จุดเด่น ของรูปแบบการสอนของเมดิลีนฮันเตอร์


ขั้นตอน การสอนที่ ชัดเจน ทำให้ เกิดการเรียนรู้ ที่ยั่งยืน

                         

คราวที่แล้วได้นำเสนอขั้นตอน การสอนตามรูปแบบของฮันเตอร์ ไปแล้ว คราวนี้จะขอนำเสนอ ให้เห็นชัดเจน เกี่ยวกับรายละเอียดและความสำคัญของกิจกรรมต่างๆ ใน แต่ละขั้นตอนว่า ทำอย่างไร มีผลดีอย่างไร ถ้าพบปัญหา ในขั้นตอนใด ควรแก้ไขอย่างไร  

 

ความรู้ที่จะนำเสนอต่อไปนี้ ได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ด้วยใจรัก ในรูปแบบการสอนของเมดิลีนฮันเตอร์

 ดังนั้น จึงขอขอบพระคุณ ท่านที่ได้ศึกษาข้อมูลไว้ก่อน ทำให้ผู้เขียนได้มีโอกาส ศึกษาเพิ่มเติม ไว้  ณ ที่นี้เป็นอย่างสูง

ชื่อของขั้นตอน อาจ สลับกันบ้าง หรือมีเพิ่มขึ้นมาบ้าง ไม่ต้องแปลกใจเพราะเคยนำเสนอไว้ในคราวที่แล้วว่าอาจมีความแตกต่างกันตามเหตุผลที่เคยกล่าวไว้แล้ว แต่อยากให้สนใจในรายละเอียด ความสำคัญ ผลดี ต่างๆ ของกิจกรรมในแต่ละขั้นตอน..มากกว่า..เพื่อประโยชน์ของการนำไปใช้..

 

การดำเนินการสอนในแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดดังนี้

(Allen 1998 อ้างถึงใน อินทวรรณ จันทศิริ,2549:74 )

 

1. กำหนดวัตถุประสงค์ (Objectives) ก่อนเริ่มบทเรียน ผู้สอนต้องทำความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของการสอนว่าคืออะไร เน้นอะไรเป็นพิเศษ นักเรียนต้องเข้าใจเรื่องอะไรบ้าง ต้องเข้าใจเรื่องอะไร

 

2. กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ (Standards) ผู้สอนต้องรู้ว่าอะไรคือมาตรฐานในการเรียน เช่น ลักษณะของบทเรียนที่จะนำเสนอ พฤติกรรมของผู้เรียนที่ต้องการให้เกิดขึ้นความรู้หรือทักษะอะไรที่ผู้เรียนจะต้องมีบ้าง

 

3. เตรียมความพร้อมเข้าสู่บทเรียน (Anticipatory Set) เป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่บทเรียน บางครั้งเรียกว่า “ ขั้นตะขอ ” (hook) ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียนสร้างประสบการณ์การเรียนรู้โดยการชักนำให้นักเรียนมีความพร้อมในการเรียนสามารถจะรับความรู้ที่จะเกิดขึ้นได้

 

4. การสอน/นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Teaching / Presentation) เป็นการสอนหรือการบรรยายซึ่งประกอบไปด้วย การสอนเนื้อหา การแสดงตัวอย่าง และการตรวจสอบความ  เข้าใจ

 

      4.1 การสอนเนื้อหา (Input) ครูผู้สอนต้องเรียงเนื้อหาที่ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้หรือทำให้นักเรียนเกิดทักษะ ผ่านทางการจดบันทึก แผ่นฟิล์ม เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพหรือรูปภาพ เป็นต้น

 

      4.2 การแสดงตัวอย่าง (Modeling) เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ใช้ในการ

อธิบายให้นักเรียนเข้าใจในบทเรียน โดยสามารถทำให้นักเรียนมองเห็นตัวอย่างในการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการทำงาน จัดลำดับเหตุการณ์เปรียบเทียบสิ่งที่ปฏิบัติและสามารถนำไปใช้ได้ (ในการพิจารณาปัญหา, เปรียบเทียบ สรุปความ เป็นต้น)

 

      4.3 การตรวจสอบความเข้าใจ (Checking for Understanding) เพื่อพิจารณาว่านักเรียนเข้าใจหรือไม่ก่อนที่จะดำเนินการสอนในขั้นต่อไป  ขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนสำคัญ ในการตรวจสอบว่า หลังจากดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ไปแล้ว นักเรียนเข้าใจสามารถนำไปใช้ได้ถูกต้องหรือไม่

ถ้านักเรียนมีข้อสงสัยหรือไม่สามารถปฏิบัติได้ แสดงว่านักเรียนยังไม่เกิดความคิดรวบยอดหรือทักษะ ดังนั้นผู้สอนจึงต้องทบทวนการสอนใหม่เพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในบทเรียนก่อนที่จะเริ่มทำการสอนในขั้นต่อไป

 

 ในการตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนนั้น ผู้สอนสามารถใช้คำถามในการตรวจสอบความเข้าใจ การถามคำถามนั้นจำเป็นต้องใช้ทักษะและความชำนาญ การใช้คำถามสามารถทบทวนความเข้าใจของนักเรียน เป็นเครื่องมือเพื่อให้นักเรียนทบทวนความรู้ที่ได้ และเพื่อให้มั่นใจได้ว่านักเรียนได้รับความรู้ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด

 

ตามแนวคิดของ Bloom ได้มีการกำหนดคำถามที่มีลักษณะต่างกันหลายประเภทและทำหน้าที่หลายอย่างไว้ โดยการสร้างและพัฒนาระดับความคิดที่แตกต่างกัน เช่น คำถามบางคำถามบางประเภทต้องการเพียงให้จำหรือพิจารณาก่อนตอบ คำถามที่ดีจะต้องเริ่มจากง่ายสุด ไปสู่คำถามที่ยากที่สุดของระดับความรู้ทางปัญญา

ตามแนวทางการตั้งวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนซึ่งประกอบด้วย ความรู้(Knowledge)  ความเข้าใจ(Comprehensis) การเอาไปใช้ (Application)  การวิเคราะห์(Analysis) การสังเคราะห์(Synthesis) และการประเมินค่า(Evaluation)  

นอกจากนี้ หลังจากการถามคำถาม   ควรให้เวลากับนักเรียนในการคิดคำตอบด้วย

 

5. การฝึกปฏิบัติโดยครูแนะนำ (Guided Practice) นักเรียนจะได้ลงมือปฏิบัติหรือทำแบบฝึกหัดภายใต้การแนะนำดูแลของครู ครูจะเดินดูนักเรียนทำงานไปรอบ ๆ ห้องเรียน เพื่อดูนักเรียนและให้การช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาในการปฏิบัติ มีการชมและให้กำลังใจกับนักเรียน

 

6. การสรุป (Closure) นักเรียนสรุปบทเรียนและการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อแสดงถึงความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ครูได้สอนไปแล้ว โดยมีวิธีการดังนี้คือ

       6.1  สรุปสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้หรือปฏิบัติไปแล้วตั้งแต่ต้นจนจบบทเรียน

       6.2  ครูให้คำแนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติมแก่นักเรียน

       6.3  ครูช่วยให้นักเรียนมองเห็นภาพในการทำงานมากขึ้น

เข้าใจมากขึ้น ขจัดความสับสนในบทเรียนออกไป

        6.4  เสริมในจุดสำคัญที่ต้องการเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความสัมพันธ์ทางด้านความคิด ลำดับความคิดของปัญหาที่ต้องแก้ไข และทบทวนการปฏิบัติ และสรุปการนำไปใช้เพื่อให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอดในบทเรียน

 

7. ฝึกปฏิบัติตามลำพัง (Independent Practice) นักเรียนแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน การฝึกปฏิบัติ ตามลำพังจะเป็นช่วงเวลาที่ให้นักเรียนแต่ละคนฝึกฝนตนเอง โดยการปฏิบัติซ้ำในรายการที่กำหนด เพื่อให้นักเรียนสามารถจดจำในสิ่งที่เรียนไปแล้วได้ อาจให้นักเรียน ทำการบ้าน หรือ ทำงานตามลำพังในห้องเรียน

 

ขั้นตอนนี้ สามารถพัฒนาทักษะและความคิดรวบยอดให้นำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้ หากนักเรียนขาดการฝึกปฏิบัติ อาจทำให้นักเรียนล้มเหลวในการนำความรู้ที่เรียนมาทั้งหมดแล้วไปใช้ได้ 

หากท่านผู้ใด มีความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีสอนแบบนี้ กรุณา ช่วยชี้แนะด้วยนะคะ..เพราะต้องการความรู้เพิ่มให้มาก กว่านี้..ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ...

  

หมายเลขบันทึก: 227536เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2008 20:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • พี่คิมมาเรียนรู้ด้วยคนค่ะ
  • จะนำไปแนะนำให้คุณครูที่โรงเรียนนะคะ
  • ขอเป็นกำลังใจค่ะ

 

ขอบคุณค่ะ

         จะนำไปประยุกต์ใช้บ้างนะคะ

                       มีความสุข  เสมอๆนะคะ

                                   มีกำลังใจที่เปี่ยมล้น

                                 

พี่ส้มขา..เก่งจริงๆพี่สาวเรา

ขอศึกษาด้วยคนนะคะ

รักพี่ส้มจ้า

สวัสดี ค่ะ พี่คิม พี่สาวจอมพลัง

P 

  • มาเยี่ยมคนแรกเลย..ดีใจจัง
  • เห็นหน้ากันทุกวัน ..รักกันทุกวัน..
  • พี่คิมขา..รูปแบบการสอน นี้หนูชอบมาก ๆๆ..
  • นำไปทำผลงาน..แต่มีอันต้องปรับเป็นแบบอื่น..
  • เสียดายและรักมาก จึงนำมาเผยแพร่..
  • พอทำผลงานคราวนี้เสร็จ.. ต่อไปจะนำไปทำเป็นวิจัย ของห้อง ป.1 เลย แหละ..
  • เป็นกำลังใจให้ด้วยนะ นะ..

                                   

สวัสดีค่ะ @..สายธาร..@

  • P นี่คือ สัญลักษณ์ของความ สดชื่น ...
  • เห็นภาพนี้ หัวใจ หายสะออน เลยแหละ..อิอิ..
  • มีความสุขเสมอ เช่น กันค่ะ..
  • ได้กำลังใจจาก @..สายธาร..@ ทุกวัน..
  • ขอบคุณ ๆ ๆ จริง ๆ มีภาพสวยมาฝากทุกวัน
  • รักและคิดถึง ทุกวัน..นะ

                               

สวัสดีค่ะ ศน.รอยยิ้มพิมพ์ใจ

  • P ขอบคุณคำชม นะคะ.. พี่ส้มขา..เก่งจริงๆพี่สาวเรา
  • พูดถูกใจ..อีกแล้ว..เอาใจ คนเกือบแก่.เก่งจริงนะ น้องสาว..
  • ขอบคุณ คำชม จาก ศน. (ครูของครู) อีกครั้ง..ค่ะ..
  • "รักพี่ส้มจ้า"  "รัก ศน.add จ้า.."

  • ความรัก กระจาย..เต็มblog เชียว..อิอิ..

  •                        

  • ใครยังไม่ได้บอกรัก ครูส้ม รีบ บอกซะนะ..เดี๋ยวพื้นที่ของหัวใจจะไม่ว่าง..แล้วจะหาว่าไม่เตือน..อิอิ

  •                     

สวัสดีค่ะครูส้ม

มาแวะรับกำลังใจดีๆ วันนี้คงสดชื่นค่ะ ได้เจอคนน่ารัก

ขอเป็นกำลังใจให้ครูนะคะ การสอนนี้เป็นอะไรที่เหนื่อยและหนักนะคะ...

แจ่มใสเช่นดอกไม้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท