รากฐานงานแม่และเด็ก > World AIDS Fairs 2008 in Nakorn Sawan


การกำหนดกิจกรรมของที่ประชุมใหญ่ให้นักเรียน/ นักศึกษา ลงทะเบียน เพื่อรับแบบสอบถามรายละเอียดและความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมในงาน พร้อมรับของที่ระลึก ช่วยให้ผู้เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการให้ความสนใจ และมีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น

งานนิทรรศการรณรงค์วันเอดส์โลก ปี 2551 

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) ได้ประกาศให้วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันเอดส์โลก และปีนี้ได้กำหนดคำขวัญในการรณรงค์องค์ว่า “Stop AIDS: Keep the Promise” หรือเอดส์หยุดได้.....ถ้าร่วมใจรักษาสัญญา

จังหวัดนครสวรรค์ โดยคณะอนุกรรมการควบคุมป้องกันโรคเอดส์ จังหวัดนครสวรรค์ นำโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ขึ้นในวันที่ 1 ธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา ณ ห้างสรรพสินค้าวีสแควร์ โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจถึงปัญหาการแพร่ระบาด ภัยคุกคาม และผลกระทบจากโรคเอดส์ให้กับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เยาวชน นักเรียน นักศึกษา เกิดความตระหนักในการป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

กิจกรรมในงานประกอบด้วย

1.     การจัดนิทรรศการให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์และประเด็นที่เกี่ยวข้อง โดยหน่วยงานราชการ เอกชนและองค์กร NGO จำนวน 8 หน่วยงาน

2.     การประกวดบอร์ดนิทรรศการ/ป้ายคำขวัญ และประกวดการกล่าวสุนทรพจน์ของนักเรียนจากโรงเรียนในเขตอำเภอเมืองจำนวน 7 แห่ง

3.     กิจกรรมการแสดง ดนตรี การเล่นเกมบนเวที

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8 ได้ดำเนินกิจกรรมจัดนิทรรศการในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันโรคเอดส์ คือ การส่งเสริมสุขภาพทางเพศสำหรับเยาวชน การคุมกำเนิด และผลกระทบจากการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

ผลการดำเนินกิจกรรม

1. การจัดนิทรรศการการส่งเสริมสุขภาพทางเพศสำหรับเยาวชน ดำเนินกิจกรรมในงานเพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ได้มีโอกาสตระหนักรู้ถึงธรรมชาติของความต้องการการมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น เสนอทางเลือกการดูแลสุขภาวะทางเพศที่ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เอชไอวี รวมถึง การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ โดยวิธีการเชิญชวนให้รับฟังและแลกเปลี่ยนความรู้ การจำลองสถานการณ์ให้นักเรียนหญิงชายอยู่ร่วมกันในห้องกำเนิดมนุษย์ แล้วให้นักเรียนหญิงที่เข้าร่วมกิจกรรมทดลองสวมเสื้อคุณพ่อตั้งครรภ์ หลังจากให้สนทนาพูดคุยกันสักครู่

ผลการตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของเยาวชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่อประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้อง สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

1.1 เมื่อคุณเข้าไปในห้อง คุณรู้สึกอย่างไร

                  - สนุกสนาน ตื่นเต้น แปลก ต้องการมีเพศสัมพันธ์ ชอบ มีความสุข

                  - อาย หวั่นไหว อึดอัดใจ กลัว ไม่น่าไว้วางใจ เป็นสถานการณ์ที่ล่อแหลม          

                  - รู้สึกหนักเมื่อสวมเสื้อ รู้สึกถึงความลำบากของมารดา

1.2  คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ป้องกัน

                  - กลัว กังวล มีภาระต้องรับผิดชอบ เสียโอกาสทางการเรียน ทำลายอนาคตตนเอง เป็นปัญหาสังคม

                  - เสียใจ รู้สึกผิด เป็นความผิดพลาดของผู้หญิง เสียใจแทนพ่อแม่ สงสารผู้หญิง

                  - อยากทำแท้ง เพราะเด็กจะมีปัญหา ไม่ได้ตั้งใจให้ท้อง แต่บางครั้งปฏิเสธไม่ได้

                  - อาจติดเชื้อเอชไอวี

1.3  คุณมีวิธีปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์อย่างไร

                  - ปฏิเสธ โดย

                        : สื่อสารแบบตรงไปตรงมา นุ่มนวล

                        : ให้เหตุผลเกี่ยวกับครอบครัว ความไม่พร้อม

                        : อ้างว่าตนติดเชื้อเอชไอวี มีประจำเดือน

                  - หาทางออกที่เหมาะสม โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ด้วยกันตามลำพัง ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ

                  - หนี                      

                  - ผู้หญิงไม่ควรเปิดโอกาสให้ผู้ชาย

                  - ไม่ปฏิเสธ ถ้าปฏิเสธไม่ได้ควรป้องกัน

ปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

1.    ผู้บริหารเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุน

2.    ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการประชุมหารือ ระดมความคิดและเตรียมการจัดกิจกรรมภายใต้ระยะเวลาที่จำกัด

3.    ผู้รับผิดชอบมีประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมนิทรรศการ โดยเฉพาะบุคลากรจากงานประชาสัมพันธ์ สามารถให้ข้อคิดเห็นในการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจ และเป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วมได้ดี

4.    การกำหนดกิจกรรมของที่ประชุมใหญ่ให้นักเรียน/ นักศึกษา ลงทะเบียน เพื่อรับแบบสอบถามรายละเอียดและความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมในงาน พร้อมรับของที่ระลึก ช่วยให้ผู้เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการให้ความสนใจ และมีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น

ภาพกิจกรรมในงาน

 

   

ภาพบน : ท่านนายกเหล่ากาชาด ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัด(ขวา) และท่านนายแพทย์ สสจ.(ซ้าย) ตัดริบบิ้นเปิดงาน

ภาพล่าง : ดิฉันมีโอกาสรายงานกิจกรรมนิทรรศการให้ท่านรองผู้ว่า ฯ รับทราบ พร้อมเล่าให้ท่านฟังคำตอบของน้องๆ บางคนที่เข้าห้องกำเนิดมนุษย์ แล้วออกมาตอบคำถาม"คุณจะปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ อย่างไร" ว่า  "ปฏิเสธยาก เพราะชอบ" ท่านหัวเราะเสียงดัง แล้วก็ตามด้วยประโยคนี้ "เออ! เนาะสมัยนี้ มันคงปฏิเสธยาก" อิอิ

 

  • กิจกรรมในบู๊ทของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ มีการสอนสาธิตวิธีการใส่ถุงยางอนามัยกลางห้างสรรพสินค้า แบบชัดๆ เป็นรูปธรรม มีทั้งนักเรียน นักศึกษาที่น้องเต่า ปชส.คนเก่งเรียกเข้ามาร่วมกิจกรรม ฝึกกันแบบขะมักเขม้น และสาวสวยจาก DTAC มาขอฝึกด้วยค่ะ 
  •   น้องๆ นักเรียน ชาย-หญิง ที่ยินดีจูงมือกันเข้าห้องอยู่สองต่อสอง แล้วออกมาน้องผู้หญิงอุ้มท้องออกมา บางคนเขินอายสุดๆ บางคนพอยกเสื้อกายสิทธิ์ให้คุณพ่ออุ้มท้องแทนได้ ก็ชู 2 นิ้วว่าสำเร็จแล้ว แถมมีเพื่อนๆ ไทย(นักเรียน)มุง แอบดูกันเพียบ ไม่รู้ท้องได้ไง 55
  • ภาพสุดท้ายเป็นซุ้มนิทรรศการจากโรงเรียนต่างๆ ที่เข้าประกวด และกิจกรรมบนเวทีที่มีหุ่นละครโรงเล็กมาเล่านิทานน่ารัก ๆ ที่กระตุ้นให้เพื่อนๆ ในวัยรุ่นระมัดระวังเรื่องการติดเชื้อเอชไอวี  

  • ผลงานปีนี้รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้มีประสบการณ์การทำงานเชิงรุก และประชาสัมพันธ์หน่วยงานสำเร็จ ถึงแม้จะมีอุปสรรคความเร่งด่วน (ตามระเบียบ)บ้าง ก็เป็นเรื่องที่ได้จดบันทึกไว้แล้ว
  • ปีหน้าเชื่อว่าคงได้รับเชิญเข้าร่วมกิจกรรมอีกครั้ง สิ่งที่คิดว่าสามารถเตรียมการล่วงหน้า ก็คือ เสนอให้ทุกหน่วยงานในองค์กรที่มีผลงานเป็น Best Practice ควรเตรียมสื่อสนับสนุนเพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เนื่องจากการนำเสนอผลงานส่วนใหญ่ในภาพรวมของจังหวัด ก็จะมอบหมายกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เป็นผลงานเด่นให้กับหน่วยงานเราอยู่แล้ว
  • ผลิตสื่อไว้ก็สามารถหยิบคว้าไปใช้ได้หลายงานเลยค่ะ
หมายเลขบันทึก: 228075เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2008 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • บรรยากาศดีจังเลย
  • คงคึกคักน่าดูเลยนะคะ
  • แล้วได้ AAR ผู้จัดกิจกรรมกันด้วยหรือเปล่าคะ
  • ป้าแดง happy land
  • ดีจ้ะเด็กๆก็ตอบกันตรงดีนะ  เพราะถ้าชายคนรักบอกว่า "ไม่รักเราเหรอ /ก็เรารักกันไม่ใช่เหรอ" เราจะปฏิเสธอย่างไรใจก็ไหวหวั่นอยู่นะ บรรยากาศก็เป็นใจ  แหม!!
  • P
  • อูย หนูกบ จินตนาการกว้างไกล
  • คิดไปถึงวัยเอ๊าะๆ เลยนะเนี่ยะ อิอิ

สวัสดีค่ะอาจารย์ และจ๊ะเอ๋นู๋กบ workkkkkk ka

  • งานนี้มาลง ปชส ในบันทึกตามเกณฑ์ KM ที่กำหนดว่าต้อง ปชส ทุกกิจกรรม และเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจที่อยากนำเสนอด้วย แต่ก็ยังเป็นเหยี่ยวข่าวที่มาช้าอยู่ดี นี่คือ AAR แรก กับตัวเองค่ะว่า จงพยายามต่อไปนะแม่จำเนียร (ศรี) อิอิและ AAR บางเรื่องก็ลงไปบ้างแล้วค่ะ
  • วิธีการสื่อสารกับทีมก็คือ ใช้เอกสารหมายเลข 3 หรือ เอกสารซึ่งศูนย์ฯ กำหนดให้สรุปการไปราชการทุกครั้ง ทำเป็นหนังสือเวียนผ่าน Intranet โดยสรุปจากความเห็นของตัวเองก่อน แล้วโทรฯ ประสานแจ้งให้เข้ามาอ่าน แก้ไข เพิ่มเติม ด้วยตัวหนังสือสีแดง เนื่องจากไม่มีเวลาประชุม
  • แต่......วิธีการนี้ก็ต้องพับไปเพราะรอไม่ไหวค่ะ หนูก็แบบว่าเจอหน้าบอกซ้ำให้อ่าน เล่าให้ฟัง สุดท้ายสรุปความคิดเห็น แบบต้องอ่านทบทวนก่อนว่าสมควรนำมาเผยแพร่แล้วว่า
  • ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
  • 1.  ผู้รับผิดชอบหลักควรประสานแจ้งยืนยันกำหนดการพิธีเปิดงาน กับเลขานุการของผู้บริหารแต่ละระดับ โดยเฉพาะงานระดับจังหวัด เพื่อเชิญท่านเข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธี นอกจากนี้ ยังเป็นการประสานความสัมพันธ์กับเครือข่ายระดับจังหวัด การประชาสัมพันธ์กิจกรรมขององค์กร และเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน
  • เรื่องนี้น้องเต่าขอ และพี่แหม่มซึ่งไปร่วมงานแทน ผอ. ก็มาสอนน้องในวันรุ่งขึ้นทันที ว่า แดงต้องบอกเลขาด้วยนะ ไม่งั้นท่านจะมีงานอื่นแทรก ดิฉันเรียนท่านทราบพร้อมมีหนังสือเชิญ ท่านรับปาก งานนี้อิชั้นก็จบ หมดหน้าที่ อ้าว! ยังไม่พอต้องบอกน้องเร ฯ ด้วย จำไว้ จำไว้                          
  • 2. การประสานความร่วมมือเพื่อดำเนินกิจกรรมจากหน่วยงานภายนอก มักมีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาในการดำเนินงานและประเด็นเนื้อหาที่ต้องรับผิดชอบ หน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องควรมีการคาดการณ์ วางแผนงานล่วงหน้า นอกจากนี้ ควรมีการเตรียมสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบการให้บริการของโรงพยาบาลซึ่งเป็น Best Practice ของแต่ละหน่วยงานในองค์กร เพื่อสามารถขอสนับสนุนนำไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในกิจกรรมต่างๆ ได้ (ข้อนี้เล่าข้างบนไปบ้างแล้ว)
  • 3. องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานเชิงรุกด้านการส่งเสริมอนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่น โดยเฉพาะการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์

  • 4. การประสานงานระหว่างหน่วยงานในองค์กร เพื่อร่วมกันดำเนินกิจกรรมส่วนรวม จำเป็นต้องอาศัยการมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันของบุคลากรผู้เกี่ยวข้อง ผู้บริหารและบุคลากรทุกระดับควรให้ความสำคัญต่อการสร้างบรรยากาศให้เกิดความสัมพันธ์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง (ข้อนี้ต้องไฮไลท์ค่ะ)

  • 5. เสนอให้มีบุคลากรผู้มีความชำนาญงานด้านเวชนิทัศน์ หรือการดำเนินกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เชิงรุกขององค์กรเพิ่มขึ้น และควรมีกิจกรรมฝึกทักษะนักประชาสัมพันธ์เชิงรุกของแต่ละหน่วยงาน

  • อ่านทบทวนความคิดที่เสนอแบบเหมือนบ่น แต่จริงใจ แล้วก็ยืนยัน มั่นใจค่ะว่า งานหน้าถ้ามีเรื่องที่ตนพัฒนาได้จะพยายามไม่ทำพลาดซ้ำเรื่องเดิม
  • ยกเว้นอยู่นอกเหนือการควบคุม เช่น มีการยกพวกตีกับคนอื่นก่อนหน้าที่จะทำงานร่วมกัน ...... อ้าว ! ไหงเป็นงั้น
  • แอบระบายความกดดันเรื่องการเมืองเล็กๆ ขำๆ ค่ะ แหะ แหะ ;P
  • ก็เห็นมีข้อดีนะคะ ตรงที่ "ผลิตสื่อไว้ ก็สามารถหยิบคว้าไปใช้ได้หลายงาน" ...
  • หรือว่า เราก็เอาสิ่งที่ทำจริงในงานน่ะแหล่ะนะคะ ที่เอาออกไปจัดให้คนได้ชม
  • ... และที่คิดว่า น่าจะเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร๊จอีกอันหนึ่งก็คือ ... น่าจะเป็นว่า ... เขาตามไปขอการปรึกษาต่อ ที่ทำงานด้วยนะสิ แสดงได้ว่า เขาให้ความสนใจแล้วละ
  • มีไหมคะ แบบว่า สนใจ ติดต่อที่นี่ ... อิอิ แบบ Direct sale เลยนะเนี่ยะ
  • ทุกงานจะทำให้การประสานงานเก่งขึ้น จริงป่ะเพ่
  • แต่ก่อนประสานงาน ก็ต้องมีคำว่าประสานงา..........ก่อน"น" ถึงตามมา
  • เย้!! ศูนย์ฯ8 สู้ๆๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท