เส้นทางเศรษฐกิจ R 9


การใช้ประโยชน์ของเส้นทาง R 9

เส้นทางเศรษฐกิจ R 9 ใครเคยคุ้นหูบ้างเอ่ย... ผ่านขอนแก่นด้วยนะ.. เส้นทางระหว่างประเทศ ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ( East - West Economic  Corridor : EWEC)

    เส้นทาง EWEC เริ่มจากฝั่งตะวันตกคือประเทศปากีสถาน-อินเดีย มาจรดฝั่งตะวันออก คือเวียดนาม

   ส่วนเส้นทาง R 9 เป็นบางส่วน ของ EWEC  ตัดตอนเฉพาะประเทศพม่า  ไทย   ลาว และเวียดนาม (เส้นสีเหลืองในภาพ) โดยเชื่อมโยงเมืองสำคัญต่างๆจากฝั่งตะวันตกของไทยที่ชายแดนไทย-พม่า คือ     เมาะละแหม่ง - เมียวดี(พม่า) - แม่สอด - พิษณุโลก - ขอนแก่น - มุกดาหาร(ไทย) ผ่านสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 2 ข้ามไปยังแขวงสะหวันนะเขต จากนั้นผ่านไปยังฝั่งตะวันออกที่ชายแดนลาว - เวียดนาม ที่เมืองลาว - เว้ - ดองฮา  ก่อนไปสิ้นสุดที่เมืองดานัง (เวียดนาม)

  เส้นทาง R 9 นี้ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเซีย (Asian Development Bank : ADB) สร้างขึ้นเพื่อให้สามารถเอื้ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า  เป็นการเพิ่มทางเลือกในการขนส่งสินค้าจากทะเลอันดามันออกสู่ทะเลจีนใต้  ไปยังประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออก  เพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนมาลงทุนด้านการค้า  การผลิต  การเกษตร  อุตสาหกรรม  การบริการ และการท่องเที่ยว  

    เส้นทางนี้ยังเอื้ออำนวยให้ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อย่าง ประเทศลาว  กลายเป็นประเทศที่เชื่อมต่อการคมนาคมขนส่งในภูมิภาคนี้ได้..

    เส้นทางสาย R 9 เริ่มจะสมบูรณ์ขึ้น ภายหลังจากสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 ที่มุกดาหาร เสร็จสิ้นเมื่อปีที่แล้ว

    ขณะนี้หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ ADB เริ่มออกมาติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ของเส้นทางสายนี้...ดิฉันได้มีโอกาสไปร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นหลายครั้งเลยนำมาเล่าให้ฟัง...

   ผลการประเมิน ยังพบว่า มีการใช้ประโยชน์ของเส้นทาง R 9 สายนี้น้อยมาก..โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าการเกษตร  ส่วนใหญ่เป็นการใช้ขนส่งคนไปท่องเที่ยวเท่านั้น และเป็นการขนคนไทยไปเที่ยวเวียดนาม ซะส่วนใหญ่  คนเวียดนาม..คนลาว  ไม่มาเที่ยวเมืองไทยหรอก... ประเทศที่ได้ประโยชน์คือเวียดนาม

    เขาถามว่า ทำไม ??ไม่ขนส่งสินค้าเกษตร ไปออกสู่ทะเลที่ดานัง ?? ทั้งที่ระยะทางใกล้กว่าไปออกที่แหลมฉะบัง

    คำตอบคือ สินค้าการเกษตรหลักของภาคอิสาน คือ ข้าว  น้ำตาล  มันสำปะหลัง

                             ข้าว  นั้น ไซโล / โรงสีที่ส่งข้าวออก ส่วนใหญ่ตั้งอยู่แถว อยุธยา ปทุมธานี เพื่อส่งข้าวออกทางเรือ ผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา  เพราะฉะนั้นเส้นทางข้าวเปลือก จากภาคอิสาน ต้องวิ่งเข้าภาคกลาง (ใช้ถนนมิตรภาพ  เส้นสีแดงในแผนที่)

                             น้ำตาล  ซึ่งทำจากอ้อย  มีโรงงานอยู่ระแวกขอนแก่น 8 แห่ง ผลิตน้ำตาลได้มหาศาล  ใช้การขนส่งทางรถไฟ ( เส้นสีชมพู ในแผนที่) เพราะการขนส่งทางรถไฟประหยัดค่าใช้จ่ายที่สุด

                             มันสำปะหลัง  ใช้ประโยชน์หลักในการผลิตอาหารสัตว์  และทำเอทานอล  ก็ใช้ถนนมิตรภาพ เพราะโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ใหญ่ที่สุดของ ซีพี อยู่ จังหวัดนครราชสีมา

      เส้นทาง R 9 ระยะทางใกล้ก็จริง  แต่กว่าจะถึงดานัง ต้องผ่านด่านศุลากรของ 3 ประเทศ คือ ไทย   ลาว และเวียดนาม  แต่ละประเทศมีกฎเกณฑ์ตรวจสอบแตกต่างกัน  เช่น การตรวจตู้คอนเทรนเนอร์ ของไทยใช้ระบบ X-ray  แต่ของลาว / เวียดนาม ใช้สายตามนุษย์.. ต้องขนสินค้า เข้า- ออกจากคอนเทรนเนอร์.. หุหุ.. 1  คอนเทรนเนอร์หนัก 20 ตัน... ค่าใช้จ่ายบานตะไท... 3 วันก็ยังตรวจไม่เสร็จ..สินค้าเน่าพอดี...

      การจะใช้เส้นทางสายนี้ให้เกิดประโยชน์   ต้องแก้กฎระเบียบ ต่างๆ ระหว่าง 3 ประเทศ นี้ก่อน..เช่น e-service  ในการผ่านด่าน.. วิ่งรถพวงมาลัยทางเดียวกัน( ของไทยพวงมาลัยขวา  แต่ลาว กับเวียดนาม พวงมาลัยซ้าย) แค่นี้ก็ทำไม่ได้แล้ว...

คำสำคัญ (Tags): #เส้นทางr9
หมายเลขบันทึก: 225810เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2008 13:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

  • ครูอ้อยมาอ่านรับความรู้ไปแล้วค่ะ
  • ขอบคุณมากค่ะ  รักษาสุขภาพนะคะ  คิดถึงค่ะ

ได้ความรู้ขึ้นมาเยอะเลยครับ ไม่น่าเชื่อว่าไทยมีแบบนี้ด้วย น่านำมาใช้ให้เกิดประโยชน์จริงๆครับ

เรียน ครูอ้อย และคุณneamo

ขอบคุณนะคะที่แวะมาเยี่ยมและทักทาย

ขอบคุนมาก ครับ ที่มาให้ความรู้ซึ่งผมจะนำไปใช้งาน อยากไห้ทำอย่างงี้ต่อไปนะครับขอบคุนมากครับ

ขอบคุณมากนะคะ

ได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์มากค่ะ

พอดีจะนำไปวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน

ของตลาดบริเวณ เชียงราและเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ

ข้อมูลได้นำมาใช้ได้ดีทีเดียวค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท