ทำวิจัยอย่างที่อยากทำ


คิดมาก สงสัยมาก ลงมือปฏิบัติเลยดีกว่า...ทำแบบง่าย ๆ

   ความอยากรู้ในประเด็นของการทำงานมักจะมีคำถามเกิดขึ้นหลากหลาย  ก็เลยทดลองหยิบยกประเด็นใดประเด็นหนึ่งขึ้นมาหาคำตอบว่า "มันเกิดอะไรขึ้นกับการจัดการความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตร เพราะอะไรจึงมักจะได้ยินคำว่า... ให้ทำการจัดการความรู้แบบง่าย ๆ ปฏิบัติได้เลย  การจัดการความรู้คนมากนักมักจะกล่าวว่าเป็นเครื่องมือในการทำงาน  เป็นเครื่องมือให้เจ้าหน้าที่เรียนรู้  แล้วเพราะอะไรถึงถูกกล่าวขานว่า  เป็นเรื่องยาก  เข้าใจยาก"

   จึงเป็นเรื่องที่ชวนสงสัย ฉะนั้นความสงสัยของดิฉันจึงได้ไปรวบรวมข้อมูล ทั้งอ่านผลงานที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติแล้วนำมาเขียนเล่าสู่กันฟัง  อ่านเนื้อหาสาระในโครงการ/ตัวชี้วัดต่าง ๆ สอบถาม/สนทนากันคนอื่น ๆ และใช้เทคนิคที่หลายอย่างเพื่อต้องการคำตอบ  จนสุดท้ายคำตอบที่เกิดขึ้นก็คือ  "ทัศนคติ"  ของคนเรานั่นเองที่ปิดกั้นการรับรู้ ได้แก่  ถ้าคิดว่าไม่ดีมันก็คือไม่ดี  ถ้าคิดแต่ลบทำอย่างไรผลก็ออกมาเป็นลบ แต่การจัดการความรู้สอนให้มองสิ่งต่าง ๆ เป็นแง่บวกบ้าง เช่น ถ้าเคยมองคน ๆ นี้ในแง่ลบ ทำอะไร ๆ ก็ไม่ถูกใจ

   ถ้านำการจัดการความรู้มาใช้ ก็เพิ่มแง่บวกลงไปสักนิด หมายความว่า  ลองค้นหาสิ่งดี ๆ ที่มีอยู่ในตัวตนมาใช้ร่วมกัน  ลดการตำหนิลงนิดหนึ่ง และเพิ่มกำลังใจให้สักนิดหนึ่ง บรรยากาศการเรียนรู้ก็จะดีขึ้นเป็นลำดับ ๆ ทำงานก็จะสนุกขึ้น ดังนั้น การใช้แนวคิดการวิจัยของดิฉันมักจะเริ่มจากข้อมูล  ข้อสงสัยที่เกิดขึ้น  กำหนดเป็นประเด็นที่ต้องการคำตอบ  ไปเก็บ/รวบรวมข้อมูล  นำมาวิเคราะห์และสรุปเป็นคำตอบ  ซึ่งคิดให้สนุก ๆ เราก็ทำงานได้สนุก ๆ เช่นกันค่ะ.

คำสำคัญ (Tags): #วิจัย
หมายเลขบันทึก: 227474เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2008 11:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การวิจัยแบบมีส่วนร่วมไม่ควรตั้งธงไว้ล่วงหน้า กระบวนการถกแถลงแลกเปลี่ยนเรียนรู้คือหัวใจของ PAR คนนั้นมี 2 อย่าง เห็นด้วยและไม่มีความเห็น มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยครับ

พี่น้องชาวบางปลาม้า และท่านผู้มีเกียรติที่เคารพทั้งหลาย

ในฐานะลูกหลานชาวบางปลาม้า เลือดสุพรรณบุรีโดยแท้ (พ่อคนสองพี่น้อง - แม่คนบางปลาม้า) เกิดที่บ้านดอนหนามแดง ตำบลจระเข้ใหญ่ อำเภอบางปลาม้า นี่แหละครับ

อดีตเด็กวัดสามัคคีธรรม "กระทุ่มทอง" (ศิษย์หลวงปู่แสน), ศิษย์เก่าโรงเรียนวัดกลาง "สุขประสิทธิ์วิทยา", โรงเรียนวัดบ้านด่าน, โรงเรียนบ้านโพธิ์ศรี "เอี่ยมเจริญราษฎร์บำรุง”, โรงเรียนบางปลาม้า "วัดปากคลองบางยี่หน" และโรงเรียนบางปลาม้า "สูงสุมารผดุงวิทย์" (จบปีการศึกษา ๒๕๐๘ หรือ ศิษย์เก่า รุ่น ๐๘ )

ใคร่ติดตาม เป็นกำลังใจ และสนับสนุนกิจการงานวิจัยเกี่ยวกับความเป็นอยู่และอาชีพของชุมชน ชาวบางปลาม้า เพื่ออนาคตที่ดีกว่าจนถึงดีที่สุด

เป้ บางปลาม้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท