IHPQS 2008


IHPQS 2008

The International Conference on Health Promotion and Quality in Health Services (IHPQS) เป็นงานประชุมวิชาการทางการแพทย์ จัดโดย พรพ. สปสช. กระทรวงสาธารณสุข สสส. ที่ World Convention Centre แถวๆเซ็นทรัลเวิร์ลเป็นเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 19-21 พฤศจิกายน 2008

ที่น่าสนใจมาก (สำหรับผม) ก็คือ sections ใหญ่ที่อุทิศให้มิติขององค์รวมทางสุขภาพ เป็นคำ top-hits ในงานนี้คำหนึ่งคือ people-centred healthcare การพูดถึง patient-oriented, social-oriented, culture-oriented healthcare ซึ่งเป็น theme ที่เชื่อมโยงไปถึง "สุขภาวะกำเนิด (Salutogenesis)" แสดงถึง force to paradigm-shift of healthcare ที่จะนำไปสู่ระบบสุขภาพในระยะที่สี่ คือ Human-centred healthcare อย่างสมบูรณ์แบบในที่สุด

Michael Wood President Emeritus และ CEO ของ Mayo Foundation ได้พูดถึงงานคุณภาพและสภาวะเศรษฐกิจของโลกในขณะนี้ไว้น่าสนใจมาก คือ "คุณภาพของระบบ healthcare นั้น เราสามารถจะ improve ได้อย่างมากมายโดยที่ยังไม่ต้องใช้เงินมากมายอะไรเลย จริงอยู่คุณภาพบางเรื่อง อาจจะต้องเริ่มมีการลงทุนบ้าง แต่เรามีอะไรให้ทำอีกเยอะ ที่สามารถเพิ่มมิติทางคุณภาพโดยงบประมาณไม่ใช่อุปสรรคสำคัญ"

มิติทางคุณภาพของระบบสุขภาพนั้น มีเยอะมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราพิจารณาจากมุมมองของ "ประชาชน" ด้วย มุมมองของผู้บริหารโรงพยาบาลที่มีเรื่องของ Financial, Customer, Internal process และ Learning & Innovation นั้น ต้องมีการขยาย "perception" ของ customer (ผู้ใช้บริการ) ออกอย่างมากมาย

Goals of Care ในมิติการรับรู้ของประชาชนนั้น สามารถแตกต่างจากสิ่งที่แพทย์คิดได้เยอะ ซึ่ง expectation เหล่านี้เมื่อมี conflict หรือการขาด alignment ระหว่าง service providers และผู้ใช้ประโยชน์ ก็กลายเป็นอุปสรรคในการทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากสิ่งที่พอจะคาด หรือประมาณการณ์ได้ อาทิ readiness of accessibility and availability คุณภาพของการให้บริการ การสื่อสาร (ทั้งคุณภาพและปริมาณ) ไปจนถึงสิ่งที่เป็นนามธรรมแต่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ได้แก่ dignity belief and faith หรือ humanity and compassionate care ที่เป็นสิ่งที่คนไข้และประชาชนทั่วไปประสงค์ต้องการจะได้เช่นกัน

ในระบบ healthcare system นั้น flow of information เกิดขึ้นตลอดเวลา และเมื่อเราคำนึงถึง "ประสิทธิภาพของการไหลของข้อมูล" มากๆเข้า บางครั้งเรามองข้ามสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการไหลของข้อมูลไปได้ นั่นคือ "ความสัมพันธ์ ความไว้วางใจ" ระหว่างผู้ให้ข้อมูลและผู้รับข้อมูล และปริมาณของข้อมูลจำนวนมากที่ถูกถ่ายทอดในระยะเวลาสั้นยาวแตกต่างกัน ในบริบทที่แตกต่างกันนั้น มีผลต่อ "คุณภาพ" ในการรับข้อมูล ทั้งเนื้อหา และคุณค่าอื่นๆที่ไปกับข้อมูลด้วย

ข้อมูลที่ได้จากการพูดจาสนทนา face to face ในบรรยากาศเป็นมิตร และมี "ความเป็นห่วงเป็นใย หรือ caring" นั้น แตกต่างจากข้อมูลที่จะถูกถ่ายทอดโดยการอ่านจาก brochure, folders หรือ television broadcasting อย่างมาก ทั้งในด้านปริมาณ เนื้อหา และคุณภาพ

ใน conference นี้ มีหลาย topic ที่อิงเรื่อง spirituality ของ healthcare ทั้งต่อคนไข้ ครอบครัว สังคม และต่อทีมผู้ให้บริการเอง เรื่องนี้เป็น value-added สำหรับวิชาชีพ (ทั้งที่ มันน่าจะเป็น primary value ของวิชาชีพมากกว่า!!!) ที่เราทำงานไปเรื่อยๆ อาจจะมองข้ามไป และมองหา "คุณภาพ" อื่นๆ ที่วัดได้ จับต้องได้มากกว่า เช่น financial, number หรือ figures ต่างๆ แต่วิทยากรหลายคนที่มาในงานนี้ ไม่ว่าจะเป็น Susan Dustin Hattan, Father Joseph Meier, Dr Girish Patel, วิทยากรจากมูลนิธิพุทธฉือจี้ ได้มาช่วย elaborate ให้เห็นว่าคุณภาพที่แท้ ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อน ก็คือ คุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ คุณค่าที่มนุษย์ใช้ศักยภาพที่แท้ในการคิด จินตนาการ กระทำ และรับรู้ได้ แฝงอยู่ในงาน healthcare ตลอดเวลาที่เราลงมือกระทำ

หมายเลขบันทึก: 224882เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2008 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 20:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบพระคุณครับ

  • สิ่งที่เข้าข่าย เราสามารถจะ improve ได้อย่างมากมายโดยที่ยังไม่ต้องใช้เงินมากมายอะไรเลย  นั้น ในวงการการศึกษาก็มีมากเหลือเกิน น่าเสียดายที่หลายกรณีเขาทุ่มทุนไปมากมาย แบบขี่ช้างจับตั๊กแตน .. แต่สุดท้าย ตั๊กแตนสักตัวก็ยังไม่ได้ แถมยังต้องเสียค่าใช้จ่าย ค่าดูแล บำรุงรักษาช้างอีกมหาศาล
  • ชอบที่ว่า อิงเรื่อง spirituality ของ healthcare  ที่จริงทุกครั้ง ทุกเรื่อง เมื่อมี spirituality เข้าไปเกี่ยวข้องก็มักงอกงามยั่งยืนได้เสมอ

อ. Handy ครับ

ที่จริงงานทุกสาขาวิชาชีพนั้น มีความจำเป็นเรื่อง spirituality ไม่น้อยไปกว่าเรื่อง good governance และ good quality เลย เพียงแต่เราจะตั้งอก ตั้งใจ หันไปมอง เพื่อจะได้เห็นหรือไม่เท่านั้น

เหมือนการฟัง กับการได้ยินแหละครับ เผินๆ จะเหมือนกัน แต่ของที่เราได้ยิน แต่ไม่ได้แปล ไม่ได้คิด ก็มีมากมาย (เช่น ตอนนี้มีเสียงอึ่งอ่างร้องเต็มไปหมด แต่ผมไม่ได้แปลมัน หรือตั้งใจฟังสักเท่าไร) ต่อเมื่อเรา "ฟัง" เราจึงมี  intention ที่จะหา และให้ ความหมาย

การมอง กับการเห็นก็ฉันเดียวกัน เรามองๆ ก็เหม่อๆ อาจจะไม่ได้เห็นอะไรเลย เพราะกำลังครุ่นคิดถึงแฟน คิดถึงงาน คิดถึงลูกอยู่ spirituality, morality, quality อยู่เบื้องหน้า ก็สามารถมองทะลุ มองข้าม ไปได้ หน้าตาเฉยเหมือนกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท