Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

ขออาจารย์ไหมโปรดจำไว้ว่า ลิขสิทธิ์ เป็นเรื่องของศีลธรรม ... มันไม่มีผล เพียงแค่ต่อเราเท่านั้น ..มันอาจสร้างนิสัยเสียแก่คนเขียนหนังสืออีกมากมายในสังคมไทย


        มวลมิตรคะ อยากทำความเข้าใจให้มวลมิตรที่มิใช่ลูกศิษย์โดยตรงของ อ.แหววเข้าใจในเรื่องลิขสิทธิ์สักหน่อย

        ในประการแรก ขออนุญาตอธิบายว่า การเคารพลิขสิทธิ์เป็นศีลธรรมพื้นฐานของคนเขียนหนังสือ  อ.แหววสอนลูกศิษย์ที่เอาความรู้ของ อ.แหววมาทำงานเสมอให้เคารพลิขสิทธิ์ของคนอื่น และในทางกลับกัน จะต้องปกป้องลิขสิทธิ์ของตนเองให้ได้  สำหรับ อ.แหวว เรื่องนี้สำคัญมากค่ะ

      ในประการที่สอง ขยายเหตุผลจากประการแรก การขโมยงานเขียนหรือแนวคิดในงานเขียนของคนอื่นมาเป็นของตน มันมิใช่เพียงแค่อาชาญกรรมส่วนตัวต่อเจ้าของงานเขียน แต่เป็นการทำงานศรัทธาของการสร้างสรรค์งานเขียน ในประเทศไทย  คงไม่มีใครอยากสร้างสรรค์งานเขียน หากมีการขโมยกัน จนไม่มีใครเห็นความสำคัญของการเขียน รอบตัวเรา ก็คงมีแต่การคัดลอก (copy) ความตายของความรู้จึงมาถึงสังคมไทยเป็นแน่

               ในประการที่สาม ขยายเหตุผลจากประการแรก การไม่ปกป้องงานเขียนอันมีลิขสิทธิ์ของตน ก็จะเป็นการสนับสนุนโจร และการจรกรรม นอกจากนั้น นักกฎหมายไทยจึงขาดทักษะในการคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ นิสัยเสียของคนเขียนหนังสือแบบขโมยลิขสิทธิ์ของคนอื่นๆ จึงปรากฏเป็น "โรคร้าย" ของนักวิชาการในสังคมไทย ทั้งนี้ เพราะไม่มีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับศีลธรรมประเภทนี้ มองอาชญากรรมทางวรรณกรรมเป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องความใจดี และในที่สุด ศีลธรรมที่จะเคารพลิขสิทธิ์จึงเกิดขึ้นไม่ได้ในสังคมไทย

              กรณีของ อ.ไหม ต้องถูกตำหนิอย่างร้ายแรงเพราะ อ.แหววได้อีเมลล์ขอให้ อ.ไหม ช่วยจัดการบันทึกเกี่ยวกับลิขสิทธิ์แล้วในงาน powerpoint ชุดนี้ ซึ่งเป็นงานสร้างสรรค์ของ อ.แหวว ที่ทำเพื่อการเสนอในเวทีสัมมนาของคณะอนุกรรมการติดตามการให้สถานะบุคคลตามกฎหมายไทยแก่เด็ก เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๑ ของคน ๕ คน ดังระบุใน powerpoint

              แต่จะเห็นว่า อ.ไหมไม่ได้จะสนใจที่จะคุ้มครองลิขสิทธิ์ของ อ.แหวว กลับเอางานไปเผยแพร่ในลักษณะที่ยังไม่ได้รับการรับรองลิขสิทธิ์ให้แก่ อ.แหวว

              สาเหตุ ก็เพราะ อ.ไหม ก็เหมือนคนไทยคนอื่น นักกฎหมายคนอื่นๆ ที่ไม่เห็นความสำคัญในศีลธรรมที่ชื่อว่า "ลิขสิทธิ์"

                 คำว่า "ลิขสิทธิ์" นั้น เราควรฟังว่า เป็นทั้ง  moral right และ legal right  และเราควรเริ่มต้นจากเราที่จะรักษาและคุ้มครองศีลธรรมประเภทนี้ให้ได้ มิฉะนั้น เราคงจะสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาสังคมมิได้

                 ขอไหม อย่าเป็นศิษย์ดื้ออีก

              ขอโอ๊ต จงพยายามใช้ลิขสิทธิในงานของ อ.แหวว ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ทั้งในวันนี้ และในวันที่ อ.แหววไม่มีชีวิตต่อไปแล้ว

               ขอบคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 228636เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2008 18:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 11:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับอาจารย์แหวว กวินเคยอ่านทรรศนะ ดร.พญ.อมรา มะลิลาที่เขียนเล่าเรื่อง การนำงานวิชาการไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต โดย นำไปใช้เพื่อประโยชน์แห่งตน ฯลฯ เหมือนกันครับ ท่านเขียนไว้คล้ายๆ ทรรศนะของ อาจารย์แหวว ว่า "จงพยายามใช้ลิขสิทธิในงานของ อ.แหวว ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม"

ลิขสิทธิ์ เป็นเรื่องของศีลธรรม ... มันไม่มีผล เพียงแค่ต่อเราเท่านั้น ..มันอาจสร้างนิสัยเสียแก่คนเขียนหนังสืออีกมากมายในสังคมไทย

-- คนเราเคยชินกับสิ่งที่เราสามารถหยิบจับได้ โดยมิได้รู้คุณค่า

ศิษย์ว่าการขโมยความคิดคนอื่น มันก็ไม่ต่างอะไรการเอามาโดยที่ไม่ได้เอยอ้างถึง

เพราะมันก็มีผลเช่นเดียวกัน ทางที่ดีก็ต้องมีสำนึกเพราะวรรณกรรมเป็นสิ่งที่ออกมาจาก

ฃความคิด เป็นสิ่งมที่มี่ค่า มีค่าต่อสังคมด้วยแล้วใหญ่

ลิขสิทธิ์ เป็นเรื่องของศีลธรรม ... มันไม่มีผล เพียงแค่ต่อเราเท่านั้น ..มันอาจสร้างนิสัยเสียแก่คนเขียนหนังสืออีกมากมายในสังคมไทย -- ประทับใจคำพูดของอาจารย์มาก เป็นกำลังใจให้เสมอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท