ครูนอกระบบ
นาง ณัฐนิธิ อารีย์ อักษรวิทย์

อาการปวดหลัง ปวดคอ หรือปวดข้อมือ


ดูแลสุขภาพ

"เคยมีอาการปวดหลัง ปวดคอ หรือปวดข้อมือบ้างไหม"


บล็อคเกอร์ทั้งหลายครับ นั่งหน้าคอม วันหนึ่งคงหลายชั่วโมง แค่เขียนเรื่องสักเรื่องผมยังปั้นเป็นชั่วโมง บางท่านอาจนั่งหน้าคอม รวมทำงานอืนๆ ด้วยอาจนานเป็นสิบชั่วโมง 

"เคยมีอาการปวดหลัง ปวดคอ หรือปวดข้อมือบ้างไหม"  แล้วเคยหาสาเหตุและแก้ไขหรือยัง หรือทำงานเพลินจนลืม จนทำให้ทนๆ ไปก่อน?

เริ่มกันเลยนะครับ สังเกตภาพด้านบน พร้อม จุดสังเกต A จนถึง H  (ไล่ตั้งแต่หัว ถึงเท้าเลย)

A: วางหน้าจอคอม ให้ห่างประมาณ 1.5 - 2 ฟุต จริงก็เอาให้พอดี อย่าใกล้เกินไป แล้วปรับขอบบนของจอ ควรอยู่ในระดับสายตาของเรา  ในการมองจอนั้น ลักษณะที่ดีที่สุดคือ สายตา มองลงล่างเล็กน้อยครับ

B: ระวังเรื่องแสงสว่าง ไม่ควรมีแสง เช่นแสงจากหลอดไฟ ลอดมาที่ตาโดยตรง หรือแสงจ้า อื่นๆสะท้อนเข้าที่ตาเรา

C: ควรมีฉากหลังจอคอมที่เป็นพื้นเรียบ สีอ่อน และทึบ ไม่ควรมีภาพสีสันฉูดฉาด หรือภาพชวนปวดหัวต่างๆ เช่นบางท่านมีฉากหลังที่เป็นตาหมากรุกแบบถี่ๆ สีตัดกันเข้มๆ แค่นึกก็ปวดหัวแล้วครับ

D: ต้องมีที่พักข้อศอก หรือท่อนแขน  และขณะทำงานอยู่ในท่าที่ข้อศอกตั้งฉากกับร่างกาย   จะดีที่สุดคือ ขณะพิมพ์งาน ข้อศอกวางบนพนักวางแขนของเก้าอี้  แป้นพิมพ์วางบนชั้นวาง ที่แขวนใต้โต๊ะ ทำให้ระดับท่อนแขน กับร่างกายได้ฉากกัน จริงๆข้อนี้สำคัญ ครับเพราะหากนั่งแบบผิดไปนานๆ สักพักจะปวดที่ต้นคอ หัวไหล่ และข้อมืออย่างมาก ผมเห็นหลายออฟฟิซ หรือเคาเตอร์เซอวิส ใช้เก้าอี้แบบไม่มีพนักวางแขน เวลาพิมพ์งาน ก็เอาเฉพาะข้อมือไปวางบนโต๊ะ ซึ่งจริงๆ ผิดหลักอย่างมาก

E: ขณะนั่ง ท่อนขาตั้งฉากกับแนวร่างกาย

F: ใช้เก้าอี้แบบปรับระดับสูงต่ำได้ มีพนักพิงหลังที่แข็งแรง ตั้งฉากได้อยู่ตัว ไม่อ่อนเกินไป

G: หากเป็นไปได้ ใช้แผ่นรองข้อมือ ขณะพิมพ์ อันนี้จะช่วยเรื่อง ไม่ให้ข้อมือบิดฝืนธรรมชาติ มากเกินไป

H: เท้าต้องสามารถหยั่งถึงพื้นได้ หากเท้าลอย ต้องหาอะไรมารองหนุนเท้า เช่นอาจใช้กล่อง หรือโต๊ะเล็กๆมาหนุน

จริงๆ แล้วในปัจจุบัน เออโกโนมิคในที่ทำงาน เริ่มมีความสำคัญมาก ผมจำได้ว่า โรงงานแม่ที่อเมริกา นั้นมีปัญหาเรื่องนี้พอสมควร เพราะคนที่ทำงานที่นั่น ทำมานานเป็นสิบปี  โดยเฉลี่ยมีอายุมากกว่าที่คนรุ่นหนุ่มสาวบ้านเรา  ทำให้บางราย เช่นพนักงานคีย์ข้อมูล มีอาการปวดตามร่างกาย จากการทำงาน ปวดที่ข้อมือ ถึงขั้นต้องผ่าตัด หยุดงานไปหลายเดือนก็มี

ผมเคยเห็น บางบริษัทขายชุดโต๊ะทำงาน รุ่น ergonomics ถึงขั้นโต๊ะปรับความสูงได้ แต่ดันมาพร้อมกับเก้าอี้ที่ไม่มีพนักวางแขน ทำงานไป ข้อมือก็วางห้อยกับโต๊ะ ศอกลอย ท่อนแขนลอย ไม่รู้จะเป็น ergo ได้ย้งไง (ดูข้อ D ด้านบนอีกครั้ง)

อีกข้อสำหรับเสริมคือ การนั่งทำงาน ไม่ควรนั่งนานเกินไป แนะนำว่า ไม่ควรนั่งนานเกิน 2 ชั่วโมง ควรเปลี่ยนอิริยาบท หรือเดินไปมาบ้าง เราจะเห็นคนในส่วนผลิตไม่ค่อยมีอาการเจ็บ เท่าคนในออฟฟิซ เพราะเค้าเปลี่ยนท่าทางร่างกายตลอดเวลา   คนออฟฟิซหนุ่มสาว อาจไม่เป็นไร แต่นานๆไปเป็นแน่ครับ เพราะอาการเจ็บปวดพวกนี้ เป็นแบบสะสม (cumulative trauma disorder)  พอถึงจุดนึงจะแสดงอาการ แล้วก็อาจกู่ไปกลับครับ

หาความรู้เพิ่มเติมด้านอื่นๆเช่น เออโกโนมิคในการทำงาน แบบยืน นั่ง การยกของ และอื่นๆ ที่กูเกิ้ลนี่แหละครับ ลองค้นคำว่า "ergonomics" หรือ "การยศาสตร์" ดูครับ

อ่านเจอเลยมาเล่าสู่กันฟังเรื่องสุขภาพ
ด้วยรักและห่วงใยค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #ห่วงใย
หมายเลขบันทึก: 224698เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2008 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

รอดูภาพค่ะ กำลังเป็นอยุ๋ เดี๋ยวกลับมาใหม่ค่ะ

แวะมาอ่าน

ขอบคุณค่ะ

สุขภาพแข็งแรง  นะคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท