ดูเหมือนเคลื่อนไหว แต่ไม่เปลี่ยนแปลง


ถามสักนิดได้ไหมครับว่า ปฏิรูปการศึกษารอบแรกตั้งแต่เมื่อไร ความจริงควรจะถามว่า ปฏิรูปการศึกษาเริ่มต้นอย่างจริงจังและจริงใจ หรือไม่/อย่างไร ใช่หรือไม่ ครับกระผม

 บรรยากาศรอบตัววันนี้ มีความรู้สึกว่าเราได้กระทำความผิดต่ออะไรสักอย่างหนึ่งไว้  คิดไปเรื่อยเปื่อยครับว่าเราในฐานะที่เราเป็นครูมีลูกศิษย์มากมายพอสมควรเราได้กระทำความผิดต่อเขาไว้หรือเปล่า  เราในฐานะเป็นพ่อได้กระทำความผิดต่อลูกไว้หรือเปล่า  ในมุมที่เราเป็นครูเมื่อคิดลึกๆลูกศิษย์รุ่นแรกในวันที่เราเป็นครูครั้งแรก เมื่อปีพุทธศักราช 2530   ปีนี้เด็กๆเหล่านั้นคงเติบโตตามเส้นทางของเขามากพอควร มีบางคนที่ยังติดต่อสื่อสารกันอยู่ บางคนก็เงียบหายไป หากเป็นไปได้อยากลองรวมทีมเด็กๆเหล่านี้ แล้วถามเขาว่า สิ่งที่พวกเธอได้รับจากครูในวันนั้น ได้นำมาใช้ในวันนี้มากน้อยเพียงใด

 แน่นอนว่าช่วงวัยที่แตกต่าง สถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ผู้คนย่อมเรียนรู้สิ่งใหม่ แต่อย่างไรก็ตามผมเชื่อเบื้องต้นว่า กระบวนการคิดของผู้คนต้องอาศัยการเรียนรู้ที่สร้างสมบ่มเพาะในอดีตมาเป็นฐานมากบ้างน้อยบ้างตามศักยภาพของแต่ละคน  สำคัญที่ว่าฐานคิดของแต่ละคนจะนำทางไปสู่การเกิดและมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ในสถานการณ์ใหม่อย่างไร บางคนอาจจะไปถึงแค่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่แต่ไม่เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ให้ตนเอง  ซึ่งผมขอเรียกว่า เกิดความเคลื่อนไหวแต่ไม่เปลี่ยนแปลง 

 

 สังคมไทยวันนี้ดูเหมือนว่าเคลื่อนไหวไปตามกระแสโลก ทุกอย่างดี สะดวก รวดเร็ว พร้อมปฏิบัติการทุกอย่าง  แต่ไม่ทำและหรือทำไม่เป็น จึงไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังเห็นได้ชัดในแวดวงการจัดการศึกษาทุกระดับ ที่กำลังจับผลัดจับผลูแล้วบอกครูทั้งประเทศว่า พวกเราได้เวลาปฏิรูปการศึกษารอบที่สองแล้ว  ถามสักนิดได้ไหมครับว่า ปฏิรูปการศึกษารอบแรกตั้งแต่เมื่อไร  ความจริงควรจะถามว่า ปฏิรูปการศึกษาเริ่มต้นอย่างจริงจังและจริงใจ หรือไม่/อย่างไร   ใช่หรือไม่ ครับกระผม

 

 

หมายเลขบันทึก: 226210เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2008 12:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

- คำถามที่ถามมา ไม่ทราบข้อมูลเหมือนกันค่ะ แต่จริงๆแล้วนัยยะสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาหรือการปฏิรูปอะไรก็ตาามมันน่ามันอยู่ที่ผลมากกว่าการคำนึงว่าเมื่อไหร่ แต่ก็เห็นด้วยกับอีกคำถามหนึ่งที่เราควรย้อนกลับมาดูว่าที่ได้ทำกันไปนั้นจริงจังพอหรือยัง

- ระบบการศึกษาไทยในมุมมองคนเรียนครู(ที่อาจหาญเรียกตัวเองว่าครูไปแล้ว) อ้อว่ายังห่างไกลดวงดาวนัก คงได้แค่ฝันต่อไปอ่ะค่ะ ว่าซักวันมันจะดีขึ้น เริ่มกันตั้งแต่ค่านิยมเลยจะดีกว่า ต่างชาติเค้ามองคนเป็นครูเหมือนพระเจ้า น่าเคารพสรรเสริญ แต่บ้านเรายังไม่ให้ความสำคัญกับครูมากพอ พูดกันตามตรงเลยก็เหมือนจะเป็นอาชีพสุดท้ายที่จะเลือกทำ เป็นคณะสุดท้ายที่จะเลือกเรียน (คนที่เป็นด้วยใจก็ไม่ว่ากันนะคะ แบบอ้อ ^^ ) ในเรื่องการสอนปกติโดยทั่วไปที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าเด็กปฐมวัยเนี่ยควรจะได้รับการพัฒนาให้ดีที่สุด เพราะถือเป็นฐานที่สำคัญ แต่ครูปฐมวัยของบ้านเราก็มักจะเป็นคนที่ไม่รู้จะทำอะไร ก็มาเป็นครูซะอย่างนั้น เข้าใจกันไปเองว่าสอนๆไปเถอะ พ่อแม่เอาลูกมาฝากเลี้ยง แทนที่รร.อนุบาลจะเป็นสถานที่กระตุ้นพัฒนาการ เตรียมความพร้อมให้เด็ก ก็กลายเป็นสถานรับเลี้ยงเด็กไปซะอย่างนั้น

- ส่วนเรื่องความเปลี่ยนแปลงนั้น อ้อว่าทุกสิ่งอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเสมอนะคะ แต่อาจจะแทรกตัวอยู่ในความไม่เปลี่ยนแปลง ค่อยๆเปลี่ยนจนเรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ก็อีกนั่นแหบ่ะค่ะ การเปลี่ยนแปลง เราก็ต้องมองเป็น 2 ประเด็น คือการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดผลดี และการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดผลเสีย แฮะๆ ไม่รู้ว่าบ้านเราจัดไปในทางไหนนะคะ

ปล. ขออภัยเจ้าของกระทู้(ศักดิ์พงษ์ หอมหวล) ที่อ้อพูดซะยืดยาวเลย แต่พอดีเนื้อความของกระทู้มันโดนใจมากเลยค่ะ อัดอั้นตันใจมานานเกี่ยวกับเรื่องระบบการศึกษา จริงๆอยากจะพูดมากกว่านี้ แต่เอาไว้ไปเขียนในบล็อคของอ้อเองจะดีกว่าค่ะ แฮะๆ

  • แหมๆๆ
  • เอาสาวๆๆมาล่อนะครับ
  • ผมคิดว่า รัฐบาลบ้านเรา ยังไม่จริงใจในการแก้ปัญหาทางด้านการศึกษาครับ

สวัสดีค่ะ

  • ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ
  • ขอขอบคุณที่ไปเยี่ยมบันทึก
  • อยากจะลองดี..ค่ะ  ไม่สนการปฏิรูปได้ไหมคะ
  • เพราะคำว่าปฏิรูปทำให้ติดกรอบ...อยู่ในกรอบ
  • แต่..บริบทรอบ ๆ กรอบเปลี่ยนแปลงข้ามหัวไปมา
  • ได้แต่คิด..แอบทำไปบ้าง...
  • ขอขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • มาฟังคุณครูสี่คนคุยกันค่ะ
  • ขอบคุณอาจารย์ที่แวะเยี่ยมเยือนค่ะ ยินดีต้อนรับน้องใหม่ G2K นะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท