แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน


การดำเนินการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำในมาตราตัวสะกด สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

บทคัดย่อ


        การดำเนินการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำในมาตราตัวสะกด  สาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒  ครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ  ๑) พัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำในมาตราตัวสะกด  สาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดพันปี)  สำนักการศึกษา เทศบาลนครพิษณุโลก  ๒) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำในมาตราตัวสะกด   สาระการเรียนรู้ภาษาไทย   ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒  จำนวน ๙ ชุด

โดยการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐  ๓) ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและการเขียนคำในมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒  ที่ได้รับการฝึกโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำในมาตราตัวสะกด  สาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒  ก่อนและหลังการใช้แบบฝึก

        กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒  โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดพันปี)  สำนักการศึกษา เทศบาลนครพิษณุโลก ภาคเรียนที่ ๒  ปีการศึกษา ๒๕๕๐ จำนวน ๒๑ คน  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง

        เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการ คือ  ๑) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน ๙ แผน  ๒) แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำในมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๙ ชุด  ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและการเขียนคำในมาตราตัวสะกด จำนวน ๓๐ ข้อ  มีค่าความยากง่าย ระหว่าง ๐.๓๘ – ๐.๗๖ ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง  ๐.๔๓ – ๐.๗๗  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย

(  X    ) ,  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) , ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) , เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน  โดยการทดสอบค่า t  ( t – test Dependent Sample)

        ผลการศึกษาพบว่า

        ๑. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำในมาตราตัวสะกด  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒  โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดพันปี)  ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์    ๘๒.๖๕/๘๕.๕๐     ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ คือ ๘๐/๘๐

        ๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและการเขียนคำในมาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒  ที่ได้รับการฝึก  โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำในมาตราตัวสะกด  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑


แบบฝึกทักษะชุดที่ ๑

http://gotoknow.org/file/su_nipa/thai01.pdf


หมายเลขบันทึก: 229642เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2008 09:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

@ ระดับนัยสำคัญทางสถิติน่าจะเป็น .01 หรือเปล่าครับ

ขอบคุณค่ะ แก้ไขแล้วนะคะ พิมพ์ผิดค่ะ

ขอบคุณนะคะสำหรับผลงานดี ดี จะขออนุญาตนำไปดูเป็นแนวทางในการพัฒนานาเด็ก LD นะคะ เพราะว่าเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ แล้วต้องมาทำวิชาภาษาไทยมันปวดหัวค่ะก็จะปรับเปลี่ยนคำศัพท์เอาน่ะค่ะ

ขอบคุณมากนะคะสำหรับผลงานดี ๆ ขออนุญาตนำไปต่อยอดพัฒนานาเด็ก LD ที่ ร.ร.นะคะ หวังว่าจะได้รับความกรุณาต่ไป

เนื้อหาเหมาะสม สวยงามน่าอ่านมีประโยชน์ในการเรียนมาก

ขอบคุณครับ

ขอบคุณอย่างมากอยากให้เผยแพร่ทั้ง 9 ชุด เป็นวิทยาทาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท