การเรียนแบบโปรแกรม


การสอน1
 


การสอนแบบโปรแกรม

การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นเมื่อเราสร้างบรรยากาศที่จะเอื้ออำนวยให้เกิดการ เรียนรู้ 4 สถานการณ์ คือ
1. ให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาทีละน้อยตามลำดับขั้น
2. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนอย่างกระฉับกระเฉง
3. ให้ผู้เรียนทราบผลการปฏิบัติกิจกรรมโดยทันทีว่าถูกต้องหรือไม่มีอะไรจะต้องแก้ไข
4. ให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจในความสำเร็จ ซึ่งการจัดสภาพการณ์ดังกล่าวเรียกว่า "การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction) ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2521:108) กล่าวถึง ความแตกต่างระหว่างการสอนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction) และบทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed Lesson or Text) ดังนี้

การสอนแบบโปรแกรม
เป็นระบบการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียน ประกอบกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองตามเนื้อหาซึ่งจัดไว้เป็นขั้นตอนแรก ๆ ผู้เรียนมีโอกาสประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนจะเรียนตามความสนใจและความสามารถของตนเอง
บทเรียนแบบโปรแกรม
เป็นบทเรียนที่นำเสนอเนื้อหาทีละน้อยตามลำดับ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนด้วยการตอบคำถามหรือปฏิบัติกิจกรรมอื่น ๆ มีการเฉลยผลการปฏิบัติให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยผู้เรียนจะใช้เวลาในการเรียนตามความสนใจและความสามารถของตน บทเรียนแบบโปรแกรมอาจจะอยู่ในรูปของ บทเรียนที่เป็นตำรา (Programmed Book) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer assisted Instruction) หรือบทเรียนที่เป็นชุดการสอน (Instructional Packages) เป็นต้น

10.4.1 ความเป็นมาของบทเรียนแบบโปรแกรม
ซิดนีย์ แอล เพรสซี่ (Sydney L.Pressey) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อทดสอบนักเรียนในปี พ.ศ.2469 บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F>Skinner) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เขียนบทความอธิบายหลักของการเรียนรู้ซึ่งนำไปสู่การสร้างบทเรียนแบบโปรแกรม เมื่อปี พ.ศ.2497 ต่อมาในปี พ.ศ.2500 จึงได้ประดิษฐ์เครื่องช่วยสอน (Teching Machine) และเผยแพร่ผลงานของเขา ในปี พ.ศ.2502 โอมและคลาสเซอร์ ได้ทำโปรแกรมของเครื่องสอน มาเป็นรูปเล่มเป็นครั้งแรกเรียกว่า โปรแกรมบุค (Programmed Book)

10.4.2 จิตวิทยาพื้นฐานของการเรียนแบบโปรแกรม
ในการสร้างบทเรียนโปรแกรมยึดนักจิตวิทยา หลัก 2 ทฤษฏี ได้แก่
1) ทฤษฏีสิ่งเร้าการตอบสนองของธอร์นไดท์ (S-R Theory)
- กฎแห่งผล (Law of Effect) กฎนี้กล่าวถึงการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการ ตอบสนอง - กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) เป็นการที่จะให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทำซ้ำ ๆ จะช่วยเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มั่นคง - กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) เมื่อผู้เรียนเกิดความพร้อมที่จะเรียนการเรียนรู้ก็จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) ทฤษฏีการเสริมแรงของสกินเนอร์ (Reinforcement Theory)
การเสริมแรงจะทำให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจที่เรียนต่อไป การเสริมแรงของบทเรียนโปรแกรมใช้การเฉลยคำตอบให้ทราบผลว่าถูกหรือผิดโดยทันที การให้ความรู้ต่อเนื่องทีละขั้นอย่างละเอียดจะช่วยไม่ให้เกิดการตอบสนองที่ผิดพลาด

10.4.3 ลักษณะของบทเรียนสำเร็จรูป
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
1) เนื้อหาจะแบ่งเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่ากรอบ (Frame)
2) มีการให้ผู้เรียนได้ตอบสนอง อาจจะโดยการตอบคำถามหรือเติมคำลงในช่องว่าง เพื่อวัดความเข้าใจ
3) ผู้เรียนได้รับการตอบกลับทันทีว่า คำตอบนั้นถูกหรือไม่ คำตอบที่ถูกต้องจะเสมือนรางวัลสร้างการเสริมแรงในการเรียน
4) ผู้เรียนมีอิสระในการเรียน สามารถเรียนโดยใช้เวลาตามความสามารถของตน

10.4.4 ชนิดของบทเรียนสำเร็จรูป
บทเรียนสำเร็จรูป อาจแบ่งออกได้ 3 ประเภทด้วยกันคือ
1) แบ่งตามวิธีการนำเสนอ มี 2 ชนิดคือ
- ใช้กับเครื่องช่วยสอน (Teaching machine) ซึ่งปัจจุบันก็จะเป็นลักษณะของการใช้กับคอมพิวเตอร์ - นำเสนอโดยรูปเล่มสิ่งพิมพ์ (Programmed Text)
2) แบ่งตามประเภทของการตอบสนอง มี 2 ชนิดคือ
- ชนิดที่ผู้เรียนสร้างคำตอบเอง (Constructed Response) - ชนิดที่มีคำตอบให้เลือก (Multiple Choice) 3) แบ่งตามเทคนิคการเขียนบทเรียน มี 2 ชนิด คือ - แบบเส้นตรง (Linear) - แบบสาขา หรือแบบแตกกิ่ง (Branching)

10.4.5 ประโยชน์ของบทเรียนสำเร็จรูป
บทเรียนสำเร็จรูปจะเกิดประโยชน์ในการเขียนการสอนในแง่มุมดังต่อไปนี้ คือ
1) ผู้เรียนมีโอกาสเรียนด้วยตนเอง และดำเนินตามความสามารถของตน
2) ช่วยลดภาระในการสอนของผู้สอน เพราะผู้สอนจะเป็นผู้ช่วยเหลือผู้เรียนในกรณีที่เกิดปัญหาเท่านั้น
3) แก้ปัญหาการขาดแคลนผู้สอน
4) ผู้เรียนใช้เวลาเรียนตามความพอใจของตนเอง
5) ทำให้เนื้อหาเป็นมาตรฐานเดียวกัน
6) ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจในการเรียน เมื่อตอบผิดก็ไม่ต้องเกรงว่าจะมีผู้เยาะเย้ยสามารถแก้ไขด้วยตนเอง


Back

 
คำสำคัญ (Tags): #การสอน1
หมายเลขบันทึก: 229116เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2008 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท