การมอบอำนาจกับการกระจายอำนาจ


ในการประชุมสภา มอ. วันที่ ๑๕ พ.ย. ๕๑   มีการพูดกันว่ามหาวิทยาลัยไม่ควรเน้นการมอบอำนาจ   แต่ควรใช้ระบบกระจายอำนาจ  

 

การมอบอำนาจ มีลักษณะที่ผู้มอบและผู้รับมอบต้องรับผิดชอบร่วมกัน   อำนาจและความรับผิดชอบที่แท้จริงยังเป็นของผู้มอบ

 

การกระจายอำนาจ   ตัวอำนาจและความรับผิดชอบไปอยู่ ณ จุดต่างๆ ตามที่กำหนด    ทำให้ผู้บริหารสูงสุด (ในที่นี้คืออธิการบดี) มีเวลาคิดและทำเรื่องใหญ่    ไม่ต้องเสียเวลาอยู่กับเรื่องจุกจิกมากมาย    อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

 

วิจารณ์ พานิช

๑๖ พ.ย. ๕๑

หมายเลขบันทึก: 224029เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2008 08:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 00:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กระผมคิดว่าการกระจายอำนาจควรจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของความพร้อมและระบบการทำงานที่มีความชัดเจนด้วยครับ เพราะหากฐานยังไม่มีความพร้อมเมื่อกระจายอำนาจออกไปก็อาจจะยิ่งสร้างปัญหาจริงหรือเปล่าครับ

การมอบอำนาจทำให้สายบังคับบัญชายาวขึ้นตามขั้นตอน

1.ผู้รับผิดชอบเสนอโครงการ

2.ผู้บริหาร "ลงชื่อรับทราบตามเสนอ"

3.ผู้บริหารกำกับดูแล "ตรวจทาน ถูกต้องตามกรอบงบประมาณ"

4.ผู้บริหารกำกับดูแลหลัก "อนุมัติ"

5.บางครั้งเอกสารยังต้องเดินทางต่อไปถึงผู้บริหารสูงสุดคือ อธิการบดี

การคิดค้นงานทั้งหมดอยู่ที่คนหน้างาน ทั้งคิด จัดทำแผนงาน ดำเนินการทั้งด้านเอกสาร การเงินและงานสนาม รวมทั้งสรุปจัดทำรายงาน

เรื่องเหล่านี้คือ โจทย์ที่สภามหาวิทยาลัยต้องเข้ามาผลักดันสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วย

อย่าปล่อยให้คนหน้างานต้องชอกช้ำระกำใจเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท