dararat
ดร. ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์

การอ่านและการเขียนในเด็กปฐมวัย


อ่าน เขียน : ในเด็กปฐมวัย

การอ่านและการเขียนของเด็กปฐมวัย

                                                                               

                                                                                

           

                มีอยู่หลายครั้งเหมือนกันที่ผู้เขียนได้ออกนิเทศโรงเรียนต่าง   ได้พบปะพูดคุยกับครูปฐมวัยและเข้าไปเยี่ยมห้องเรียน  ภายในห้องเรียนไม่ปรากฏมุมหนังสือ   ผู้เขียนมักจะถามว่า  ได้จัดมุมหนังสือให้กับเด็ก ๆ บ้างหรือไม่ มีคุณครูบางคนตอบว่าเคยจัดให้แต่ตอนนี้เลิกจัดไปแล้ว  เพราะเด็ก ๆ ชอบฉีกหนังสือ หนังสือที่เหลือจึงเก็บไว้ในตู้ใส่กุญแจ  ที่ยกเหตุการณ์ดังกล่าวมาเล่าเพราะจะได้ให้พวกเราช่วยกันคิดว่าเราควรจะแก้ปัญหาจากกรณีที่เล่ามาให้นี้อย่างไร  การไม่จัดมุมหนังสือเพราะเด็กชอบฉีกหนังสือ  ใช่หนทางที่จะแก้ปัญหาไหม   การที่จะให้เด็กรักการอ่าน หนังสือ  เพื่อเป็นพื้นฐานนำไปสู่การอ่านของเด็กในอนาคตนั้นครูปฐมวัยจำเป็นจะต้องสร้าง           บรรยากาศ  คือ จัดเป็นมุมหนังสือ  แล้วจัดบรรยากาศให้มีความเงียบสงบ  เพื่อให้เด็กมีสมาธิใน   การอ่าน  การปลูกฝังให้เด็กรักหนังสือและไม่ฉีกหนังสือ  ครูจะต้องใจเย็นและเอาใจใส่เมื่อเด็กรัก   หนังสือแล้วเด็กไม่มีวันที่จะฉีกหนังสือที่เขารักเลย  หนังสือเหมือนเพื่อนที่แสนดีของเขา

                กระบวนการพัฒนาการของเด็กเกิดจากความร่วมมือกัน  เด็กปฐมวัยจะช่างซักถาม  การ       ส่งเสริมภาษาให้เด็กคือ  การเปิดโอกาสให้เด็กพูด  สนทนา  โต้ตอบ  ฝึกอ่าน  ฝึกฟัง  การอ่าน           เป็นกระบวนการหนึ่งที่จะฝึกเด็กได้  ซึ่งแรก   อาจให้ผู้ใหญ่เป็นผู้อ่านให้ฟัง  การอ่านนี้ไม่ใช่      เพียงแต่การรับรู้  อ่านข้อมูลผ่านทางสายตาเท่านั้น  แต่ยังเป็นกระบวนการรับรู้ผ่านสายตาและ         สมอง  โดยอาศัยการคิด  การแปลความ  และการใช้ประสบการณ์เดิม  ฉะนั้นการอ่านจึงเป็น           กระบวนการมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นภายในสมองเด็ก การที่จะให้เด็กรักการอ่านและพัฒนาการอ่าน  ครูต้องรู้เทคนิคและมีความอดทน  เอาใจใส่เด็กตลอดเวลา  การบังคับให้เด็กนั่งอ่านหนังสือเรียนที่ผู้ใหญ่ทำ ๆ กันนั้น คงเห็นว่าได้ผลน้อยมาก  ควรที่จะหันกลับมาทบทวนกันและช่วยกัน                 เริ่มตั้งแต่ปฐมวัย วัยนี้หนังสือนิทานเป็นสื่อที่มีความสำคัญมาก เป็นส่วนหนึ่งที่ครูจะต้องนำมาจัดกิจกรรมการเตรียมความพร้อมด้านการอ่าน  ขณะสอนหรือทำกิจกรรมในชั้นเรียน ครูจะสังเกตเห็นได้ว่า  มีเด็กบางคนที่อ่านหนังสือนิทานได้นาน ๆ  ถามว่าเด็กอ่านหนังสือได้ไหม เด็ก   ยังอ่านไม่ได้แต่จากภาพเด็กสามารถอ่านได้  และเด็กสามารถอ่านนิทานการ์ตูนได้ทั้งเล่ม  และอ่านเข้าใจด้วย  เช่น  การอ่านการ์ตูนเรื่องต่าง ๆ  เด็กอ่านไม่ได้แต่เด็กรับรู้จากภาพในหนังสือการ์ตูน    จะสังเกตเด็กแสดงพฤติกรรมหัวเราะ  มีพฤติกรรมหวาดกลัวจากการอ่านหนังสือดังกล่าวโดยดูจาก   ภาพ  ดูจากลีลาของเส้นที่เป็นเส้นตรง  เส้นโค้ง  และอื่น ๆ ประกอบกัน  ผู้ปกครองและครูเป็น     ผู้มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมการอ่านของเด็กมาก  เด็กสามารถอ่านได้เร็วมากน้อยตามอายุเด็ก  ความสนใจการอ่านของเด็กสังเกตได้จากเด็กจะพยายามให้ครูหาหนังสือการ์ตูนที่เด็กชอบมาอ่านให้ฟัง  การให้เด็กเห็นบ่อย ๆ เห็นชัด ๆ จะทำให้เด็กสามารถอ่านได้และกลายเป็นพื้นฐานของการเรียนด้วย

                ส่วนการเตรียมความพร้อมด้านการเขียน  ถามว่าเด็กจะพร้อมเขียนเมื่อไร  ครูผู้สอน          และผู้ปกครองจะเป็นผู้ตอบได้ว่าเด็กคนใดพร้อม  การพร้อมที่จะเขียนคือมือและตามีความสัมพันธ์กันหรือยัง  ผู้เขียนพบเด็กผู้ชาย  อายุ  3  ขวบกว่า ๆ  เรียนอยู่ชั้นอนุบาล  แม่กำลังสอนการบ้านที่ครูให้มา  การบ้านเป็นแบบฝึกเขียนที่ให้เขียนตัว    ตามจุดไข่ปลา  เด็กบอกว่ายังไม่เขียนอยากจะขอระบายสีภาพที่อยู่ด้านบนก่อน  ตอนแรกแม่ของเด็กไม่ยอมแต่ให้เขียนตัว   ก่อนเดี๋ยวการบ้านไม่เสร็จ  เด็กไม่ยอมจะขอระบายสีก่อน  ในที่สุดแม่ต้องยอมลูก  เหตุการณ์เช่นนี้จะเห็นอยู่ทั่วไปในสังคมไทยเป็นเรื่องจริง  สะท้อนให้เห็นถึงความไม่รู้และไม่เข้าใจในการพัฒนาเด็กปฐมวัยไทย  พ่อแม่  ผู้ปกครองไม่มีความรู้  ความเข้าใจ  ถ้ามาพบครูปฐมวัยที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจด้วย  ถามว่าต่อไปเขาจะรักการอ่าน  การเขียนไหม  ในเมื่อเขาถูกบังคับตั้งแต่เด็ก   ในขณะที่เขายังไม่มีความพร้อม  มือของเด็กจะแข็งแรง  พร้อมที่จะเขียนได้ก็เมื่อครูได้จัดกิจกรรม  เช่น  การปั้นดินน้ำมัน  หรือแป้ง  โดยการใช้มือบีบนวด  และปั้นให้เป็นรูปต่าง ๆ  ตามจินตนาการของเด็ก   ครูควรมีเทคนิคในการให้เด็กปั้นให้เกิดความสนุกสนานและเกิดทักษะไปพร้อมกัน    การฝึกวาดภาพระบายสีเป็นอีกวิธีหนึ่งของการเตรียมความพร้อมในการเขียน  เป็นการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือและสายตาให้สัมพันธ์กันอย่างยิ่ง  การใช้กรรไกรตัดกระดาษ  ตัดภาพ    ก็เป็นกิจกรรมที่ฝึกกล้ามเนื้อมือกับตา  ถ้าเด็กสามารถใช้กรรไกรตัดภาพ  เช่น  ภาพโทรทัศน์  ตู้เย็น  สัตว์  ตรงตามขอบเส้นของภาพได้  แสดงว่าเด็กพร้อมที่จะเขียนได้

                ครูปฐมวัยเป็นผู้สร้างรากฐานของชีวิตถือว่ามีความสำคัญ  เป็นบุคคลที่เตรียมความพร้อม     ให้กับเด็ก  เพื่อให้เด็กมีความพร้อมที่จะอ่าน / เขียนต่อไป  การเตรียมนั้นจะต้องมีหลักการ  มีเทคนิค  และเตรียมให้พร้อมในทุกด้าน  ถ้าเปรียบเหมือนต้นไม้  ถ้าเราไม่ใส่ปุ๋ยตั้งแต่แรก  หรือไม่สนใจและปล่อยปละละเลย   ต้นไม้นั้นก็จะแห้งเหี่ยวเฉาตายหรือไม่เติบโตในตอนแรกและค่อย   ตายในที่สุด

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 226800เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2008 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เห็นด้วยกับครูปฐมวัยราชบุรี 1 แล้วจะช่วยกันอย่างไรดีนะ

การอ่านและการเขียนของเด็กปฐมวัย เป็นสิ่งที่ผู้ปกครองควรให้ความสนใจเพราะเด็กในวัยนี้กำลังมีการพัฒนาสมอง พัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจเป็นอย่างมาก เพราะเด็กในวัยนี้ช่างถามช่างพูดและมีความกล้าแสดงออกเป็นอย่างมาก ดั้งนั้นหากมีการ พัฒนาการทางด้า้นการอ่านและการเขียนของเด็กปฐมวัย จึงเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่สุดของผู้ปกครองค่ะ

นงลักษณ์ ศรีวิสุทธินันท์

เด็กในวัยนี้ช่างถามช่างพูดและมีความกล้าแสดงออกเป็นอย่างมาก ดั้งนั้นการอ่านและการเขียนของเด็กปฐมวัย เป็นสิ่งที่ผู้ปกครองและครูควรให้ความสนใจเพราะเด็กในวัยนี้กำลังมีการพัฒนาสมอง พัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจเป็นอย่างมาก

พัฒนาการทางด้านการเขียนและการอ่านของเด็กจะไม่รุดหน้า   หากผู้ปกครองไม่มีความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก   และไม่สนใจใส่ใจเด็กเมื่อเด็กมีข้อสงสัย  อยากให้มีการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการเตรียมพร้อม และช่วงวัยที่เหมาะกับการเรียนรู้ด้านต่างๆของเด็กค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท