดยมีเป้าหมายหลักอยู่ที่การพัฒนาคน, พัฒนาองค์กร และพัฒนางานทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งในกระบวนการ KM มีค่านิยมพื้นฐานอยู่ประการหนึ่งได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นความเชื่อ ความศรัทธาว่า ความรู้อยู่ที่ผู้ปฏิบัติ

โดยเฉพาะ ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) เป็นสาระสำคัญถึง 80% ที่โครงการฯ จะต้องดึงขึ้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านช่องทางต่าง ๆ สรุป, ถ่ายทอด, เก็บกัก, นำไปประยุกต์ใช้, สร้างเสริม, เติมต่อ จนกลายเป็น ความรู้เชิงประจักษ์ (Explicit Knowledge) และเมื่อได้รับการต่อยอดโดยสถาบันวิจัยระดับสูง ได้แก่ ศูนย์ไบโอเทค, มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับประเทศ ฯลฯ ความรู้ที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินจะได้รับการยกระดับพัฒนาเป็น ทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศ

ประสบการณ์จริงจากการปฏิบัติงานในพื้นที่ของบุคลากรเหล่านี้ คือ ความรู้ฝังลึกที่ทรงคุณค่า การได้มีโอกาสถ่ายทอดออกมาว่า งานที่ฉันทำในวันนี้คืออะไร ได้ไปตรวจเยี่ยมเกษตรกรที่ไหนบ้าง พบเห็นแนวทางพัฒนาแก้ปัญหาในเรื่องใด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคพืช, เทคนิคการบำรุงรักษา, การผลิต, การเก็บเกี่ยว ฯลฯ โดยมีความคิดเห็นที่กลั่นกรองมาจากประสบการณ์ตรงเป็นตัวอธิบายเหตุปัจจัยของเรื่องเหล่านั้น โครงการฯ เชื่อว่า เรื่องนี้สำคัญที่สุด

โครงการฯ มีภาพในใจว่า เมื่อผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ได้เขียนเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับงานลงไปใน ใบความรู้ ภาษาที่ใช้ไม่จำเป็นต้องสละสลวย เรียงร้อยถ้อยคำตามระเบียบหนังสือราชการ ขอให้ จริงและตรง อ่านรู้เรื่องเข้าใจ ถ้อยคำเหล่านั้นจะเป็นถ้อยคำที่ มีพลังเข้าถึงความจริง ได้มากกว่าถ้อยคำที่ปรุงแต่งประดิษฐ์ประดอย

ใบงานนี้จะถูกนำไปใช้ป้อนข้อมูลข่าวสารเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต โดยรูปแบบของการเขียนบันทึกที่เรียกว่า Blog หรือรูปแบบอื่น ๆ ที่เหมาะสม ความรู้ที่ถูกพิมพ์ใส่ลงไปใน Blog จะถูกถ่ายทอดเข้าไปในระบบ ได้รับการเก็บกัก และแสดงตัวออกมาเมื่อมีการค้นหาโดย Search Engine ที่ทรงพลังอย่าง google ซึ่งถูกออกแบบให้มีบริการโดยตรงสามารถเลือกค้นหาเฉพาะในเว็บไซต์ของโครงการฯ โดยตรง คือ www.cpnbiotec.com ก็ได้

ผู้ที่เข้ามาอ่านมีอยู่มากมายเกินกว่าที่เราจะคาดถึง เราจะได้เห็นการเข้ามาติดตามอ่านอย่างใกล้ชิดจากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานสำคัญของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นระดับกรม, กอง, ฝ่าย, แผนก ฯลฯ นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานอยู่ในสายงานต่าง ๆ ก็จะเข้ามาถักทอเครือข่าย ขอเรียนรู้เทคนิคประสบการณ์ เมื่อการเชื่อมต่อเริ่มเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและได้ประโยชน์ ในอนาคตเราจะได้เห็น Knowledge Mapping มาพร้อม ๆ กับ Human Mapping หน้าตาคล้าย ๆ อย่างนี้.


หมายเลขบันทึก: 229879เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2008 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ มาเยี่ยมครับ...ชุมพร เป็นจังหวัด ที่มีศักยภาพหลายด้านทั้งแหล่งท่องเที่ยว และ ภาคอุตสาหกรรม... รออ่านข้อเขียนต่อไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท