โรงเรียนชาวนาระดับอุดมศึกษา (1)


ก้าวย่างที่ 3 การพัฒนาพันธุ์ข้าว

              เรื่องราวต่อไปนี้เป็นความคืบหน้าของกิจกรรมโรงเรียนชาวนา มูลนิธิข้าวขวัญ (มขข.) จ.สุพรรณบุรี เขียนโดย "คุณอำนวย" และ "คุณเอื้อ" ของมขข.   ในครั้งนี้เราจะได้รู้จัก "คุณกิจ" ดีขึ้น ได้เห็นหน้าค่าตาและผลงานของหลายๆ คนทีเดียว  เนื้อหาจะแบ่งออกเป็น 5 บทใหญ่ คือ

1. อารัมภบท (2 บทย่อย)

2. บทนักเรียนชาวนา (4 บทย่อย)

3. บทข้าว (7 บทย่อย)

4. บทแห่งการเรียนรู้ (11 บทย่อย)

5. ปัจฉิมบท (1 บทย่อย)

คำหลักของเรื่องเล่าและบันทึกเหล่านี้ ได้แก่

·       การเรียนรู้ตลอดชีวิต

·       การทำนาแบบเกษตรยั่งยืน   หรือเกษตรอินทรีย์   เกษตรปลอดสารพิษ

·       เศรษฐกิจพอเพียง    สังคมพอเพียง

·       การรักษาสิ่งแวดล้อม    การลดมลพิษในนา    การผลิตข้าวปลอดสารพิษ

 

อารัมบท ๑

ก้าวย่างที่ ๓ หลักสูตรพัฒนาพันธุ์ข้าว

     กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนชาวนาได้ก้าวมาถึงก้าวที่ ๓ อันเป็นหลักสูตรพัฒนาพันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ถือเป็นย่างก้าวที่สำคัญมากสำหรับนักเรียนชาวนา แต่ละก้าวที่ผ่านมาเป็นไปตามกระบวนการ ภายใต้การดำเนินงานในโครงการส่งเสริมการจัดการความรู้เรื่องการทำนาข้าวในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน หนึ่งในโครงการของมูลนิธิข้าวขวัญ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยได้รับการสนับสนุนอย่างดีเยี่ยมจากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)

     หากแต่ในก้าวที่ ๓ นี้ จังหวะก้าวค่อนข้างจะหนักและก้าวกันจนเหนื่อยพอสมควร เพราะในทุกโรงเรียน (ทั้ง ๔ แห่ง คือ โรงเรียนชาวนาบ้านโพธิ์ อ.เมือง โรงเรียนชาวนาวัดดาว อ.บางปลาม้า โรงเรียนชาวนาบ้านดอน อ.อู่ทอง และโรงเรียนชาวนาบ้านหนองแจง อ.ดอนเจดีย์) คุณอำนวยจะต้องนำความรู้ในแต่ละก้าวมาทบทวนและต่อยอดความรู้ ทำให้คุณกิจต้องเรียนรู้กันอย่างเข้มข้นเลยทีเดียว

       การเรียนรู้ของนักเรียนชาวนาในหลักสูตรนี้จะสามารถช่วยให้นักเรียนชาวนารู้จักเทคนิคการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าว ทั้งนี้จากทุกข์ของนักเรียนชาวนาที่มีมาหลายสิบปี นักเรียนชาวนาต้องซื้อพันธุ์ข้าวปลูกมาทำนา เป็นการเพิ่มทุนการทำนาไปโดยปริยาย พันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่เคยปลูกเคยกินกันมาแต่ดั้งแต่เดิมก็หายไปจากท้องทุ่ง

       ในตอนนี้ก็ถึงเวลาแล้วที่นักเรียนชาวนาจะต้องหันกลับมาทบทวนภูมิปัญญาท้องถิ่นและเสริมความรู้เทคนิคใหม่ๆเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาพันธุ์ข้าว อันเป็นอีกจุดหนึ่งในการเตรียมพร้อมเพื่อจะก้าวไปสู่การทำเกษตรกรรมยั่งยืน...

หมายเลขบันทึก: 22705เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2006 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท